READING

สัญญาณเตือนว่าลูกอาจมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า (Langu...

สัญญาณเตือนว่าลูกอาจมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า (Language Development Delay)

พัฒนาการทางภาษาล่าช้า

พัฒนาการทางภาษาถือเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่เด็กทุกคนควรได้รับการฝึกฝน เพื่อเป็นเครื่องมือทางการสื่อสารที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตต่อไป

และหากไม่ได้รับการฝึกฝนหรือส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการทางภาษาในช่วงวัยที่เหมาะสม ก็จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นเด็กมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า มีศักยภาพในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลง ส่งผลต่อการเรียนรู้และบุคลิกภาพของลูกต่อไปในอนาคต

เพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการของลูกน้อย เราจึงรวบรวมสัญญาณเตือนว่าลูกมีความเสี่ยงหรือเข้าข่ายเด็กมี พัฒนาการทางภาษาล่าช้า หรือไม่มาฝากค่ะ 

พัฒนาการทางภาษาล่าช้า หรือ Language Development Delay

LanguageDelay_1

อาการของเด็กที่มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า คือการมีความผิดปกติทางการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการฟังได้ช้ากว่าคนอื่น ทำให้มีปัญหาในการสื่อสาร เช่น ฟังไม่เข้าใจ หรือพูดตอบโต้ไม่ทัน

ข้อมูลจากมหาวิทยาลัย Michigan Health System ระบุว่าพัฒนาการทางภาษาล่าช้า จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กช่วงก่อนวัยเรียนได้มากถึง 5-10 เปอร์เซนต์เลยทีเดียว

สาเหตุของพัฒนาการทางภาษาล่าช้า

สาเหตุ

ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการระบุสาเหตุที่ทำให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าอย่างแน่ชัด แต่โดยทั่วไปก็มีการสันนิษฐานกันว่าอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้

 

• ลูกมีปัญหาด้านร่างกาย เช่น หูไม่ได้ยิน หรือช่องปากมีปัญหา

• ลูกไม่มีโอกาสเข้าสังคม ทำให้ไม่ได้ทดลองใช้ความสามารถในการสื่อสารของตัวเอง

• เกิดจากการคลอดก่อนกำหนด

• ลูกมีปัญหาทางระบบประสาท เช่น สมองพิการ กล้ามเนื้อเสื่อม หรือเกิดการบาดเจ็บที่สมอง

• ภาวะออทิสติก

• คนในครอบครัวเคยมีประวัติพัฒนาการทางภาษาล่าช้า

สัญญาณเตือนว่าลูกอาจมีพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า

LanguageDelay_3

– ช่วงอายุ 12-24 เดือน 

• ลูกไม่พูดแม้กระทั่งคำสั้นๆ เช่น พ่อ แม่ 

• ลูกไม่สามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ 

• ลูกไม่ตอบสนองกับเสียงดนตรี

• ลูกไม่โต้ตอบหรือมีท่าทีตอบสนองต่อเสียงเรียกของคุณพ่อคุณแม่

• ลูกไม่สามารถเลียนแบบเสียงที่ตัวเองได้ยินได้

LanguageDelay_4

– ช่วงอายุ 2 ขวบขึ้นไป

• ลูกไม่สามารถรวมคำ หรือสร้างประโยคง่ายๆ ด้วยตนเอง

• เมื่อเริ่มพูดคำใดได้แล้ว จะชอบพูดคำเดิมซ้ำๆ และอาจไม่คำนึงถึงความหมาย

• ลูกไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ เช่น เก็บของ หรือกินข้าว

• ไม่สามารถพูดหรือสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้

LanguageDelay_5

– ช่วงอายุ 3 ขวบขึ้นไป

• พูดและเข้าใจประโยคสั้นๆ ได้เท่านั้น

• ลูกมักไม่เข้าใจประโยคคำถามที่ยาวหรือซับซ้อนกว่าปกติได้

• ไม่สนใจการอ่านหนังสือ หรือให้ความสนใจน้อยมาก

• ลูกไม่ค่อยกล้าเอ่ยปากถามคำถามใคร

อ้างอิง
verywellfamily
rchsd
familydoctor

Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST