READING

ลูก 3 ขวบ : วัยทองสองขวบที่ว่าแน่ ยังแพ้ ‘วัยทองสา...

ลูก 3 ขวบ : วัยทองสองขวบที่ว่าแน่ ยังแพ้ ‘วัยทองสามขวบ’

ลูก 3 ขวบ

คุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินหรือผ่านประสบการณ์วัยทองสองขวบของลูกกันมาบ้าง และเข้าใจว่าความดื้อรั้นและอารมณ์แปรปรวนของลูก จะลดน้อยลงเมื่อลูกโตขึ้น

แต่เอาเข้าจริงกลับพบว่า วัยทองสองขวบนั้นเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น เพราะงานวิจัยจาก Harvard University Center on the Developing Child ระบุว่า เมื่อ ลูก 3 ขวบ เป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาสมองและเริ่มตระหนักถึงตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง ต้องการแสดงออกถึงความคิดและความต้องการมากขึ้น และมักเริ่มแสดงพฤติกรรมซับซ้อน เช่น ต่อต้านและต่อรองมากขึ้น และยังขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์อีกด้วย

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ลูก 3 ขวบ แล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ยังไม่รู้สึกว่าความดื้อรั้นของลูกจะลดลงง่ายๆ และและการปรับวิธีเลี้ยงดูลูกให้สอดคล้องกับพัฒนาการและอารมณ์ของลูกในช่วงวัยนี้ 3 ขวบ จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรับมือต่อไปค่ะ

1. ให้ลูกได้เลือกในกรอบที่ชัดเจน

Age3_web_1

แม้เด็กวัยนี้ต้องการแสดงอิสระอย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวก็ยังคงต้องการคำแนะนำจากพ่อแม่ การให้ตัวเลือกง่ายๆ ก็จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การตัดสินใจและลดพฤติกรรมต่อต้านลงได้ นอกจากนี้การให้โอกาสลูกเลือกเองช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความรู้สึกมีอำนาจในตนเองอีกด้วย

2. สร้างกฎที่ชัดเจน พร้อมเหตุผลที่เข้าใจง่าย

Age3_web_2

ลูก 3 ขวบ ต้องการความชัดเจนและความมั่นคง การสร้างกฎง่ายๆ เช่น “ลูกต้องเก็บของเล่น หลังจากเล่นเสร็จแล้ว” พร้อมอธิบายเหตุผลที่เข้าใจง่ายๆ ว่า เพราะถ้าลูกไม่เก็บ อาจมีคนพลาดเดินไปเหยียบบาดเจ็บและทำให้ของเล่นเสียหายได้

นอกจากนี้ การแสดงคำชมเชยที่เฉพาะเจาะจง เช่น “แม่ภูมิใจที่ลูกรู้จักเก็บของเล่นด้วยตัวเอง” ก็เป็นแรงจูงใจสำคัญในการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี การแสดงความชื่นชมไม่เพียงแต่ทำให้ลูกมีความสุข แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตัวเอง

3. รับมือกับอารมณ์ลูกด้วยความสงบ

Age3_web_3

ในวัยนี้ ลูกอาจยังจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ไม่ดี เมื่อลูกงอแงหรือโกรธ พ่อแม่ควรรับมือด้วยความสงบ ใช้คำพูดที่ช่วยสะท้อนความรู้สึกของลูก เช่น “แม่เข้าใจว่าหนูเสียใจที่ไม่ได้ของเล่น แต่เรามาลองดูของเล่นกันก่อนดีไหม?” การช่วยลูกระบุและเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง จะช่วยให้พวกเขาควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นในอนาคต

4. สร้างกิจวัตรที่มั่นคงและชัดเจน

Age3_web_4

การที่คุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังให้ลูกมีกิจวัตรประจำวันที่แน่นอน เช่น เวลากินข้าว เวลาเล่น และเวลาเข้านอน ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ลูกเกิดความรู้สึกมั่นคงและคาดเดาสิ่งต่างๆ ได้ ส่งผลให้ลดปัญหาการต่อต้านและพฤติกรรมงอแงลงได้

5. เป็นแบบอย่างที่ดี

Age3_web_5

เด็กในวัยนี้เลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่เป็นหลัก คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงพฤติกรรมที่ต้องการให้ลูกทำตาม เช่น การพูดจาสุภาพ การแบ่งปัน หรือการควบคุมอารมณ์ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้จะกลายเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูกในอนาคตต่อไป

อ้างอิง
developingchild.harvard.edu
babycenter
เพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST