READING

EVENT: ‘The MATTER’ ร่วม ‘กองทุนพัฒนาสื่อฯ’ จัดเสว...

EVENT: ‘The MATTER’ ร่วม ‘กองทุนพัฒนาสื่อฯ’ จัดเสวนา Coding is MATTER การศึกษาไทยในยุคที่โลกหมุนไปด้วยการโค้ด เพื่อเผยแพร่ความสำคัญด้านโปรแกรมมิ่ง-โค้ดดิ้ง หวังคนไทยเล็งเห็นทักษะสำคัญแห่งอนาคต

กรุงเทพ, 26 มีนาคม 2564 – ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ‘The MATTER’ ร่วมกับ ‘กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ โดยกระทรวงวัฒนธรรม จับมือเดินหน้า โครงการ The MATTER :  Coding in Thai Education (Now & Then) การศึกษาไทยในยุคที่โลกหมุนไปด้วยการโค้ด ด้วยการจัดงานเสวนา “Coding is MATTER: การศึกษาไทยในยุคที่โลกหมุนไปด้วยการโค้ด” ที่จะตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับทักษะอนาคต โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ศตวรรษ 21 ที่เทคโนโลยีพัฒนาไปข้างหน้าแบบไม่หยุดยั้ง จนเกิดทักษะใหม่ขึ้นมาอย่างการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่ทุกคนรู้จักกันว่า Coding ที่ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้ปกครอง หรือนักเรียนนักศึกษา ต่างต้องเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักษะที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต

นางวรินรำไพ ปุณย์ธนารีย์ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กล่าวว่า การเรียนการสอนด้านโค้ดดิ้ง นอกจากจะช่วยสร้างพื้นฐานในการผลิตบุคลากรทีมีคุณภาพเพื่อรองรับตลาดและโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัวแล้ว ยังเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการช่วยให้เด็กและเยาวชน ในการฝึกฝนและพัฒนาทักษะการใช้เหตุและผล จัดการเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ และเป็นทักษะที่จำเป็นต่ออนาคต ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานและการเรียนรู้ที่สำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงมอบหมายให้ The MATTER เว็บไซต์ข่าวและสื่อสังคมออนไลน์ เป็นผู้จัดทำและเผยแพร่เนื้อหาของโครงการ โดยมีแพลงตอน แล็บ บริษัทออกแบบเนื้อหา เป็นผู้ควบคุมและทำการผลิตเนื้อหาต่างๆ ในโครงการโดยหวังว่าข้อมูล และเนื้อหาที่ถูกเผยแพร่ออกไปจะเป็นเครื่องที่ช่วยแรงผลักดันในการสร้างแรงตระหนักให้กับกลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะทั้งเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ไปจนถึงภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในช่วยขับเคลื่อนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมการเรียนรู้ ทำให้การศึกษาด้านโปรแกรมมิ่งและการโค้ดดิ้งได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมและผลิตบุคลากรคุณภาพต่อไป

ด้านนาย ณัฐชนน มหาอิทธิดล หัวหน้าโครงการกล่าวว่า โครงการฯ ต้องการเผยแพร่ถึงความสำคัญของการศึกษาด้านโปรแกรมมิ่ง หรือโค้ดดิ้ง ให้เล็งเห็นว่าสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนทางสังคมได้อย่างไร ใกล้กับตัวทุกคนแค่ไหน ในทุกๆ แง่มุม ทั้งความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ อาจารย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ลูกจ้าง หรือนายจ้าง และกับตัวเยาวชนเองว่ามีความเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร หรือมีสิ่งไหนที่บุคคลในฐานะผู้ใหญ่ หรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันพัฒนา โดยงานเสวนาประกอบไปด้วย 2 Session ได้แก่


• Session 1 : Crack the Code ถอดรหัสทักษะคอมพิวเตอร์
พูดคุยกับคนทำงานจริงเพื่อเข้าใจพื้นฐานของทักษะ Coding ว่าอาชีพนี้ทำอะไร ต้องเรียนจบคณะไหน รวมไปถึงบริษัทต้องการคนทำงานที่มีคุณสมบัติแบบไหน โดยมีวิทยากร 2 ท่าน คือ ภูมิ—ภูมิปรินทร์ มะโน นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่อายุ 17 ปี และ นาว—ภาดารี อุตสาหจิต ซีอีโอของบริษัท Lightwork ผู้ริเริ่มระบบเอไอ Robotic Process Automation : RPA ในประเทศไทย

 

Session 2: Let the Code Begin! วิชาอนาคต ชวนคุยกับผู้สอนโดยตรงว่าผู้ปกครองหรือนักเรียนนักศึกษาต้องเตรียมพร้อมอย่างไร เพราะ Coding เป็นวิชาอนาคตที่ทุกคนควรรู้ โดยมีวิทยากร 2 ท่าน อ้อม—วัชราภรณ์ ดอนแสง Co-founder ของ CodeKid บริษัทเพื่อการศึกษาทางด้านการเขียนโปรแกรมสำหรับเด็ก และ ครูจุ๊ย—กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการอิสระด้านการศึกษา

“การศึกษาไทยถูกตั้งคำถามบ่อยครั้งจากการพัฒนาที่ล่าช้า และพัฒนาไปในทางที่ขัดแย้งกับโลกาภิวัฒน์ โลกพัฒนาไปในหลายทางไม่มีหลักสูตรตายตัวอีกต่อไป มีเพียงทางเลือกและความถนัดเฉพาะตัว การศึกษาที่ดีจึงควรมอบทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตที่กำลังจะมาถึงในระยะเวลาอันใกล้ให้แก่เด็กและเยาวชนที่จะเติบโตเป็นกำลังหลักของชาติ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เทคโนโลยีกำลังจะรายล้อมพวกเราทุกคน และเป็นช่วงสำคัญที่การศึกษาไทยควรจะพัฒนา “ทักษะแห่งอนาคต” ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสนับสนุนศึกษาด้านการโปรแกรมมิ่งหรือการโค้ดดิ้งที่จะเป็นพื้นฐานหลักของการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะนำพาไปสู่การพัฒนาชาติต่อไป” ณัฐชนน หัวหน้าโครงการกล่าวทิ้งท้าย


Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST