READING

M.O.M Cyclopedia: เรื่องเล่าแสนสนุกของ ‘ หน้ากากอน...

M.O.M Cyclopedia: เรื่องเล่าแสนสนุกของ ‘ หน้ากากอนามัย ’

หน้ากากอนามัย

ตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ‘ หน้ากากอนามัย ‘ก็กลายเป็นหนึ่งในไอเทมสำคัญที่ห้ามขาดห้ามลืมไปแล้วของมนุษย์

แม้ว่าในช่วงหนึ่งจะมีการถกเถียงกันถึงประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้จริงหรือไม่ ทำให้เสี่ยงติดโรคมากกว่าเดิมหรือเปล่า ซึ่งหลายข้อสงสัยก็ได้รับการสรุปแล้ว ว่าเจ้าหน้ากากอนามัยนี้ล่ะ สามารถช่วยปกป้องเราได้จริง หน้ากากอนามัยจึงเปรียบเสมือนไอคอนของยุคปี 2020 ไปอย่างปริยาย มาถึงตรงนี้ มีใครสงสัยกันไหมคะว่า หน้ากากอนามัย ที่เราใช้กันอยู่ในทุกๆ วัน แท้จริงแล้วจุดกำเนิดของมันเป็นอย่างไร

จุดเริ่มต้นมาจากโรคระบาด!?

Medicalmask_1

ในช่วงศตวรรษที่ 17 หน้ากากอนามัยเริ่มถูกใช้ครั้งแรกในช่วงการระบาดของกาฬโรค (Black death) ในยุโรป ซึ่งถือเป็นโรคระบาดที่รุนแรงมากในขณะนั้น Charles de Lorme นายแพทย์ชาวฝรั่งเศส จึงตัดสินใจประดิษฐ์หน้ากากอนามัยขึ้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หน้ากากอนามัยช่วงแรกมีลักษณะคล้ายจะงอยปากของนก ตาเป็นทรงกลมมีกระจกกั้น ภายในหน้ากากเต็มไปด้วยดอกไม้ สมุนไพร และเครื่องเทศ แพทย์ยุคนั้นเชื่อกันว่ากาฬโรคมีการแพร่กระจายผ่านอากาศที่มีกลิ่นเหม็นจึงใส่สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมไว้ในหน้ากากเพื่อช่วยกรองเชื้อ

เมื่อก่อนคุณหมอไม่เห็นด้วยกับการใส่หน้ากากอนามัย!?

Medicalmask_2

แม้จะเคยมีการระบาดของกาฬโรค แต่การใส่หน้ากากอนามัยในกลุ่มแพทย์ยุคนั้นก็ไม่ได้แพร่หลายเท่าไรนัก ช่วงปลายยุค 1800 Dr. Paul Berger ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่สวมใส่หน้ากากอนามัยระหว่างผ่าตัด เพราะมีข้อมูลความรู้ว่าน้ำลายของคนเราเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่อาจทำให้คนไข้ติดเชื้อได้

 

หน้ากากอนามัยในช่วงนั้นทำด้วยผ้าโปร่ง 6 ชั้น ขอบด้านล่างเย็บติดกับผ้ากันเปื้อน ผูกอยู่เหนือจมูก แต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มแพทย์มากนัก แพทย์หญิง Alice Hamilton ได้ตีพิมพ์เนื้อหาเกี่ยวกับแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับสารคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกมาจากคนไข้ ขณะพูด ไอ จามหรือร้องไห้ รวมถึงแพทย์ที่พูดในชั้นเรียนหรือขณะผ่าตัด ก็เป็นคนแพร่เชื้อโรคได้ หลังจากนั้น จึงเกิดการใส่หน้ากากอนามัยอย่างแพร่หลายในหมู่แพทย์มากขึ้น

หน้ากากผ้าฝ้ายหน้ากากที่ประชาชนทุกคนได้ใช้!?

Medicalmask_3

ในปี ค.ศ. 1910 เกิดการระบาดของกาฬโรค หรือโรคระบาดแมนจูเรีย (Manchurian Plague) อีกครั้ง แต่ครั้งนี้เกิดขึ้นในประเทศจีน ซึ่งทำให้ชาวเมืองล้มป่วยกันเป็นจำนวนมาก ราชวงศ์ชิงแต่งตั้งหมอ Wu Lien-Tah เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าคณะการควบคุมโรคระบาด

 

หมอ Wu Lien-Teh พบว่าการแพร่เชื้อของโรคระบาดมาจากละอองฝอยขนาดเล็กที่ปนมากับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ขณะพูด ไอ หรือจาม เมื่ออีกฝ่ายหายใจก็สามารถรับเชื้อเข้าไปได้ Wu Lien-Teh จึงทำหน้ากากผ้าฝ้ายขึ้นมา เพื่อให้แพทย์ หน้าตาของหน้ากากผ้าฝ้ายยุคนั้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว ซ้อนกัน ปิดคลุมจมูก ปาก และคาง ก่อนใช้ผ้าพันแผลพาดลงบนผ้าฝ้ายแล้วพันคอผู้ใส่

หน้ากากไม่ได้กันแค่โรคระบาดอีกต่อไป!?

Medicalmask_4

หลังการระบาดในแมนจูเรียจบลง ปีค.ศ. 1918 ก็ได้เกิดโรคระบาดใหม่ อย่าง ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดของโลกเลยก็ว่าได้

 

จากการระบาดครั้งนี้ไม่ว่าจะหมอหรือประชาชนก็ใส่หน้ากากอนามัยกันหมด บางประเทศถึงกับออกกฏว่าต้องสวมใส่อยู่เสมอขณะทำงาน หรือใช้รถสาธารณะ แม้ไข้หวัดสเปนจะเริ่มทุเลาลง แต่ด้วยการเติบโต ทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย จนเกิดมลพิษ การใส่หน้ากากจึงเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น แม้จะไม่ทุกประเทศก็ตาม

 

จะเห็นได้ว่าหน้ากากอนามัยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีประวัติยาวนานนับร้อยปีกันเลยทีเดียว ถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ดีว่ามนุษย์นั้นต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บมาเป็นเวลานาน เมื่อโรคหนึ่งจบลงโรคใหม่ก็อาจเกิดขึ้นอีก หรือไม่ก็มลภาวะที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์เอง

อ้างอิง
gizmodo
wellcomecollection
thelancet
theconversation
gizmodo
bangkokbiznews
silpa-mag

Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST