8 Behaviors Change—อยากเป็นคุณแม่ก็ต้องดูแลตัวเอง

จากการศึกษาเรื่องอาหารและการเจริญพันธุ์ของ Harvard Medical School อาหารเป็นปัจจัยที่แตกต่างจากปัจจัยอื่น เช่น อายุและพันธุกรรม ที่คุณไม่สามารถควบคุมได้

ดังนั้น การเลือกรับประทานหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท เพื่อให้การเจริญพันธุ์เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งการแพทย์ที่ไหนเลย

อาหาร 8 ประเภทที่ช่วยเรื่องการเจริญพันธุ์ของคุณแม่ได้ดี มีดังนี้

1. กินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนหรือคาร์โบไฮเดรตที่ดี (Complex Carbs)

คาร์โบไฮเดรตที่ดี หมายถึงแป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี หรือแทบไม่ผ่านการดัดแปลงใดๆ ซึ่งรวมไปถึงไฟเบอร์ เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช เพราะคาร์โบไฮเดรตที่ดีนั้นจะย่อยสลายช้า ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและฮอร์โมนอินซูลิน เพราะระดับฮอร์โมนอินซูลินที่สูงเกินไปนั้น จะมีผลยับยั้งการตกไข่ของผู้หญิง

2. หลีกเลี่ยงไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fat)

ไขมันไม่อิ่มตัวหรือไขมันทรานส์ ซึ่งพบในอาหารจำพวกเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มันฝรั่งทอด และมาร์การีนบางชนิด มีผลทำให้อินซูลินในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และระดับอินซูลินที่สูงเกินไป จะรบกวนระบบการเผาผลาญของร่างกาย และมีผลต่อการไข่ตกของผู้หญิง

3. กินโปรตีน

กินโปรตีนจากพืชจำพวก ‘ถั่ว’ ให้มาก แต่กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง เพราะโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว ธัญพืช และเต้าหู้นั้นอุดมไปด้วยไขมันที่ดี

4. ดื่มนมที่มีไขมันเต็ม (Whole Milk)

“เราพบว่ายิ่งผู้หญิงหันไปกินนม low fat มากเท่าไหร่ พวกเธอก็ยิ่งมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ และถ้าสาวๆ กินนม Whole Milk มากขึ้น ปัญหาในการตั้งครรภ์ของพวกเธอก็น้อยลงตามไปด้วย” Dr. Walter Willett ศาสตราจารย์ด้านโภชนาการและระบาดวิทยา แห่ง Harvard School of Public Health กล่าวไว้ในผลงานชิ้นหนึ่งของเขา

5. กินวิตามินรวม

ในการวิจัยของมหาวิทยาลัย Harvard พบว่าผู้หญิงที่กินวิตามินรวมที่มีโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา จะประสบปัญหามีลูกยากน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้กินโฟลิกถึง 40%

6. ดื่มกาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม

งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Harvard บอกว่า การดื่มกาแฟ ชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม คือ 1-2 แก้วต่อวัน ไม่ส่งผลเสียต่อการไข่ตกของผู้หญิง

7. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมต่อการมีบุตร

รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ใน ‘โซนที่เหมาะจะมีลูก’ ก็คือช่วงที่ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 18.5-24

การผอมไป (BMI ต่ำกว่า 18.5) หรืออ้วนไป (BMI อยู่ที่ 25 หรือมากกว่า) จะมีผลต่อการตั้งครรภ์ของคุณแม่และสุขภาพของคุณลูก

คำนวณดัชนีมวลกายได้ที่นี่ คำนวณค่า BMI

8. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย อย่างน้อย 30-60 นาทีต่อวัน เพื่อควบคุมน้ำหนักนั้น ไม่ได้มีผลดีต่อการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่มันยังดีต่อตัวคุณไปทั้งชีวิตอีกด้วย

สำหรับสาวๆ ที่อยากรู้ว่าตัวเองมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์แค่ไหน ลองเข้าไปให้เว็บไซต์ Fit Pregnancy ให้เขาช่วยคำนวณดูนะคะ

ที่มา
Fit Pregnancy

Avatar

สาวยุค 90's ลูกครึ่งจีนฮ่องกง feat. เชียงใหม่ ที่พูดฮ่องกงไม่ได้ อู้กำเมืองบ่จ้าง ติดนิยาย รักการจดบันทึกและการกินเหนือทุกสิ่งอย่าง มีลูกสาวเป็นหมาอ้วนสีเหลืองอ่อน

RELATED POST