READING

12 พฤติกรรมที่ทำให้ลูกไม่ฟังคุณ...

12 พฤติกรรมที่ทำให้ลูกไม่ฟังคุณ

พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเป็นเด็กที่เชื่อฟัง ว่านอนสอนง่าย แต่เจ้าตัวแสบกลับทำทุกอย่างตรงกันข้าม รู้ไหมว่า พฤติกรรมบางอย่างของคุณพ่อคุณแม่เองนั่นแหละ ที่มีส่วนทำให้ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง และไม่ทำตามสิ่งที่คุณพูด

 

และนี่คือ 12 พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ ที่มีส่วนทำให้ลูกกลายเป็นเด็กดื้อค่ะ

1. ตักเตือนโดยไม่บอกถึงผลลัพธ์ที่ตามมา

Kidnolisten_web_1

เช่น คุณมักจะพูดว่า “อย่าให้แม่พูดอีกครั้งนะ” แต่ไม่ได้บอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากลูกไม่ตอบสนองในสิ่งที่คุณพูด ลูกจะไม่สามารถประเมินผลที่จะตามมาหลังจากนั้นได้

หรือเมื่อคุณพูดว่า “ถ้าไม่กินข้าวเย็น แม่จะไม่ให้กินขนม” คุณก็ต้องหนักแน่นในคำพูดนั้น และไม่ใจอ่อน ไม่ว่าลูกจะแผลงฤทธิ์แค่ไหนก็ตาม เพราะมันจะทำให้คำพูดของคุณไม่มีน้ำหนัก แล้ววันหนึ่งลูกอาจย้อนถามคุณกลับว่า “ทำไมวันนั้นแม่ยังให้กินได้เลย”

2. มีบทลงโทษที่ไม่แน่นอน

Kidnolisten_web_2

เช่น วันที่คุณอารมณ์ดี ลูกสองคนพี่น้องทะเลาะกัน คุณอาจบอกให้พี่ขอโทษที่ลงไม้ลงมือกับน้อง แต่พออีกวันหนึ่ง มีเหตุการณ์อย่างเดิมเกิดขึ้น แต่คุณกลับลงโทษคนพี่ด้วยวิธีการรุนแรงกว่าเดิม ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ คิดว่าเด็กจะสับสนไหม…

3. มีความลำเอียงและไม่มีเหตุผล

Kidnolisten_web_3

เช่น คุณทำอาหาร และคุณตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ลูกคนเล็ก พอลูกคนโตเห็นก็อยากให้คุณทำอย่างนั้นให้บ้าง แต่คุณปฏิเสธด้วยการบอกว่า “หนูโตแล้ว ต้องทำเองได้แล้ว”

เด็กๆ ชอบอะไรที่เป็นระบบ เท่าเทียม และสม่ำเสมอ ถ้าคุณจะไม่ทำเหมือนที่เคยทำ คุณก็ต้องมีเหตุผลเพียงพอมาอธิบายการกระทำของคุณให้ลูกเข้าใจด้วย

4. ไม่ให้ทางเลือกลูก

Kidnolisten_web_4

ถ้าลูกบอกว่าอยากกินไอศกรีม แล้วคุณบอกว่าไม่ได้ ลูกถามต่อว่าเพราะอะไร คุณก็ตอบไปว่า “ก็แม่บอกว่าไม่ได้” การทำแบบนี้จะทำให้ลูกหงุดหงิด เพราะคุณคอยแต่สั่งและบังคับ ไม่มีใครชอบหรอก

5. ไม่เคารพการตัดสินใจของลูก

Kidnolisten_web_5

คุณต้องปล่อยให้ลูกได้เลือกและตัดสินใจเองบ้าง ถึงแม้สิ่งที่เขาเลือกจะไม่ถูกใจคุณก็ตาม แต่ลูกก็ควรได้เรียนรู้ถึงผลลัพธ์ในสิ่งที่เขาเลือก และเขาจะได้รับรู้ว่าคุณเคารพการตัดสินใจของเขาเช่นกัน

6. ไม่แยกน้ำเสียง

Kidnolisten_web_6

การพูดด้วยน้ำเสียงที่ดังเป็นการเรียกความสนใจเด็กได้ดี อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณพูดด้วยเสียงที่ดังตลอดเวลา ลูกก็จะไม่สนใจคุณ คุณควรใช้น้ำเสียงที่ดังในกรณีที่ต้องการให้ลูกหันมาสนใจ ขณะที่การพูดคุยและการกระซิบกระซาบ ก็จะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น ว่าคุณต้องการอะไร

7. การประชดประชัน

Kidnolisten_web_7

เด็กไม่เข้าใจว่าการประชดประชันคืออะไร เด็กพูดในสิ่งที่เขาเห็น พูดตามความเป็นจริง การประชดประชัดจะทำให้เด็กสับสนและหงุดหงิด

8. ไม่มีความสม่ำเสมอ สอนลูกตามใจตัวเอง

Kidnolisten_web_8

การที่คุณทำแบบนี้ ลูกก็จะงง และเกิดคำถามที่ว่า ทำไมวันนี้ทำแบบนี้ได้ แต่อีกวันถึงทำไม่ได้

9. ไม่เตือนลูกก่อน

Kidnolisten_web_9

การบอกหรือเตือนล่วงหน้าจะช่วยให้เด็กรู้จักจัดการตัวเอง เช่น อีกห้านาทีแม่จะพาหนูไปอาบน้ำ การที่คุณบอกลูกล่วงหน้า ลูกจะได้มีเวลาเตรียมใจว่ากำลังจะหมดเวลาเล่นแล้ว

10. ไม่มองหน้าลูกขณะพูด

Kidnolisten_web_10

ยิ่งระยะห่างของคุณกับลูกไกลกันมากเท่าไร ลูกก็จะได้ยินคุณพูดน้อยลงเท่านั้น

11. ชอบจับผิดลูก

Kidnolisten_web_11

ไม่มีใครชอบโดนจับผิดตลอดเวลา คุณลองเปลี่ยนมาชื่นชมลูกให้มากกว่าเดิมสิเมื่อลูกรู้ว่าคุณชอบในสิ่งไหนที่เขาทำ เขาก็จะพยายามทำมันให้มากกว่าเดิม… จริงๆ นะ

12. มีแต่คำสั่งห้าม

Kidnolisten_web_12

“อย่าทำแบบนี้ อย่าเตะเก้าอี้ ไม่ปีนโต๊ะ ไม่โยนลงพื้นนะ” และอีกสารพัด ลองคิดภาพว่าลูกต้องฟังคุณบอกว่าไม่ๆๆๆๆ ทั้งวัน มันจะน่าเบื่อแค่ไหน ลองเปลี่ยนมาพูดกับลูกว่า ลูกควรทำอะไรมากว่า เช่น แทนที่จะบอกให้ลูกเลิกส่งเสียงดัง ลองเปลี่ยนเป็นบอกว่า “แม่อยากให้หนูเบาเสียงลงหน่อยได้ไหมจ๊ะ” เป็นต้น

 

 

อ้างอิง
Pixel Parenting

Pitchaya T.

ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ที่ช่วยยืนยันว่ามนุษย์คนนี้คือเด็ก :)

RELATED POST