READING

รวม 5 คอนเทนต์แนะนำ หมวด ‘สุขภาพและโรคภัยต่างๆ ในเ...

รวม 5 คอนเทนต์แนะนำ หมวด ‘สุขภาพและโรคภัยต่างๆ ในเด็ก’ ปี 2021

สุขภาพ

สุขภาพ และโรคภัยไข้เจ็บของลูกยังคงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่กังวลใจได้เสมอ ยิ่งในปีที่โรคระบาดกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศทุกวัย ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปี 2021 เป็นปีที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการดูแลรักษา สุขภาพ ร่างกายของตัวเองและลูกน้อยให้แข็งแรงมากกว่าทุกปี

แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีโรคโควิด-19 ก็ยังมีอีกหลายโรคภัยและปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ของเราได้ 

ตลอดปี 2021 M.O.M ได้ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับสุขภาพ โรคภัย รวมถึงสัญญาณอันตรายที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้จัก ทำความเข้าใจ เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาสุขภาพลูกน้อยให้เติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงต่อไป

เพื่อเป็นการส่งท้ายปลายปี เราจึงได้รวบรวมเนื้อหาในหมวดสุขภาพและโรคภัยของเด็กที่น่าสนใจและไม่ควรพลาดกลับมาให้คุณพ่อคุณแม่ทบทวนกันอีกครั้งค่ะ

1. ทำความรู้จักกับภาวะ Mis-C ในเด็ก หลังป่วยโควิด-19

Mis-c

ถึงแม้ว่าเราเคยได้ยินกันมาบ้าง ว่าสำหรับเด็กๆ ที่สุขภาพดีหรือไม่มีโรคประจำตัว โรคโควิด-19 ไม่ได้ถือว่าเป็นที่ร้ายแรงและน่ากลัวเท่าไรนัก เพราะอาการที่พบในเด็กส่วนมาก จะคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป มีไอ จาม และเจ็บคอบ้างเล็กน้อย หรือบางรายก็ยังวิ่งคงเล่นอยู่ในโรงพยาบาลได้เหมือนปกติเลยด้วยซ้ำ

แม้อาการของโรคโควิด-19 อาจจะไม่รุนแรงสำหรับเด็ก แต่หลังจากที่หายป่วยแล้ว ร่างกายที่ต่อสู้กับเชื้อโรคมานาน จึงรู้สึกเหนื่อยล้า และก่อให้เกิดภาวะ Mis-C หรือ Multisystem inflammatory syndrome in children ทำให้ร่างกายของเด็กๆ อ่อนแอลง และป่วยได้อีกครั้ง

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/mis-c-2/24689/

2. ทำความรู้จัก IPD (Invasive Pneumococcal Disease) ภัยร้ายในเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรไว้วางใจ

IPD

โดยทั่วไปโรคติดเชื้อ IPD ถ้าเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีร่างกายแข็งแรงก็จะมีอาการเหมือนไข้หวัดที่ไม่รุนแรง แต่หากเกิดขึ้นในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่าสองขวบ ก็จะก่อให้เกิดการติดเชื้อชนิดลุกลามหรือรุนแรง เช่น เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดอักเสบชนิดรุนแรง ไปจนถึงทำให้พิการและเสียชีวิตได้ 

เราจึงชวนคุณพ่อคุณแม่พามาทำความรู้จักกับโรค IPD และวิธีการปกป้องให้ลูกน้อยจากเชื้อโรคร้ายนี้กันค่ะ

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/ipd/22488/

3. ทำไมลูกชอบปวดหัว?! อาการของเด็กที่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ มาดูสาเหตุกัน

ปวดหัว

อาการปวดหัวในเด็กสามารถเกิดขึ้นและพบเจอได้ทั่วไป ถึงแม้โดยส่วนมาก อาการปวดหัวจะบรรเทาและหายได้ ด้วยการกินยา นอนหลับพักผ่อน กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเลี่ยงพฤติกรรมที่มีส่วนกระตุ้นอาการปวดหัว แต่หากปล่อยให้อาการปวดหัวเกิดขึ้นกับเด็กบ่อยครั้ง ก็อาจส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรม และสภาพอารมณ์ของลูกได้

ลองมาดูกันว่า อาการปวดหัวในเด็กเกิดจากสาเหตุหรือมีปัจจัยอะไรบ้างที่กระตุ้นให้เด็กเกิดอาการปวดหัวขึ้นได้

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/why-do-children-have-headaches/21566/

4. ผื่นผ้าอ้อมคืออะไร แล้วทำไมลูกถึงได้เป็นผื่นผ้าอ้อม?!

ผื่นผ้าอ้อม

คุณพ่อคุณแม่หลายคนที่มีลูกน้อยมักต้องเคยประสบปัญหาผื่นจากผ้าอ้อมกันมาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดผื่นผ้าอ้อมจะทำให้ผิวลูกน้อยบอบบางมากกว่าเดิม คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจกับการดูแลผิวจุดนี้เป็นพิเศษ

เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัยของลูกน้อย เราจะมาชวนคุณพ่อคุณแม่มาไขข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้วผื่นผ้าอ้อมมีสาเหตุมาจากอะไร และจะมีวิธีรับมือป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อมได้อย่างไรบ้าง 

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/nappy-rush/21662/

5. 5 สัญญาณเตือนว่าลูกอาจจะอยู่ในภาวะนอนไม่พอ!: เพราะการนอนไม่พอมีผลเสียมากกว่าที่คิด

นอนไม่พอ

การนอนหลับ ไม่ได้มีความสำคัญกับร่างกายคนเราแค่เรื่องการพักผ่อนเท่านั้น แต่การนอนหลับยังมีความสำคัญและจำเป็นต่อการทำงานของสมอง เซล และอวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกาย

โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต การนอนหลับยังมีความสำคัญต่อการมีพัฒนาการที่ดี และร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ 

ถึงแม้จะดูเหมือนลูกน้อยของเราไม่ชอบการนอนเอาเสียเลยก็เถอะ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยอมตามใจ หรือปล่อยให้ลูกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอก็ จะส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของลูกได้ไม่มากก็น้อย

โดยปกติแล้วเด็กแต่ละช่วงวัยก็ต้องการจำนวนชั่วโมงของการนอนหลับพักผ่อนฝนแต่ละวันที่แตกต่างกัน เช่น 

• เด็กทารก 4-12 เดือน ควรจะนอน 12-16 ชั่วโมง 

• เด็กอายุ 1-2 ขวบ ควรจะนอน 11-14 ชั่วโมง 

• เด็กอายุ 3-5 ขวบ ควรจะนอน 10-13 ชั่วโมง 

• เด็กอายุ 6-12 ขวบ ควรจะนอน 9-12 ชั่วโมง 

• เด็กอายุ 13-18 ปี ควรจะนอน 8-10 ชั่วโมง

แต่บางครั้ง ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะเห็นว่าลูกจะนอนหลับได้ครบตามจำนวนชั่วโมงที่ต้องการแล้ว แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าลูกนอนหลับสนิทหรือนอนหลับอย่างมีคุณภาพได้ตลอดทั้งคืนเรามี 5 สัญญาณเตือนที่คุณพ่อคุณแม่พอจะสังเกตได้ในระหว่างวัน หากพบว่าลูกน้อยของเรามีสัญญาณหรือพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยๆ ละก็ คุณพ่อคุณแม่ต้องลองปรับเปลี่ยนวิธีการนอนของลูก เพื่อให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจริงๆ แล้วล่ะค่ะ

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/sign-sleep-problems/21302/


Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

COMMENTS ARE OFF THIS POST