READING

6 วิธี ช่วยให้ทารกนอนหลับได้อย่างปลอดภัย...

6 วิธี ช่วยให้ทารกนอนหลับได้อย่างปลอดภัย

ใช่ว่าการพาลูกเข้านอนจะถือเป็นการสิ้นสุดภาระหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ เพราะระหว่างที่ลูกน้อยนอนหลับสบายอยู่บนที่นอนก็สามารถมีอันตรายเกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ก็เลยป้องกันอันตรายให้ลูกด้วยการพามานอนด้วยกันซะเลย

แต่เดี๋ยวก่อน! ไม่ว่าจะนอนแยกเตียงหรือนอนร่วมเตียงเดียวกับเบบี๋ คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะป้องกันและเฝ้าระวังความปลอดภัยให้ลูกน้อย ด้วยวิธีการดังนี้

1. งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนกับลูก

sleepsafely_web_1

ถึงคุณพ่อคุณแม่จะอาบน้ำ สระผม แปรงฟันให้สะอาดเพื่อเข้านอนกับลูก แต่สารตกค้างจากบุหรี่ยังติดทนอยู่ตามเส้นผม ร่องฟัน ผิวหนัง ซอกเล็บโดยไม่รู้ตัว ถ้าคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้านอนกับลูกเป็นประจำ ก็ควรงดพฤติกรรมสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ลูกได้รับสารตกค้างที่ติดตัวคุณพ่อคุณแม่ อาจส่งผลให้ลูกมีปัญหาโรคทางเดินหายใจ และกลิ่นแฮลกอฮอล์ก็ฉุนและรุนแรง ส่งผลต่อพัฒนาการด้านระบบประสาทสัมผัสทางจมูกของลูกได้

2. ห้ามทารกและเด็กนอนตรงกลางระหว่างพ่อแม่

sleepsafely_web_2

หลายครอบครัวให้ลูกวัยทารกนอนระหว่างกลางคุณพ่อคุณแม่ แต่นั่นไม่ใช่การนอนที่ปลอดภับสำหรับลูก เพราะคุณพ่อคุณแม่อาจจะเผลอพลิกตัว หรือขยับแขนขามาพาดทับลูกได้

ทางที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรหาเตียงเด็กที่สามารถประกบติดเข้ากับเตียงคุณพ่อคุณแม่ได้ เพื่อให้ลูกมีพื้นที่การนอนที่ห่างจากคุณทั้งสองในระยะที่มองเห็นและเอื้อมถึง แต่ไม่ใกล้ชิดในระดับที่แค่ขยับตัวก็โดนตัวกันแล้ว

3. เลือกเบาะนอนลูกที่มีลักษณะค่อนข้างแข็ง

sleepsafely_web_3

ที่นอนของทารกควรเลือกที่นอนค่อนข้างแข็ง ไม่อ่อนนุ่มยวบยาบจนเกินไป ผ้าปูที่นอนต้องเรียบดึง ไม่หลุดง่าย เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าปูที่นอนหลุดมาคลุมหน้าจนเด็กหายจนไม่ออกและลดความเสี่ยงการเกิดโรค Sudden Infant Death Syndrome: SIDS หรืออาการหลับไม่ตื่นในทารก

4. จัดท่านอนทารกให้เหมาะสม

sleepsafely_web_4

ท่านอนของเด็กทารกที่เหมาะสมแต่ละช่วงอายุไม่เหมือนกัน สำหรับเด็กทารกช่วงอายุไม่เกิน 1 ขวบ มีท่านอนที่เหมาะสมดังนี้ ควรนอนท่าไหนกันบ้าง

– ทารกวัย 0–4 เดือน ควรนอนตะแคงหรือนอนหงาย เพราะเด็กวัยนี้ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ทำได้เพียงหันซ้ายและขวาเท่านั้น และท่านี้ยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อคอของเด็กให้แข็งแรงมากขึ้น

– ทารกวัย 5–6 เดือน ทารกวัยนี้สามารถนอนคว่ำได้แล้ว และกระดูกคอของทารกเริ่มแข็ง ทำให้เด็กเริ่มยกคอได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตท่านอนของเด็กวัยนี้อย่างใกล้ชิด

– ทารกวัย 7-12 เดือน ทารกสามารถนอนได้ทุกท่า เพราะเด็กพลิกตัวด้วยตนเองได้แล้ว แต่พ่อแม่ยังคงต้องคอยสังเกตว่าไม่มีอะไรมาปิดหน้าระหว่างที่เด็กนอนหลับอยู่

5. ไม่ควรมีตุ๊กตา หมอน ผ้าห่มอยู่บนเตียง

sleepsafely_web_5

เพราะระหว่างนอนหลับ ทารกอาจจะคว้าตุ๊กตา หมอนมาปิดหน้าหรือเอาหน้าซุกผ้าห่มจนหน้าจนหายใจไม่ออกหรืออุดกลั้นการหายใจ นอกจากนี้ผ้าห่มที่พันตัวลูกอาจจะทำให้ลูกนอนหลับไม่สบายอีกด้วย

6.  ห้ามนอนกับลูกบนเก้าอี้นวมหรือโซฟาเด็ดขาด

sleepsafely_web_6

พาลูกไปนอนบนเก้าอี้นวมหรือโซฟา มีโอกาสที่ทารกจะตกลงพื้นหรือตัวติดในช่องว่างระหว่างพนักฟิงกับที่นั่งได้

 

 

 

อ้างอิง
สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
thesianparentthailand
s-momclub
BBC ไทย
Samitivejhospitals
สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ
Komchadluek
The Lullaby Trust

Pitchaya T.

ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ที่ช่วยยืนยันว่ามนุษย์คนนี้คือเด็ก :)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST