READING

5 วิธีปรับความเข้าใจเมื่อครอบครัวมีปัญหา...

5 วิธีปรับความเข้าใจเมื่อครอบครัวมีปัญหา

family problems

ไม่ว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงแค่ไหน แต่ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ หรือใหญ่โตก็อาจเกิดขึ้นในครอบครัวของเราได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเกิดจากความคิดเห็นของคุณพ่อคุณแม่ที่แตกต่างกัน ปัญหาจากแนวทางการเลี้ยงลูก ปัญหาจุกจิกในชีวิตประจำวัน ปัญหาการเงิน ทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งที่บานปลายจนกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวได้

แต่ก่อนจะถึงวันนั้น เราอยากให้ทุกครอบครัวมีวิธีรับมือกับวิกฤติความสัมพันธ์ มีแนวทางที่จะช่วยกันรับมือและจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อรักษาสถานภาพและสามารถอยู่ร่วมกันต่อไปได้อย่างมีความสุข

1. หาเวลาพูดคุยกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

family problems

เลือกเวลาที่ทุกคนสะดวกเพื่อพบปะพูดคุยกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอคำแนะนำ และวิธีแก้ปัญหาภายในครอบครัวได้

2. รู้จักควบคุมอารมณ์

family problems

ในการอยู่ร่วมกัน เมื่อแต่ละคนมีความคิดเป็นของตัวเอง ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้ง เห็นต่าง และกระทบกระทั่งกันได้ แต่สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ รับฟัง และใช้เหตุผลมากกว่าการพยายามเอาชนะกันด้วยอารมณ์

3. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี

family problems

สภาพแวดล้อมอาจส่งผลต่อพฤติกรรมและอารมณ์ของคนในบ้านได้ ดังนั้นเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศที่คุกรุ่นในบ้าน หากมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมหรือตกแต่งบ้านให้สวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น ก็จะช่วยลดความเครียดของคนในบ้านได้

4. มีข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน

family problems

บางครอบครัวไม่ให้ความสำคัญกับการมีกฎระเบียบภายในบ้าน เพราะเห็นว่าเป็นการอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว ควรทำตัวได้ตามสบาย หรืออยากทำอะไรก็ได้ในบ้านของตัวเอง

แต่ความจริงแล้ว ข้อตกลงของการอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสังคมทุกขนาด ไม่เว้นแม้แต่หน่วยย่อยอย่างครอบครัว ก็ควรมีข้อตกลงที่ทุกคนยอมรับและเต็มใจจะปฏิบัติร่วมกัน เช่น การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบภายในบ้าน การมีกรอบเวลาของการทำกิจวัตรต่างๆ เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างสงบสุข ลดปัญหาการต้องคอยบอกคอยเตือนซ้ำๆ ที่จะทำให้ผิดใจกันง่ายขึ้น

5. ร่วมมือกันดูแลครอบครัว

family problems

คุณพ่อคุณแม่ควรร่วมมือซึ่งกันและกัน เสมือนว่ากำลังทำงานเป็นทีม ที่มีเป้าหมายคือการช่วยกันดูแลเลี้ยงดูลูกและรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวเอาไว้ โดยไม่ปล่อยให้ภาระหน้าที่ตกอยู่กับคนใดคนหนึ่งมากเกินไป ช่วยกันรับผิดชอบและแก้ไขปัญหาในครอบครัว โดยไม่กล่าวโทษหรือโยนความผิดให้อีกฝ่าย ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแน่นแฟ้นและไม่เกิดรอยร้าวได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

อ้างอิง
vichaiyut
manarom
thaihealth

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST