READING

สัญญาณเตือนว่าลูกของคุณอาจเป็น ‘โรคสมาธิสั้น’ หรือ...

สัญญาณเตือนว่าลูกของคุณอาจเป็น ‘โรคสมาธิสั้น’ หรือ ADHD

ว่ากันว่า ‘เด็กซนคือเด็กฉลาด’ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พบว่าลูกซนเกินไป ไม่อยู่นิ่ง ดูไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น หรือแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยครั้ง จนกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างละก็ พวกเขาอาจเป็น โรคสมาธิสั้น (ADHD: Attention Deficit Hyperactive Disorder) ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา

 

รู้จักโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า โดยทั่วไปพบได้ 3 ลักษณะคือ สมาธิสั้น ซนมาก และหุนหันพลันแล่น ซึ่งอาจมีเพียงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือครบทุกอย่างเลยก็เป็นได้ โดยอาการเหล่านี้จะแสดงให้เห็นตั้งแต่ช่วงสามขวบเป็นต้นไป

มีรายงานพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มักมองข้ามอาการสมาธิสั้นของเด็กผู้หญิง เพราะเด็กผู้หญิงที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจไม่ได้ก่อกวน หรือสร้างความวุ่นวายในห้องเรียนจนสังเกตได้ง่ายเหมือนเด็กผู้ชาย

เด็กผู้หญิงอาจนั่งนิ่งๆ บนที่นั่งของตัวเอง ดูภายนอกเหมือนว่าพวกเธอกำลังตั้งใจทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน แต่ความจริงคือกำลังเหม่อลอย หรือมองออกไปนอกหน้าต่างอยู่ เพราะฉะนั้นผู้ปกครองและคุณครูจึงอาจไม่ทันเอะใจกับพฤติกรรมที่ดูเหมือนไม่ร้ายแรงนั้น

สัญญาณเตือนของโรคสมาธิสั้น

หากสงสัยว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ ผู้ปกครองและคุณครูสามารถใช้หลักเกณฑ์ที่แพทย์ใช้ ซึ่งอ้างอิงมาจากคู่มือจำแนกโรคทางจิตเวชของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ปี ค.ศ. 1994 ในการประเมินพฤติกรรมเบื้องต้นของเด็กๆ ได้ ดังนี้

1. เกณฑ์เบื้องต้นก่อนประเมิน

ADHD_1

โดยปกติแล้ว เด็กบางคนอาจจะซนหรือยุกยิกตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา หากไม่ก่อความเดือนร้อนให้ตัวเองหรือเพื่อนรอบข้าง แต่ถ้าพฤติกรรมเหล่านั้นมีมากหรือบ่อยเกินไป จนคุณพ่อคุณแม่เริ่มสงสัย ให้ลองดูเกณฑ์เหล่านี้เพื่อประเมินว่า ลูกของเราเข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่

– เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้น บ่อย หรือ บ่อยมาก ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

– พฤติกรรมเหล่านั้นไม่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ในระดับพัฒนาการเดียวกัน เช่น เด็กเล็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (อายุต่ำกว่า 5 ขวบ) ตามพัฒนาการแล้วก็จะไม่ค่อยนิ่ง ซึ่งถือว่าปกติ แต่ถ้าโตกว่านั้นแล้วยังซนอยู่ ก็อาจต้องประเมินตามเกณฑ์ต่อไป

– พฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือสถานที่อื่นๆ เป็นประจำมากกว่าสองสถานที่ขึ้นไป

– พฤติกรรมเหล่านี้กระทบต่อการเรียน และการเข้าสังคมกับเพื่อน เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จ หรือเพื่อนไม่อยากเล่นด้วย

– มีอาการเริ่มต้นตั้งแต่อายุไม่ถึง 7 ปี

– ไม่ใช่อาการของโรคอื่นๆ เช่น ออทิสติก โรคทางสมอง อาการชัก ภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า เป็นต้น เพราะเด็กที่เป็นโรคเหล่านี้ก็มีอาการซนเช่นเดียวกัน

2. เกณฑ์ประเมินกลุ่มอาการสมาธิสั้น
(Inattentive Symptom)

ADHD_2

– จดจำรายละเอียดของงานที่ทำไม่ได้ หรือทำผิดเพราะขาดความรอบคอบ

– ไม่มีสมาธิเวลาทำกิจกรรมต่างๆ แม้แต่การเล่น

– ไม่เชื่อฟังคำพูดของผู้อื่น ไม่ฟังเวลามีคนพูดด้วย จนทำให้มีปัญหากับเพื่อนและคนรอบข้าง

– ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดคำสั่งไม่ได้ ทำให้ทำงานไม่เสร็จหรือผิดพลาด

– ทำงานไม่เป็นระเบียบ

– ไม่เต็มใจหรือหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความคิด

– ทำของใช้ส่วนตัวหรือของจำเป็นหายอยู่บ่อยๆ

– ว่อกแว่กง่าย

– ขี้ลืม ทั้งที่เป็นกิจวัตรประจำ หรือหาของไม่ค่อยเจอ เพราะจำไม่ได้ว่าวางไว้ตรงไหน

– ใช้เวลาทำงานมากผิดปกติ เพราะมัวแต่คิดถึงและสนใจอย่างอื่น

– ขยัน แต่ผลการเรียนไม่ดีเท่าที่ควรเป็น

– มีปัญหาด้านการอ่านตีความ คือรับรู้เพียงข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงหรือต่อยอดกับข้อมูลอื่นๆ ได้ พวกเขาจึงมักพลาดรายละเอียดคำสั่งการบ้าน หรือเนื้อหาในบทเรียน

– บางคนจะมีเพื่อนเยอะ เพราะสนุกที่มีเพื่อนอยู่รอบตัว แต่จะเครียดและกังวลทันทีเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ เพื่อนๆ จึงมีบทบาทในการช่วยเหลือเสมอ

– มีไอเดียดีๆ มากมายที่ต้องการทำเดี๋ยวนั้น แต่… ไม่เคยเสร็จ หรือไม่สำเร็จตามเวลาสักอย่าง ทั้งที่ตั้งใจมากๆ

3. เกณฑ์ประเมินกลุ่มอาการซนมากและหุนหันพลันแล่น
(Hyperactivity/Impulsivity Symptom)

ADHD_3

– จดจำรายละเอียดของงานที่ทำไม่ได้ หรือทำผิดเพราะขาดความรอบคอบ

– ไม่มีสมาธิเวลาทำกิจกรรมต่างๆ แม้แต่การเล่น

– ไม่เชื่อฟังคำพูดของผู้อื่น ไม่ฟังเวลามีคนพูดด้วย จนทำให้มีปัญหากับเพื่อนและคนรอบข้าง

– ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดคำสั่งไม่ได้ ทำให้ทำงานไม่เสร็จหรือผิดพลาด

– ทำงานไม่เป็นระเบียบ

– ไม่เต็มใจหรือหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความคิด

– ทำของใช้ส่วนตัวหรือของจำเป็นหายอยู่บ่อยๆ

– ว่อกแว่กง่าย

– ขี้ลืม ทั้งที่เป็นกิจวัตรประจำ หรือหาของไม่ค่อยเจอ เพราะจำไม่ได้ว่าวางไว้ตรงไหน

– ใช้เวลาทำงานมากผิดปกติ เพราะมัวแต่คิดถึงและสนใจอย่างอื่น

– ขยัน แต่ผลการเรียนไม่ดีเท่าที่ควรเป็น

– มีปัญหาด้านการอ่านตีความ คือรับรู้เพียงข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงหรือต่อยอดกับข้อมูลอื่นๆ ได้ พวกเขาจึงมักพลาดรายละเอียดคำสั่งการบ้าน หรือเนื้อหาในบทเรียน

– บางคนจะมีเพื่อนเยอะ เพราะสนุกที่มีเพื่อนอยู่รอบตัว แต่จะเครียดและกังวลทันทีเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ เพื่อนๆ จึงมีบทบาทในการช่วยเหลือเสมอ

– มีไอเดียดีๆ มากมายที่ต้องการทำเดี๋ยวนั้น แต่… ไม่เคยเสร็จ หรือไม่สำเร็จตามเวลาสักอย่าง ทั้งที่ตั้งใจมากๆ

โรคสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยจะมีผลในระยะยาว และอาจนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การใช้สารเสพติด ปัญหาด้านการเรียน ขาดความนับถือตัวเอง มีปัญหาสุขภาพจิตจนอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้า หรือชีวิตล้มเหลวได้

ดังนั้นอย่ารอจนสายเกินไป เริ่มสังเกตสัญญาณเตือนของโรคสมาธิสั้นในเด็กๆ กันได้แล้วค่ะ


Avatar

สาวยุค 90's ลูกครึ่งจีนฮ่องกง feat. เชียงใหม่ ที่พูดฮ่องกงไม่ได้ อู้กำเมืองบ่จ้าง ติดนิยาย รักการจดบันทึกและการกินเหนือทุกสิ่งอย่าง มีลูกสาวเป็นหมาอ้วนสีเหลืองอ่อน

RELATED POST