READING

6 เทคนิคที่จะทำให้คุณเป็นพ่อแม่ที่มีความอดทนมากขึ้...

6 เทคนิคที่จะทำให้คุณเป็นพ่อแม่ที่มีความอดทนมากขึ้น

เราต่างก็อยากจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีความอดทน เพราะความอดทนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงลูก และเราต่างก็รู้ว่าในบางครั้งมันยากเหลือเกินที่เราจะต้องพยายามควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ให้ระเบิดบึ้มใส่ลูกรัก

วันนี้เราจึงมี 6 เทคนิคที่จะทำให้คุณเป็นพ่อแม่ที่มีความอดทนมากยิ่งขึ้น

1. ทำกระปุกใส่เงิน ‘ไม่ตะโกน’

Patience_web_1

คุณลองทำกระปุกเก็บเงินสำหรับคนไม่ตะโกนดูสิ ทุกครั้งที่คุณโมโห แต่คุณเลี่ยงที่จะไม่ตะโกนหรือเสียงดังใส่ลูกได้ ก็ให้เอาเงินไปหยอดใส่กระปุกไว้ นอกจากจะเป็นการเตือนสติตัวเองแล้ว ลองทำอย่างนี้สักหนึ่งเดือน คุณอาจจะมีเงินไปใช้ทำอะไรก็ได้ที่คุณอยากทำ เพื่อเป็นรางวัลให้แก่ตนเอง

2. ตอบสนองความต้องการของตนเองก่อน

Patience_web_2

เป็นที่รู้กันดีว่า เมื่อเด็กหิวหรือเหนื่อย เด็กจะแสดงออกมาเป็นอาการงอแงและเอาแต่ใจ ในขณะที่ผู้ใหญ่อย่างเราก็เช่นกัน ตราบใดที่ร่างกายคุณยังไม่พร้อม ไม่ว่าจะหิวข้าว หิวน้ำ อ่อนเพลีย ปวดหัว และอีกสารพัดสิ่ง คุณก็จะยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับอารมณ์ของเด็กเป็นแน่

เพราะฉะนั้น อย่าลืมตอบสนองความต้องการของตัวเองให้พร้อมก่อนที่จะไปรับมือกับเจ้าตัวแสบจะดีที่สุด

3. เข้าใจลูก

Patience_web_3

การเป็นเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเด็กต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา ต้องรับมือกับอารมณ์มากมายที่บางครั้งเจ้าตัวก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออารมณ์อะไร สมมติว่า ลูกทำสีเทียนหัก คุณอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก แต่ลูกกลับร้องไห้เสียใจและดราม่าไปอีกครึ่งชั่วโมง คุณก็แค่ต้องเข้าใจและเห็นใจลูกให้มากๆ พยายามคิดว่าลูกกำลังเผชิญกับอะไรที่อยากเย็นสำหรับเขาอยู่ ก็จะทำให้คุณสามารถอดทนได้นานขึ้น

4. บอกเตือนเวลาลูกล่วงหน้า

Patience_web_4

ยกตัวอย่างเช่น คุณจะเรียกลูกไปกินข้าว แทนที่คุณจะบอกลูกทันทีว่า ถึงเวลากินข้าวแล้ว จะทำให้ลูกมีอาการขัดขืน แต่ถ้าคุณบอกเตือนให้ลูกรู้ตัวล่วงหน้าจะช่วยลดอาการต่อต้านและงอแงของลูกลงได้

5. ช่วยลูกระบุอารมณ์

Patience_web_5

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกกำลังร้องไห้เสียใจเพราะสีเทียนที่หักไป แทนที่คุณจะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจที่ลูกร้องไห้งอแง ลองเปลี่ยนเป็นถามลูกว่า ลูกกำลังรู้สึกอะไร ถ้าลูกบอกว่าโกรธ คุณก็คุยกับลูกว่าเราจะรับมือกับอารมณ์โกรธนี้ได้อย่างไรบ้าง เช่น หายใจเข้าลึก นับ 1-10 หรือเป่าฟู่ๆ ไล่ความโกรธ เป็นต้น

6. กระซิบ

Patience_web_6

เมื่อคุณรู้สึกว่าพฤติกรรมของลูกเริ่มวุ่นวายเกินไป การใช้เสียงดังห้ามปรามอาจไม่ใช่คำตอบ แต่ถ้าคุณลองกระซิบบอกลูกในสิ่งที่คุณต้องการ เช่น “แม่คิดว่าถ้าหนูนั่งเฉยๆ อีกนิด หนูจะดูน่ารักขึ้นมาก” การกระซิบกระซาบจะทำให้เด็กรู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เขาจะสงบและหันมาฟังคุณพูดมากขึ้น และในบางทีลูกอาจจะกระซิบบอกเหตุผลที่เขาอยู่ไม่เป็นสุขกับคุณก็ได้นะ!

 

 

 

อ้างอิง
ourfamilyworld

Fon Chalisa

คุณแม่ของเด็กชายวัย 3 ขวบ ที่กำลังคิดว่าตัวเองมีพลังวิเศษ

COMMENTS ARE OFF THIS POST