READING

5 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณแม่ไม่ปรี๊ดแตก เมื่อลูกงอแง...

5 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณแม่ไม่ปรี๊ดแตก เมื่อลูกงอแงขั้นสุด

เคยไหม… เวลาลูกร้องไห้งอแง ไม่มีเหตุผล และไม่รับฟังอะไรทั้งสิ้น จนคุณแม่เองก็ทนไม่ไหว ขาดสติ และปรี๊ดแตกใส่ลูกไปในที่สุด แล้วคุณก็ต้องมานั่งเสียใจกับการกระทำของตัวเอง

 

เด็กคือช่วงวัยที่ยังไม่รู้ประสีประสา เขายังไม่เข้าใจว่าจะต้องแสดงอารมณ์อย่างไรในสถานการณ์ต่างๆ คุณลองสังเกตสิว่า เมื่อลูกตื่นเต้นดีใจ เขาก็จะแสดงความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมาเต็มที่ เพราะฉะนั้น เมื่อลูกเสียใจหรือโกรธก็เช่นกัน เพราะฉะนั้น มันเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่อย่างเรา ที่จะค่อยๆ สอนเขา ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ และแน่นอนว่า มันต้องใช้เวลาพักใหญ่ กว่าลูกจะรับมือกับอารมณ์ของตัวเองได้

วันนี้ M.O.M จึงมี 5 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณไม่ปรี๊ดแตก เวลาลูกงอแงขั้นสุดมาฝาก

1. ปรับความคาดหวังของคุณลง ลองเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้สังเกตการณ์

emocontrol_web_1

ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของเด็กจะเริ่มที่ช่วงวัยหนึ่งขวบ และสมบูรณ์เมื่ออายุประมาณ 5-6 ขวบ และจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

เพราะฉะนั้น ครั้งหน้า ถ้าลูกคุณโวยวายเมื่อไม่ได้ดังใจ เช่น ต่อเลโก้ไม่สำเร็จ หาของเล่นไม่เจอ หงุดหงิดที่คุณไม่ทำในสิ่งที่เขาต้องการ หรืออะไรก็ตามที่ดูไม่สมเหตุสมผลที่จะโวยวายเท่าไรนัก ขอให้คุณนิ่งและสังเกตดูพฤติกรรมของลูก แล้วแทนที่คุณจะตอบสนองเขาด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด คุณจะเริ่มรู้สึกเห็นใจ เมื่อพบว่าลูกก็กำลังเผชิญหน้ากับพายุอารมณ์ที่รุนแรงของตัวเองเช่นกัน

2. แยกอารมณ์ของคุณกับลูกออกจากกัน

emocontrol_web_2

การที่ลูกงอแงไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องงอแงโมโหตามลูก คุณต้องนิ่งไว้ การหายใจเข้าลึกๆ จะช่วยให้คุณใจเย็นลงได้ พยายามนึกไว้เสมอ ว่าเขายังเป็นเด็กคนหนึ่งที่ต้องการความช่วยเหลือจากคุณเสมอ

3. เตรียมตัวให้พร้อม

emocontrol_web_3

ถ้าคุณแม่สังเกตพฤติกรรมลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อลูกงอแง คุณจะรู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง การที่คุณแม่มีแผนรับมือลูกอยู่ในหัว มันจะช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี เพราะคุณรู้แล้วว่า เมื่อลูกแสดงออกอย่างนั้น คุณจะรับมือกับลูกอย่างไร

4. ดูแลตัวเอง

emocontrol_web_4

การนอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการมีเวลาส่วนตัวเป็นของตัวเองบ้าง จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดี และปรี๊ดแตกได้ยากขึ้น

5. ไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าคุณจะพลาดบ้าง

emocontrol_web_5

แต่สุดท้าย ถ้าคุณเกิดพลาด หรือเผลอปรี๊ดแตกระเบิดอารมณ์ใส่ลูกไปแล้ว หลักการง่ายๆ เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองพลาดไปแล้วก็คือ

ยอมรับ, คุณต้องยอมรับว่าตัวเองอารมณ์เสีย

ขอโทษ, ไม่แปลกถ้าคุณจะเป็นฝ่ายขอโทษลูก เพราะผู้ใหญ่ก็ทำผิดได้เหมือนกัน

แก้ปัญหา, คุยกับลูกว่า ครั้งต่อไปคุณจะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองอย่างไร เช่น “เมื่อกี้แม่โกรธมาก แม่ขอโทษนะครับ ที่จริงแม่ไม่ควรตะโกนใส่ลูก ตอนนี้แม่รู้สึกตัวแล้ว ต่อไปเวลาแม่โกรธ แม่จะหายใจลึกๆ นับ 1 ถึง 10 ก่อนที่จะใช้วิธีโวยวายใส่ลูกนะครับ”

การทำแบบนี้จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ถึงการให้อภัย เห็นอกเห็นใจ และยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกด้วย

 

 

 

 

อ้างอิง
Nurture and Thrive Blog

Fon Chalisa

คุณแม่ของเด็กชายวัย 3 ขวบ ที่กำลังคิดว่าตัวเองมีพลังวิเศษ

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST