READING

รวม 5 คอนเทนต์แนะนำ หมวด ‘สุขภาพจิตใจของลูกน้อย’ ป...

รวม 5 คอนเทนต์แนะนำ หมวด ‘สุขภาพจิตใจของลูกน้อย’ ปี 2021

สุขภาพจิต

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ปัญหา สุขภาพจิต โดยเฉพาะปัญหา สุขภาพจิต ในเด็กเริ่มถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงและให้ความสำคัญมากขึ้น 

ในขณะเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่เองก็เริ่มหันมาให้ความสนใจพฤติกรรมของลูกที่เป็นผลมาจากปัญหาทางด้านความรู้สึกและจิตใจของลูกมากขึ้น

ปี 2021 จึงเป็นอีกหนึ่งปีที่คอนเทนต์เกี่ยวกีบสุขภาพจิตใจของเด็กได้รับความสนใจอย่างมาก M.O.M จึงได้รวบรวม 5 คอนเทนต์ในหมวด ‘สุขภาพจิตใจของลูกน้อย’ ที่ไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่พลาดเรื่องราวที่น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อทุกครอบครัว กลับมาให้อ่านกันอีกครั้งค่ะ

1. 6 สัญญาณจากลูก ที่บอกว่ากำลังถูกทำร้ายจิตใจ (Emotional Abuse) จากคนรอบข้าง

จิตใจ

การล่วงละเมิด (abuse) นอกจากจะมีมีความหมายถึงการถูกทำร้าย และเกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นทางร่างกายแล้ว แต่ในความเป็นจริง การล่วงละเมิด นอกจากทางกายแล้วยังมีการล่วงละมิดทางจิตใจ หรือ ‘Emotional Abuse’ ที่ส่งผลเสียต่อผู้ถูกกระทำไม่น้อยไปกว่าความเจ็บช้ำทางร่างกายเช่นกัน

Emotional Abuse ที่มักเกิดขึ้นกับเด็กๆ ก็คือการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านจิตใจ เช่น การพูดจาประชดประชัน พูดจาเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น หรือพูดคุยโดยมักใช้อารมณ์อยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กที่โดนคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวล่วงละเมิดทางจิตใจบ่อยครั้ง  มักจะกลายเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอ และนำไปสู่การมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเองอีกด้วย

M.O.M จึงได้นำสัญญาณเตือนที่พอจะบอกได้ว่าว่าคุณพ่อคุณแม่อาจเป็นคนที่กำลัง Emotional Abuse ลูกโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่สัญญาณที่ว่าจะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาเรียนรู้ไปพร้อมกันค่ะ

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/sign-of-emotional-abuse/20730/

2. 5 วิธีรับมือ เมื่อลูกเป็นเด็ก ODD (Oppositional Defiant Disorder) หรือภาวะดื้อต่อต้าน

ODD

การดื้อและซน จัดเป็นหนึ่งในพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็ก แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นว่าความดื้อและซนของลูก เริ่มหนักข้อและเหมือนจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนผิดปกติไปจากเด็กทั่วไปแล้วละก็ เราอยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองทำความรู้จักกับอาการ  ODD (Oppositional Defiant Disorder) หรือภาวะดื้อต่อต้าน 

อาการ ODD ของเด็กอาจใกล้เคียงกับเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Disorder) เช่น เหม่อลอย ไม่สามารถรับฟังหรือทำตามคำสั่งได้ วอกแวก อยู่ไม่นิ่ง เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ช้า  และในเด็กที่มีภาวะ ODD ก็อาจมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมแสดงให้เห็นมากกว่าปกติ (วิธีสังเกตว่าลูกกำลังเป็นโรคดื้อต่อต้านหรือไม่

และหากพบว่าลูกมีอาการ ODD หรือเป็นเด็กที่มีภาวะดื้อต่อต้านแล้ว จะรับมืออย่างไร เรามีวิธีมาบอกค่ะ

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/oppositional-defiant-disorder/20796/

3. 5 สัญญาณ SOS! ที่บอกว่า ลูกกำลังต้องการความช่วยเหลือทางใจ

SOS

นอกจากสุขภาพกายของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจแล้ว สุขภาพใจก็ของลูกก็สำคัญไม่แพ้กัน

เด็กยังไม่สามารถสื่อสารและรับรู้อารมณ์ของตนเองได้มากพอ เมื่อเด็กเกิดความเครียดหรือความผิดปกติทางอารมณ์บางอย่าง ร่างกายจะตอบสนองออกมาเป็นพฤติกรรมในรูปแบบต่างๆ 

วันนี้เราจะมาดูกันว่ามีพฤติกรรมแบบไหนบ้างที่กำลังส่งสัญญาณให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ว่า ลูกกำลังต้องการความช่วยเหลือทางใจ

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/sos-for-child/24839/

4. สำรวจพฤติกรรมคุณพ่อคุณแม่ มีส่วนทำให้ลูกเครียดหรือเปล่า?!

เครียด

คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า ถึงแม้ว่าลูกจะยังเป็นเด็กน้อยไร้เดียงสา แต่เด็กก็สามารถมีความเครียดได้ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ เพียงแต่เด็กๆ อาจจะไม่รู้ว่าจะแสดงออกหรือระบายความเครียดออกมาได้อย่างไร

เพราะเด็กอาจจะยังมีทักษะทางภาษาไม่ดีพอ ยังไม่มีความเข้าใจ และไม่สามารถสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้ ทำให้ความเครียดมักจะถูกแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก เช่น ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าว ไม่มีสมาธิ และพัฒนาการถดถอย

คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมของลูกและมองหาสาเหตุของพฤติกรรมว่าเป็นเพราะลูกมีความเครียดหรือไม่ เพราะถ้าหากปล่อยไว้และไม่ได้รับการแก้ไข อาจเกิดผลเสียในระยะยาวได้

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เด็กๆ เกิดความเครียดได้นั้น พฤติกรรมการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ก็มีส่วนและมักเป็นต้นเหตุสำคัญ ดังนั้น นอกจากสังเกตลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมของตัวเองไปพร้อมๆ กันนะคะ

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/survey-do-parent-behaviors-contribute-to-children-stress/21939/

5. เมื่อครอบครัวอาจจะต้องเปลี่ยนไป พ่อแม่จะดูแลจิตใจลูกอย่างไรดี

MentalHealth_5

การใช้ชีวิตคู่ อาจจะเป็นเรื่องธรรมดาที่คนสองคนจะต้องมีปัญหาขัดแย้ง  ความเห็นไม่ตรงกัน และถึงขั้นมีปากเสียงกันในครอบครัว

แต่พอเปลี่ยนสถานะจากคู่สามีภรรยา มาเป็นคุณพ่อคุณแม่แล้ว ความขัดแย้งระหว่างคนสองคน ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อจิตใจของคุณพ่อคุณแม่เท่านั้น เพราะบรรยากาศของการทะเลาะเบาะแว้ง โต้เถียง หรือแม้แต่ความบึ้งตึงใส่กัน ก็สามารถส่งผลกระทบกับสภาพจิตใจของลูกที่อยู่ตรงกลางระหว่างความกระทบกระทั่งของคุณพ่อคุณแม่ จะรู้สึกอึดอัด กดดัน ทำตัวไม่ถูก และอาจร้ายแรงถึงขั้นรู้สึกโทษว่าเป็นความผิดของตัวเอง รวมถึงซึมซับพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่มาเป็นนิสัยของตัวเองในอนาคต

เพราะฉะนั้น หากคุณพ่อคุณแม่มีสถานการณ์ทะเลาะเบาะแว้งหรือโต้เถียงกันให้ลูกเห็นบ่อยครั้ง สิ่งที่ควรสนใจจึงไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ในฐานะสามีภรรยากันเท่านั้น แต่คือการเยียวยาและรักษาสภาพจิตใจของลูกให้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งนั้นน้อยที่สุด

และหากครอบครัวเดินมาถึงจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง การอธิบายให้ลูกเข้าใจเหตุผลทั้งหมดของคุณพ่อคุณแม่คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การตัดลูกออกไปจากคนที่มีส่วนต้องรับรู้ก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนัก

วันนี้เรามีวิธีประคับประคองจิตใจลูกน้อย ในวันที่ครอบครัวมีความขัดแย้ง เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกกดดันและเคว้งคว้างเกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรบ้าง

 

—อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ https://aboutmom.co/features/house-divided/21014/


Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST