READING

ความเสี่ยงจากการให้ลูกกินน้ำนมคนอื่น...

ความเสี่ยงจากการให้ลูกกินน้ำนมคนอื่น

กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจในวงการแม่และเด็กอีกครั้ง เมื่อคุณหมอออกมาเตือนว่า การบริจาคนมแม่อาจเป็นอันตรายต่อทารกผู้รับบริจาคได้ ทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า ทำไมถึงให้ลูกกินนมคนอื่นไม่ได้…

ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า น้ำนมแม่ถือเป็นชีววัตถุ เช่นเดียวกับเลือด น้ำเหลือง หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกายมนุษย์ ดังนั้น การจะรับหรือบริจาคน้ำนมแม่ จึงต้องรอบคอบ มีความรู้และการระมัดระวังทุกด้านอย่างถูกต้อง

วันนี้ M.O.M จึงลองรวบรวมความเสี่ยงจากการให้ลูกรับประทานน้ำนมคนอื่น หากไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกวิธีมาให้ข้อมูลคุณแม่กันค่ะ

1. เสี่ยงต่อการติดโรค

othermilk_web_1

หากคุณแม่เจ้าของน้ำนมเป็นผู้มีเชื้อ HIV ไวรัสตับอักเสบบี โรคซิฟิลิส รวมถึงโรคติดต่อบางประเภท เชื้อโรคก็จะสามารถถ่ายทอดผ่านทางน้ำนมไปสู่ทารกผู้รับบริจาคได้

2. เสี่ยงต่อการรับยาหรือสารเสพติดจากผู้ให้บริจาค

othermilk_web_2

หากคุณแม่ผู้ให้บริจาคน้ำนมมีการใช้ยารักษาโรคบางชนิด สารเสพติด หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารพิษดังกล่าวก็สามารถตกค้างและถ่ายทอดทางน้ำนมได้เช่นกัน

3. เสี่ยงต่อการปลอมแปลง

othermilk_web_3

ผู้บริจาคน้ำนมบางคน ใช้นมวัวหรือน้ำเปล่ามาผสมและเจือจางน้ำนมแม่เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อทารกที่แพ้นมวัวหรือคลอดก่อนกำหนดได้

วิธีป้องกันความเสี่ยง

othermilk_web_4

สำหรับทารกที่จำเป็นต้องกินนมแม่ เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่ไม่สามารถรับประทานน้ำนมชนิดอื่นได้ คุณแม่ควรซื้อน้ำนมจากแหล่งบริจาคที่น่าเชื่อถือ เช่น ธนาคารนมแม่รามาธิบดี ธนาคารนมแม่ศิริราช เพราะเป็นน้ำนมที่ได้รับการคัดกรองและตรวจสอบประวัติผู้บริจาค และฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์เพื่อยืนยันความปลอดภัยมาแล้ว

แต่สำหรับทารกปกตินั้น หากคุณแม่มีน้ำนมน้อยเกินไป การให้ลูกกินนมแม่สลับกับนมผงที่มีคุณภาพ ก็ถือว่าปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการให้ลูกกินน้ำนมของคนอื่นแน่นอนค่ะ

 

 

 

 

อ้างอิง
The Asian Parent
Thai Health
ไทยรัฐ

Panitnun W.

'แพม' ไม่มีลูกเป็นของตัวเอง แต่รักเด็กเป็นชีวิตจิตใจ ว่างไม่ได้ต้องหาคลิปเด็กมาดู ถ้าได้ดูคลิปเด็กก่อนนอนนี่คือจะฟินมาก และที่ชอบมากอีกอย่างคือ แซลมอน ความฝันคือ ถ้ามีเงินจะเปิดฟาร์มแซลมอน

RELATED POST