READING

ช่วยลูกผ่านเรื่องเลวร้าย: 4 เทคนิคเยียวยาจิตใจลูก...

ช่วยลูกผ่านเรื่องเลวร้าย: 4 เทคนิคเยียวยาจิตใจลูก

ช่วยลูกผ่านเรื่องเลวร้าย

พ่อแม่อย่างเรา นอกจากจะต้องดูแลให้ลูกปลอดภัยทางสุขภาพร่างกายแล้ว สุขภาพจิตใจของลูกก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนจะต้องดูแล ปกป้อง และเยียวยารักษา ช่วยลูกผ่านเรื่องเลวร้าย ในชีวิตตัวเองได้

เพราะในชีวิตจริง ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะพยายามทะนุถนอมดูแลลูกอย่างดีแค่ไหน แต่การที่ลูกเติบโตมีสังคมและสิ่งแวดล้อมที่กว้างขึ้น ย่อมมีโอกาสที่ลูกจะพบเจอเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วไป เช่น เช่น ลูกถูกเพื่อนแกล้ง ถูกคุณครูทำโทษ ไปจนถึงเรื่องที่สามารถเป็นบาดแผลในจิตใจลูกได้

และเมื่อคุณพ่อคุณแม่ไม่อาจปกป้องลูกจากเหตุการณ์ไม่ดีหรือเรื่องเลวร้ายในชีวิตได้ทุกครั้ง สิ่งที่ควรทำก็คือการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือและคอยเยียวยาจิตใจ ช่วยลูกผ่านเรื่องเลวร้าย เพื่อฟื้นคืนสภาพจิตใจลูกให้กลับมาเป็นเด็กที่เติบโตอย่างมีความมั่นคงทางจิตใจได้อีกครั้ง

1. สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก

Healingchild_web_1

พื้นที่ในปลอดภัยในที่นี้ หมายถึงคุณพ่อคุณแม่ควรเป็นคนที่พร้อมที่จะรับฟังและให้ความช่วยเหลือลูกอย่างมีสติ ไม่ตื่นตระหนก ใช้อารมณ์ หรือด่วนตัดสิน

คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องคาดคั้นหรือเร่งรัดให้ลูกบอกเล่าเรื่องราวเลวร้าย แต่ควรปลอบโยนด้วยความเข้าใจ ดูและอย่าวใกล้ชิด และให้เวลาลูกค่อยๆ เรียบเรียงเรื่องราวออกมาเมื่อพร้อม สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่คือคนที่จะกลับมาพักกายพักใจจากเรื่องเลวร้ายได้เสมอ

2. ไม่กระตุ้นความกลัวของลูก

Healingchild_web_2

บางครั้งเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจลูก อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยในสายตาผู้ใหญ่ แต่เมื่อรู้สาเหตุหรือที่มาของเรื่องเลวร้ายในใจลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบพาลูกกลับไปเจอคนหรือเหตุการณ์เดิมๆ เพื่อแก้ไขปัญหา เพราะแทนที่จะช่วยเยียวยาจิตใจลูก อาจกลายเป็นการกระตุ้นและตอกย้ำบาดแผลในใจลูกได้

3. ไม่ควรถามเรื่องราวซ้ำๆ หรือบอกให้ลูกเล่าหลายรอบ

Healingchild_web_3

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำนอกจากฟื้นฟูสภาพจิตใจลูกแล้ว ยังควรปกป้องลูกจากการถูกตั้งคำถามและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ลูกต้องเล่าเรื่องเลวร้ายซ้ำๆ ให้คนอื่นฟังโดยไม่จำเป็น ด้วยการเตือนคนรอบข้างไม่ให้ถามหรือพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นกับลูกโดยตรง และสอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธที่จะตอบคำถาม หรือเล่าเหตุการณ์ให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องฟังด้วย

4. ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา

Healingchild_web_4

เมื่อลูกเจอเรื่องราวรุนแรงหรือเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ สิ่งที่ตามมาอาจไม่ใช่แค่บาดแผลในจิตใจ แต่ลูกอาจจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล หวาดกลัว  นอนไม่หลับ ฝันร้าย หรือมีพัฒนาการถดถอย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของลูกได้

ดังนั้น หากการเยียวยาจากคุณพ่อคุณแม่ ยังไม่สามารถบรรเทาหรือคลี่คลายผลข้างเคียงที่เกิดกับลูกได้ ก็จำเป็นต้องขอคำปรึกษาหรือการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยนะคะ

 

อ่านบทความ: ขวัญเอ๊ย ขวัญมา: 4 วิธีเยียวยาจิตใจเด็กหลังประสบเหตุรุนแรงในชีวิต

อ้างอิง
Psychology Today
verywellmind
Phyathai Hospital
mahidol

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST