READING

ทักษะการวิเคราะห์สื่อ: Media Literacy ทักษะที่เด็ก...

ทักษะการวิเคราะห์สื่อ: Media Literacy ทักษะที่เด็กยุคดิจิทัลควรมี

Media Literacy

เด็กยุคใหม่ที่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี ความรู้และความทันสมัยอยู่ใกล้แค่เพียงปลายนิ้ว แต่การที่ลูกจะต้องเผชิญกับข้อมูลข่าวสารมากมายในโลกออนไลน์ ก็ต้องรู้วิธีที่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและเหมาะสม

Media Literacy หรือ ทักษะการวิเคราะห์สื่อ เป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กยุคดิจิทัล เพราะมันจะช่วยให้เด็กๆ สามารถวิเคราะห์ แยกแยะ และประเมินข้อมูลที่ได้รับอย่างมีวิจารณญาณ และสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าข้อมูลใดเชื่อถือได้หรือไม่น่าเชื่อถือ

คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ลูกมี ทักษะการวิเคราะห์สื่อ ได้ด้วย 5 เทคนิคการสอนลูกให้เติบโตสมเป็นเด็กในยุคแห่งข้อมูลและข่าวสาร ดังต่อไปนี้

1. สร้างบทสนทนาที่เปิดกว้าง

MediaLiteracy_web_1

การพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอเป็นรากฐานสำคัญในการปลูกฝังทักษะ Media Literacy แทนที่จะถามคำถามปลายปิด ที่ลูกตอบได้แค่ใช่หรือไม่ หากคุณพ่อคุณแม่เปลี่ยนเป็นลองถามคำถามที่เปิดกว้างเพื่อกระตุ้นให้ลูกคิดวิเคราะห์ เช่น ลูกดูโฆษณานี้แล้ว รู้สึกอยากซื้อสินค้าหรือไม่ เพราะอะไร การถามคำถามแบบนี้จะช่วยให้ลูกได้ฝึกคิดวิเคราะห์ข้อมูล และเชื่อมโยงข้อมูลกับชีวิตจริงได้

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรแบ่งปันข้อมูล ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และต้องรู้จักเลือกท็อปปิคที่สมกับวัยลูก เพื่อไม่ทำให้ลูกเครียดหรือกดดันเกินไป

2. สอนให้ลูกตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

MediaLiteracy_web_2

สอนให้ลูกสังเกตถึงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง เช่น เว็บไซต์ข่าวที่น่าเชื่อถือ โซเชียลมีเดียของเพื่อน หรือเป็นคนที่ระบุตัวตนไม่ได้ และอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ข้อมูลจากแหล่งที่แตกต่างกันอาจมีความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกันไป และการตรวจสอบแหล่งที่มาจะช่วยให้เราประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

3. สร้างภูมิคุ้มกัน และวิธีคัดกรองข่าว

MediaLiteracy_web_3

ขั้นต่อมาคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักคัดกรองและแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นส่วนบุคคล เช่น ข่าวที่ไม่แน่นอน คาดเดา หรือยังไม่มีการยืนยันข้อมูล มักใช้คำว่า น่าจะ อาจจะ คาดว่า โดยคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกสังเกตว่าคำหรือข้อความเหล่านี้ มักใช้เพื่อบ่งบอกถึงการคาดการณ์ และเป็นความคิดเห็นมากกว่าข้อเท็จจริง

4. สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนาน

MediaLiteracy_web_4

การทำให้ลูกรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้และหาข้อมูลด้วยตัวเอง เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะ Media Literacy ได้ดียิ่งขึ้น เพราะลูกจะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่าการเชื่อเพราะบอกต่อกันมาง่ายๆคุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดกิจกรรมดูหนังหรือเล่นเกมร่วมกันในวันหยุดสุดสัปดาห์ แล้วชวนลูกพูดคุยถึงเนื้อหาที่ได้รับ จะช่วยให้ลูกได้ฝึกคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้รับจากสื่อต่างๆ เข้ากับชีวิตจริงได้

5. สนับสนุนให้ลูกได้สร้างสรรค์และลงมือทำ

MediaLiteracy_web_5

คุณพ่อคุณแม่อาจสนับสนุนให้ลูกได้ลองสร้างคอนเทนต์ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิดิโอสั้น เขียนบล็อก หรือทำพอดแคสต์ เพราะเมื่อลูกรู้และเข้าใจกระบวนการผลิตสื่อออนไลน์มากขึ้น ก็จะช่วยให้ลูกสามารถวิเคราะห์และแยกแยะความน่าเชื่อถือของสื่อหรือคอนเทนต์ต่างๆ ได้มากขึ้นตามไปด้วย

 

5 สัญญาณเตือนว่าลูกของคุณกำลังติดโซเชียลมีเดียมากเกินไปแล้ว!
อ้างอิง
SPH
Editcm

PITTAYARAT CH.

พิทยารัตน์ ชูพล: เด็กผู้หญิงผู้รับบทบาทลูกสาวคนเล็ก ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักเเละความใส่ใจจากคุณแม่ จนมีความใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งจะมอบความรักอันยิ่งใหญ่แบบนี้ให้ใครสักคนบ้าง

COMMENTS ARE OFF THIS POST