ลูกเอาแต่ใจ ทำไงดี!

การเอาแต่ใจเป็นพฤติกรรมเรียนรู้อย่างหนึ่งของเด็ก ที่จำเป็นต้องมีคุณพ่อคุณแม่เป็นครูคอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง

เพราะลูกไม่เคยชินที่พ่อแม่ไม่ตามใจ และพ่อแม่ไม่สามารถให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกต้องการได้ เมื่อลูกมีนิสัยเอาแต่ใจตัวเอง พ่อแม่ควรรู้วิธีรับมือกับพฤติกรรมเช่นนั้น เพื่อจะได้รับมือและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

ลองใช้วิธีเหล่านี้รับมือกับความเอาแต่ใจของเจ้าตัวน้อยในบ้านกันดูนะคะ

1. อดทนไม่ตามใจ

babyselfcenter_web_1

ถ้าลูกเอาแต่ใจ แล้วคุณก็ตามใจลูกทุกครั้ง นั่นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง คุณก็รู้อยู่แล้วว่า ไม่มีใครได้ทุกอย่างที่ตัวเองต้องการเสมอไปหรอก วิธีที่ดีกว่าการตามใจลูกก็คือ การฝึกให้ลูกรู้ว่าเขาไม่มีทางที่จะได้ทุกอย่าง เวลาลูกเอาแต่ใจมากเกินไป สิ่งที่คุณควรทำคือ ‘วางเฉยและอดทนที่จะไม่ตามใจ’ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่า คุณไม่สามารถให้หรือทำตามความต้องการของเขาได้ทุกครั้ง

2. เบี่ยงเบนความสนใจลูก

babyselfcenter_web_2

เป็นอีกวิธียอดนิยมที่คุณพ่อคุณแม่มักนิยมใช้กัน เด็กๆ อาจตื่นเต้นและอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้เต็มไปหมด แต่เด็กก็ลืมง่ายเช่นกัน เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ชี้ให้เขาชมนกชมไม้ เขาก็พร้อมจะหันไปสนใจสิ่งอื่นได้ในที่สุด

3. ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียวสักพัก

babyselfcenter_web_3

ถ้าลูกร้องไห้งอแงไม่ยอมหยุด คุณพ่อคุณแม่อาจลองปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวสักพัก อธิบายให้ลูกฟังว่า “ถ้าลูกยังไม่หยุดร้องไห้ เราจะคุยกันไม่รู้เรื่อง หยุดร้องไห้เมื่อไหร่แล้วพ่อแม่จะกลับมาคุยด้วยนะ”

เมื่อลูกหยุดร้องไห้แล้ว ควรชมเชยที่ลูกสามารถหยุดร้องไห้ได้ด้วยตัวเอง หลังจากนั้นจึงพูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล

4. ไม่ใช้อารมณ์

babyselfcenter_web_4

สิ่งสำคัญที่สุดที่พ่อแม่ควรทำคือ ควบคุมอารมณ์ตัวเองและไม่ใช้อารมณ์กับลูก ไม่ว่าลูกจะงอแงเอาแต่ใจแค่ไหนก็ตาม เพราะถ้าพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่ใช้อารมณ์และมีเหตุผล ลูกจะซึมซับพฤติกรรมเหล่านี้จนกลายเป็นนิสัยของเขาในที่สุด

5. กอดลูก

babyselfcenter_web_5

สัมผัสและไออุ่นจากพ่อแม่จะทำให้ลูกสงบลงได้ หากคุณพ่อคุณแม่กอดลูกอย่างถูกวิธี เพราะลูกจะรู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกคับข้องใจ หากถูกโอบกอดจากด้านหลัง เพราะการโอบกอดจากด้านหลังเหมือนเป็นวิธีบอกอ้อมๆ ว่าคุณไม่ชอบพฤติกรรมของเขา

6. นั่งลงระดับสายตาลูก

babyselfcenter_web_6

คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่า การพูดคุยอย่างมีเหตุผลกับลูกคงเพียงพอแล้วที่จะช่วยปรับให้ลูกรู้จักคิด และมีพฤติกรรมเอาแต่ใจลดน้อยลง แต่อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพูดคุยมากขึ้น คือสายตาของคุณควรจะอยู่ระดับเดียวกันกับลูกด้วย

7. สร้างเงื่อนไข

babyselfcenter_web_7

เช่น เมื่อลูกกำลังดูการ์ตูนเรื่องโปรด แล้วคุณพ่อคุณแม่เข้าไปขัดจังหวะหรือปิดโทรทัศน์ทันที ลูกก็จะร้องไห้งอแงและมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรงอย่างแน่นอน ดังนั้น คุณควรบอกเงื่อนไขหรือตกลงกับลูกให้แน่นอนว่า เขาสามารถดูการ์ตูนต่อได้อีกสิบนาที ก่อนที่คุณจะปิดโทรทัศน์ และเมื่อถึงเวลาที่กำหนด คุณก็ต้องทำตามที่ตกลงกันไว้ แล้วลูกจะเข้าใจ ไม่ร้องไห้งอแง เพราะคุณได้ตกลงกับเขาไว้แล้วนั่นเอง

 

 

 

 

อ้างอิง
Thai PBS
The Asian Parent
Pantip

Pitchaya T.

ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ที่ช่วยยืนยันว่ามนุษย์คนนี้คือเด็ก :)

RELATED POST