เมื่อโรงเรียน—สถานที่ที่ควรจะอบอุ่นและปลอดภัยสำหรับเด็กจนได้รับการเปรียบเทียบว่าเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง กลายเป็นที่ที่สร้างประสบการณ์และความทรงจำอันเลวร้ายให้กับเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการเจริญเติบโต การโดนทำร้ายจากคนที่ควรจะเป็นที่พึ่งให้เขาได้ ย่อมนำมาซึ่งความกระทบกระเทือนจิตใจและส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ
Kensington Learning Space (โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเคนซิงตัน) และอาคารกุมารเวช โรงพยาบาลเอกชัย เป็นสองสถานที่ล่าสุดที่เราเห็นว่ามีการออกแบบพื้นที่สำหรับเด็กออกมาได้สวยงามในระดับที่เด็กเห็นก็ต้องตาโต ส่วนผู้ใหญ่อย่างเราก็อดไม่ได้ที่จะอยากรู้ว่า ก่อนจะมาเป็นพื้นที่ที่ถูกใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่อย่างที่เราเห็นตอนนี้ ต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการคิดอย่างไรบ้าง
ในช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต จากการออกไปทำงานนอกบ้าน มาเป็นการนั่งทำงานอยู่ที่บ้านแทน ขณะที่เด็กเอง ก็ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเช่นกัน M.O.M จึงไปขอข้อแนะนำและความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปปรับใช้ในช่วงเวลาที่เราต่างก็ยากลำบากกันทุกคนแบบนี้
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับชื่อครูอ๊อดและบ้านนกขมิ้นจากโครงการรับบริจาคของมือสองสารพัดชนิดเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และสมทบเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กๆ ด้อยโอกาสที่มีครูอ๊อดเป็นเสมือน ‘พ่อ’ ของพวกเขา จากเด็กที่เคยเร่ร่อนข้างถนน ครูอ๊อดไม่มองข้ามพวกเขาและให้โอกาสเข้ามาเป็นสมาชิกครอบครัวขนาดใหญ่ในบ้านนกขมิ้น มีอาหารกินสามมื้อ มีที่หลับนอนให้ความอบอุ่น และได้เรียนหนังสือจนจบมหาวิทยาลัย
คุยกับ ครูมุก—จิดาภา ประสพผลสุจริต เกี่ยวกับอาชีพนักแก้ไขการพูดที่พอได้ยินแล้วก็ชวนสงสัยว่าอาชีพนี้ทำงานกันอย่างไร มีความเกี่ยวข้องและสำคัญกับเด็กๆ อย่างไรบ้าง
พูดคุยกับ น้ำหวาน—ณิชา พีชวณิชย์ ผู้แต่งนิทานทั้งสองเล่มของสำนักพิมพ์ Make a wit และในฐานะนักเขียนผู้มีความสุขกับการแต่งนิทานและคลุกคลีอยู่ในวงการหนังสือเด็กมาหลายปี เธอจะมาเล่าให้เราฟังว่าหนังสือเด็กที่เหมือนจะไม่มีอะไรมาก แท้จริงแล้วมีอะไรมากกว่าที่เราคิด
เพื่อให้เข้าใจโลกของนิทานและหนังสือเด็กมากขึ้น เราเลยมาคุยกับคนทำหนังสือเด็กอย่าง เกื้อกมล นิยม—บรรณาธิการสำนักพิมพ์สานอักษร นักเขียนนิทาน นักขายหนังสือ และครูอักษรในเพจของสำนักพิมพ์ ที่มักจะเขียนเรื่องราวสนุกๆ ว่าด้วยการอ่านหนังสือให้เราได้อ่านอยู่เสมอๆ
เรามีนัดกับ กี้—ณัชชา โรจน์วิโรจน์ เจ้าของแบรนด์ BLIX POP ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก ที่เราเคยเข้าใจว่าเป็นแบรนด์ของเล่นนำเข้าจากต่างประเทศ
แน่นอนว่า เราเข้าใจผิดและ เพา—พิมพ์พร อุเอโนะ ผู้ก่อตั้งและบริหาร Playville พื้นที่ Indoor Playground สำหรับเด็กและครอบครัว ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ 49 Playscape ในซอยสุขุมวิท 49 สองกิจการที่เริ่มต้นจากพื้นฐานของคนสองคนที่เห็นความสำคัญของการเล่นเหมือนกัน ในมุมที่ต่างกัน
วันนี้เราเข้ามาที่ CREAM Bangkok เพื่อมาคุยกับ ครูใบปอ—อ้อมขวัญ เวชยชัย คุณครูผู้ก่อตั้ง (แต่น่าจะไม่ได้ก่อสร้าง) โรงแรมมหัศจรรย์แห่งนี้ ทีแรกคิดว่าจะต้องเขียนจดหมายพร้อมแนบลายอุ้งมือเป็นหลักฐานแสดงความบริสุทธิ์ใจในการเข้ามาสัมภาษณ์ แต่ครูใบปอก็ใจดี บอกว่าเข้ามาพบได้เลย พร้อมบอกวิธีการเปิดประตูลับทางเข้าโรงแรมให้อย่างละเอียด
เด็กพิเศษ คือเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากกว่าเด็กทั่วไป หลายคนอาจนึกสงสัยว่าอาการของเด็กพิเศษมีลักษณะเป็นยังไง เริ่มรู้ได้เมื่อไร ต้องใส่ใจดูแลด้านไหนบ้าง และมีโอกาสหายเป็นปกติไหม