Category: INTERVIEW

Here to create the ‘Holistic Learner’ ภารกิจของคุณครูใหญ่ (แผนกประถม) ในโลกที่กำลังมองหาเด็กที่เป็นนักเรียนรู้รอบด้าน กับ Philip Stewart—Head of Junior, Shrewsbury International School Bangkok Riverside

เพราะช่วงเวลาปฐมวัยของเด็กๆ เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ การคัดเลือกบุคลากรที่จะทำงานกับเด็กในช่วงชั้น Junior School จึงต้องเป็นไปอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้คนที่มีประสบการณ์ด้านการสอน มีความเข้าใจ และสามารถส่งแรงบันดาลใจให้กับเด็กนักเรียนได้

คุยกับกลุ่ม‘ในม็อบมีเด็ก’ (Child in mob): ในวันที่ผู้ใหญ่ละเมิดและมองข้ามสิทธิของเด็ก

ตั้งแต่ปี 2563 ประเทศไทยมีการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและแสดงออกทางการเมือง ด้วยวิธีการและกลุ่มคนที่หลากหลาย และเป็นที่น่าสังเกตว่าการเรียกร้องครั้งนี้ มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเรียน นักศึกษามากขึ้น

เมื่อการเป็น ‘แม่’ ไม่ได้จำกัดไว้ให้ผู้หญิงเท่านั้น: คุยกับคุณแม่จิน-อาริยา มิลินธนาภา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เราถูกหล่อหลอมมาให้ผูกติดและยึดโยงคำว่า ‘แม่’ เอาไว้กับคำว่า ‘ผู้หญิง’ และเมื่อได้ยินคำว่า ‘เพศแม่’ ก็อนุมานได้ทันทีว่ามีความหมายถึงเพศหญิง ที่ควรได้รับการให้เกียรติในฐานะเพศที่เป็นผู้ให้กำเนิด หากมองข้ามข้อจำกัดทางเพศและคำว่าทรานส์เจนเดอร์ไปได้ แม่จิน—อาริยา มิลินธนาภา ก็คือคนที่ทำหน้าที่แม่ของลูกชายสองคนวัย 7 ปีและ 5 ปี ได้ดีที่สุดเท่าที่คนคนหนึ่งจะสามารถทำให้ลูกได้

เพราะการหยุดเรียนไม่ได้หมายถึงหยุดเรียนรู้ ทำความเข้าใจข้อเสนอ ‘หยุดเรียนหนึ่งปี’ กับอาจารย์สุมิตร สุวรรณ

เมื่อสัปดาห์ก่อน มีข้อเสนอที่กลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ คือการที่นักวิชาการด้านการศึกษาออกมาเสนอให้ ‘หยุดเรียนหนึ่งปี’ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเรียนออนไลน์ต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่สองของเด็กไทยตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ความเคร่งเครียดนี้ไม่ได้ส่งผลต่อแค่ตัวเด็ก แต่ยังหมายรวมถึงคุณครู พ่อแม่ผู้ปกครอง ปู่ย่าตายาย และใครก็ตามที่อยู่ ‘หน้างาน’ และกำลังเผชิญปัญหารายวัน ที่ต้องแบกภาระงานเดิม เพิ่มเติมคือการทำงานรูปแบบใหม่ และดูเหมือนจะเป็นภาระและปัญหาที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาเท่าที่ควร

คุยเรื่องโรงเรียนอนุบาลใน ประเทศญี่ปุ่น กับแม่มายเซนเซจากเพจ I Love Japan

เราอาจจะเคยพูดคุยกับคุณแม่คนไทยในประเทศญี่ปุ่นมาบ้างแล้ว แต่ด้วยความที่ลูกยังไม่ถึงวัยเรียน เราก็เลยยังไม่ค่อยได้พูดถึงโรงเรียนอนุบาลที่นั่นเท่าไรนัก จนกระทั่งมีโอกาสได้ชวน มายเซนเซ—นีรชา ฟิลาทอฟ คุณครูสอนภาษาญี่ปุ่น เจ้าของเพจ I Love Japan คุณแม่น้องเอริค เด็กชายลูกครึ่งไทย-รัสเซีย วัย 3 ขวบ ที่เพิ่งเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลของประเทศญี่ปุ่น ว่าจะน่ารักและน่าเรียนอย่างที่เราเคยเห็นหรือเปล่า ให้คุณแม่มายช่วยตอบดีกว่าค่ะ

เด็ก ป.1 ของเราต้องเจอกับอะไรบ้าง ในก้าวแรกที่แสนสำคัญสู่สังเวียนการศึกษา กับสองผู้กำกับจากภาพยนตร์สารคดี ชั้นหนึ่ง

เรื่องราวและรูปแบบการศึกษาของเด็กๆ ที่เพิ่งก้าวออกจากวัยอนุบาลที่เอาแต่เล่น เข้าสู่โลกของการเรียนรู้ในฐานะเด็ก ‘ชั้นหนึ่ง’ ทั้งหมดถูกเล่าออกมาในรูปแบบภาพยนตร์สารคดีความยาว 90 นาที ชื่อเรื่อง ชั้นหนึ่ง (First Grade) ที่เพิ่งเปิดฉายแบบออนไลน์ให้กับกลุ่มผู้สนใจที่ได้ลงทะเบียนไว้ล่วงหน้า และมีแผนการที่จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

How to help young children to enjoy Maths: เรียนคณิตอย่างไรให้สนุก ฉบับครู John Sheffield โรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury City Campus

M.O.M ได้มีโอกาสคุยกับคุณครู John Sheffield คุณครูประจำวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้น Year 3 (ประถมศึกษาปีที่ 2) โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี ซิตี้แคมปัส (Shrewsbury City Campus) ผู้ที่เข้าสู่ความเป็นครูด้วยความตั้งใจที่อยากจะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุก เพื่อให้เด็กๆ ตื่นตัวอยากเรียนรู้ จนกลายเป็นวิชาโปรด เหมือนที่คุณครูเคยรู้สึกแบบนั้นในวัยเรียน เขาจึงคิดหาแนวทางใหม่ๆ มาใช้ในชั้นเรียนอยู่เสมอ

เมื่อโรงเรียนไม่ตอบโจทย์ ก็มาทำบ้านเรียน (Home School) เองดีกว่า: คุยกับฌาฆีภัตฐ์ เพชรคง คุณพ่อลูกสามเจ้าของแบรนด์ของเล่น Cherpin และโรงเรียนพอเพลิน

แม้ปัจจุบันจะมีโรงเรียนมากมายหลายรูปแบบการเรียนการสอนให้คุณพ่อคุณแม่เลือก มีคำว่าโรงเรียนทางเลือก โรงเรียนวิชาการ โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรมอนเตสซอรี (Montessori) หรือหลักสูตรวอลดอร์ฟ (Waldorf) แล้วแต่ความสนใจ การเลี้ยงดู และวิถีชีวิตของแต่ละครอบครัว แต่จากการที่เด็กๆ ต้องเรียนออนไลน์มากกว่าได้ไปใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนในช่วงปีที่ผ่านมา หนึ่งในรูปแบบโรงเรียนที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนเริ่มให้ความสนใจก็คือ home school ก็ในเมื่อไปโรงเรียนไม่ได้ ทำไมไม่ลองให้ลูกเรียนด้วยวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อเรียนที่บ้านจริงๆ ไปเลยล่ะ…

คุยกับคนหน้างานจากโครงการคลองเตยดีจัง อัปเดตสถานการณ์ COVID-19 ในเขตคลองเตย ส่งผลกระทบต่อเด็กๆ อย่างไร

การระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรุงเทพฯ กลายเป็นพื้นที่ที่มีคลัสเตอร์การระบาดตั้งแต่ใจกลางเมืองและกระจายตัวออกไปตามจุดต่างๆ และชุมชนแรกๆ ที่ถูกพบเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ของการระบาดระลอกสามก็คือพื้นที่เขตคลองเตย ที่ประกอบด้วยชุมชนมากถึง 43 ชุมชน คิดเป็นประชากรในชุมชนกว่าหนึ่งแสนคน ซึ่งเทียบเท่ากับจำนวนประชากรของจังหวัดเล็กๆ ในประเทศเลยก็ว่าได

ความสุขของการใช้ชีวิตคือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็เพียงพอแล้ว: คุยกับ คุณแม่ไทยในต่างแดน กับแม่แหวน—ศลิษา นำชัยศิริ

ญี่ปุ่น ก็เป็นประเทศที่นอกจากจะเป็นเป้าหมายท่องเที่ยวยอดฮิตของคนไทยแล้ว ยังติดอันดับประเทศที่คนไทยอยากย้ายไปลองใช้ชีวิตดูสักครั้งเช่นเดียวกันกับ แหวน—ศลิษา นำชัยสิริ ดีไซเนอร์สาวผู้มีเป้าหมายชีวิตคือการไปทำงานที่ต่างประเทศก่อนอายุสามสิบ และตั้งแต่สอบชิงทุนเพื่อไปเรียนต่อปริญญาโทที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อสิบปีที่แล้ว