READING

ไม่ใช่แค่แม่ที่เครียด แต่ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Pos...

ไม่ใช่แค่แม่ที่เครียด แต่ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum blue) คุณพ่อก็เป็นได้?!

คุณพ่อคุณแม่คงจะเคยได้ยินคำว่า ‘ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด’ (Postpartum blue) หรือภาวะ baby blue ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างรวดเร็วหลังจากที่คลอดเบบี๋

รู้แบบนี้แล้ว หลายคนอาจคิดว่าอาการซึมเศร้าหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นได้กับคุณแม่เท่านั้น แต่ไม่ใช่เลย เพราะความจริงแล้ว คุณพ่อเองก็สามารถเกิดภาวะซึมเศร้าหลัง (คุณแม่) คลอดได้เช่นกัน

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณพ่อ

Postpartumblue_web_1

มีรายงานในสมาคมการแพทย์อเมริกันพบว่าคุณพ่อมือใหม่ 10 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก เริ่มมีภาวะซึมเศร้าได้ตั้งแต่สามเดือนแรกที่ภรรยาตั้งครรภ์ และอาจต่อเนื่องไปจนถึงหกเดือนหลังลูกคลอดออกมา Christina Hibbert ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตกล่าวว่า การผันผวนของฮอร์โมนของคุณพ่อเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปหลังภรรยาตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียดหรือนอนน้อย ก็สามารถทำให้คุณพ่อเกิดภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของลูก โดยเฉพาะในกรณีที่คุณพ่อและคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าทั้งคู่ ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกมากยิ่งขึ้น

สาเหตุคืออะไรกันนะ?

Postpartumblue_web_2

ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นกับคุณพ่อไม่ใช่เรื่องแปลก คุณพ่อหลายคนอาจเกิดความเครียดและกังวล จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือฮอร์โมนเพศชายลดน้อยลง และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คุณพ่อมีความอ่อนไหวง่าย (Sensitive) และกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ในที่สุด

คริสติน่ายังกล่าวอีกว่า หากคุณพ่อยิ่งพยายามที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงจากอาการซึมเศร้า เช่น ทำงานหนักขึ้น หรือเล่นกีฬา คุณพ่ออาจจะพบกับผลข้างเคียงอื่นตามมา เช่น ไม่มีแรง ไม่มีแรงจูงใจ อาจส่งผลให้อาการยิ่งหนักขึ้นมากกว่าเดิม

มาช่วยคุณพ่อกันดีกว่า

Postpartumblue_web_3

วิธีที่คุณแม่จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจคุณพ่อทำได้ง่ายมาก เริ่มจากการใส่ใจกันและกันให้มากขึ้น บางครั้งคุณพ่ออาจเผลอทำอะไรผิดพลาดหรือทำให้ลูกร้องไห้ ก็อย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่า เพราะอาจเป็นการบั่นทอนจิตใจของคุณพ่อ ทำให้คุณพ่อไม่มีกำลังใจและสูญเสียความมั่นใจในการเลี้ยงลูกมากขึ้น

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดต้องรักษา

Postpartumblue_web_4

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบำบัดภาวะซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการให้คำปรึกษา พูดคุย ร่วมกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามมีปัจจุบันมีวิธีการรักษาภาวะซึมเศร้าที่หลากหลาย หากพบว่าคุณพ่อมีอาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดต่อเนื่องและยาวนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน

อ้างอิง
fitpregnancy
healthychildren

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST