6 คอนเทนต์ หมวด ‘toxic’ ปี 2022 #MOMRecap2022

MOMRecap2022

ปี 2022 น่าจะเป็นปีที่เราได้เห็นคำว่า toxic ประกอบอยู่ในบทความหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นบทความที่พูดถึง toxic people หรือ toxic relationship แต่ไม่ว่าจะเป็นท็อกซิกแบบไหน ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกเข้าไปอยู่ใกล้ด้วยกันทั้งสิ้น

แต่ความ toxic ก็มีอยู่ในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ที่โรงเรียน ที่ทำงาน ที่บ้าน ตลอดจนถึงความสัมพันธ์ ซึ่งพ่อแม่บางคนอาจจะกำลังเป็นคนที่เป็นพิษโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้

เพื่อเป็นการไม่ส่งต่อความ toxic ให้ลูกและไม่ให้ลูกเป็นส่วนหนึ่งของ toxic ในชีวิตคนอื่น เราจึงรวบรวม 6 คอนเทนต์ในหมวด ‘toxic’ ในตลอดปี 2022 มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ

1. 5 พฤติกรรมที่อาจทำให้คุณกำลังเป็นพ่อแม่ที่เป็นพิษของลูก (Toxic Parents)

toxic_1

เรารู้กันดีว่าความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (toxic relationship) ไม่เคยสร้างความสุขไม่ว่าจะเป็นทางร่ายกายหรือจิตใจให้กับคนที่อยู่ในความสัมพันธ์ และถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีความต้องการเลี้ยงดูลูกให้ดีสุดความสามารถของตัวเองแค่ไหนก็ต้องไม่ลืมว่า ความรัก ความห่วงใย และความปรารถนาดี เมื่อมีให้กันมากเกินไป ความสัมพันธ์ที่ควรจะทำให้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยก็อาจจะกลายเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ และพ่อแม่ที่ควรจะเป็นคนที่ทำให้ลูกวางใจได้มากที่สุด ก็อาจกลายเป็นพ่อแม่ที่มีพฤติกรรมรุนแรงหรือกดดันลูก จนกลายเป็นพ่อแม่ที่เป็นพิษ หรือ toxic parents ในที่สุด

เพราะคำว่าครอบครัวไม่ได้หมายถึงจำนวนสมาชิกภายในบ้าน แต่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างทุกคนในบ้าน หากมีการกระทบกระทั่งหรือเข้าใจผิดกันเป็นเวลานาน ความสัมพันธ์ก็เกิดรอยร้าว กลายเป็นความไม่สบายใจเมื่อต้องอยู่ร่วมกัน

ก่อนที่จะถึงวันนั้น เราชวนคุณพ่อคุณแม่มาสำรวจพฤติกรรมของตัวเองว่ามีความเสี่ยงที่จะพลาดทำตัวเป็นพ่อแม่ที่เป็นพิษสำหรับลูกเพราะพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

2. 5 วิธี สอนลูกให้โตไปไม่เป็น Toxic People

toxic_2

Toxic People หมายถึงคนที่เป็นพิษต่อคนอื่น เพราะมีนิสัย ทัศนคติ หรือพฤติกรรมที่ทำให้คนที่อยู่ด้วยรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และไม่สบายใจ เช่น ชอบพูดจาโอ้อวดหรือฟูมฟาย บ้างก็ชอบบังคับควบคุมคนอื่น หรือพูดจาหักหน้าคนอื่น โดยที่เจ้าตัวอาจจะไม่รู้หรือไม่ตั้งใจก็ได้

ในยุคที่ผู้ใหญ่อย่างเราต้องพยายามพาตัวเองออกห่างจากคนประเภท toxic people และตั้งคำถามถึงสาเหตุว่าอะไรกันหนอที่ทำให้ใครสักคนเติบโตมาเป็นคนที่เป็นพิษเป็นภัยต่อคนอื่นได้

และถ้ามีโอกาสย้อนกลับมามองเด็กๆ ในฐานะพ่อแม่อย่างเรา นอกจากควรจะสอนให้ลูกรู้จักรับมือกับคนประเภท คนที่เป็นพิษเป็นภัยต่อคนอื่นแล้ว ยังต้องรู้วิธีการปลูกฝังให้ลูกเติบโตขึ้นไปโดยไม่เป็นพิษภัยต่อคนอื่นเสียเองอีกด้วย

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

3. สอนลูกรับมือ Toxic People: ไม่อยากให้ลูกอ่อนไหวและโดนทำร้ายซ้ำๆ จะรับมืออย่างไรดี?!

toxic_3

ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะพยายามเลี้ยงดูลูกให้เติบโตขึ้นมาอย่างดีแค่ไหน สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยก็คือ เมื่อลูกโตพอที่จะมีสังคมและสภาพแวดล้อมของตัวเอง ลูกย่อมต้องมีเพื่อนที่มาจากครอบครัวที่หลากหลาย และเติบโตมากับการอบรมเลี้ยงดูที่ต่างกัน

  จนทำให้การ สอนลูกรับมือ toxic people กลายเป็นหนึ่งในทักษะที่คุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ ควรเพิ่มเข้าไปในหลักสูตรการเข้าสังคมให้ลูกตั้งแต่เนิ่นๆ

เพราะ toxic people หมายถึงคนที่มีนิสัย ทัศนคติ หรือพฤติกรรมที่ทำให้คนที่อยู่ด้วยรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และไม่สบายใจ เช่น ชอบพูดจาโอ้อวดหรือฟูมฟาย บ้างก็ชอบบังคับควบคุมคนอื่น หรือพูดจาหักหน้าคนอื่น โดยที่เจ้าตัวอาจจะไม่รู้หรือไม่ตั้งใจ แต่ก็สามารถเป็นพิษต่อคนที่อยู่ใกล้ได้เสมอ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

4. Toxic Family เมื่อครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน: 5 พฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่อาจทำให้ครอบครัวไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย (โดยไม่รู้ตัว)

toxic_4

Toxic Family หมายถึงพื้นที่ที่เป็นพิษต่อสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเกิดจากการแสดงพฤติกรรมบางอย่างของสมาชิกในครอบครัว ที่ทำลายความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว เช่น การไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การใช้อำนาจข่มขู่ การทำร้ายร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดความเครียด ความทุกข์ทางจิตใจและอารมณ์ และทำให้สมาชิกในครอบครัวรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย อีกต่อไป

ทั้งที่ความจริง ครอบครัวคือปัจจัยสำคัญในการหล่อหลอมและสร้างพื้นฐานชีวิตให้กับลูก โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยทำหน้าที่เลี้ยงดู อบรมสั่งสอน เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพและมีความสุขต่อไปในอนาคต

แต่บางครั้ง พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว กลับเป็นตัวทำลายความสัมพันธ์และความมั่นคงในจิตใจของลูก ทำให้ลูกรู้สึกว่าครอบครัวไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย กลายเป็นที่มาของปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ของลูก

M.O.M จึงรวบรวม 5 พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ที่อาจทำให้ครอบครัวดีๆ สั่นคลอนและนำไปสู่การเป็น Toxic Family หรือครอบครัวที่เป็นพิษมาฝากค่ะ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

5. Toxic Thinking: 5 ความคิดร้าย ที่พ่อแม่ไม่ควรส่งต่อให้ลูกรัก

toxic_5

Toxic Thinking หมายถึง รูปแบบความคิดที่เป็นพิษ เพราะเต็มไปด้วยอารมณ์ด้านลบ หลักๆ 3 อารมณ์ ได้แก่ ความกลัว ความโกรธ และความรู้สึกผิด ซึ่งไม่ใช่แค่มีผลต่อความรู้สึกตัวเองเท่านั้น แต่คนที่มีรูปแบบความคิดที่เป็นพิษนั้น มักจะแพร่มวลความทุกข์และความไม่สบายใจให้คนรอบข้าง

นอกจากนั้น นักจิตวิทยายังพบว่า พ่อแม่ที่มีความคิดในลักษณะ Toxic Thinking ก็มักจะส่งต่อและปลูกฝังรูปแบบความคิดของตัวเองให้กับลูก โดยไม่รู้ตัว ทำให้ลูกซึมซับความคิดและทัศนคติด้านลบ มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ลูกอาจมีพฤติกรรมและอารมณ์รุนแรงกว่าเด็กทั่วไปได้

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าตัวเองเข้าข่ายการเป็นพ่อแม่ที่มีความคิดเป็นพิษและกำลังส่งต่อความคิดแบบนั้นให้กับลูกหรือไม่ ด้วยการทบทวนตัวเอง หากพบว่าคุณพ่อคุณแม่มีแนวคิดบางอย่างตรงกับ 5 ความคิดที่เป็นพิษก็จะได้รู้ทันตัวเอง ลองหาวิธีปรับเปลี่ยน และเลือกที่จะไม่ส่งต่อความคิดร้ายๆ เหล่านี้ให้ลูกรักกันนะคะ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

6. ภาวะคิดบวกเป็นพิษ (Toxic Positivity): เมื่อการสอนให้ลูกมองโลกในแง่บวกมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี

toxic_6

ผู้ใหญ่อย่างเรารู้ดีว่า การคิดลบและมองโลกในแง่ร้าย ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพจิตใจและอารมณ์ แต่ในทางกลับกัน การมองโลกในแง่ดีและคิดบวก จะช่วยให้เรามีกำลังใจและสุขภาพจิตที่ดีจนสามารถฝ่าฟันและผ่านพ้นเรื่องราวร้ายๆ ไปได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การคิดบวกหรือมองโลกในแง่ดีมากเกินไป อาจกลายเป็นการมองข้ามปัญหา อุปสรรค และความยากลำบากไปโดยไม่คิดหาทางแก้ไข อาจเรียกได้ว่าเป็น ‘การหลอกตัวเอง’ จนเกิดปัญหาทับถม และกลายเป็นการทำร้ายตัวเอง หรือ ภาวะคิดบวกเป็นพิษ (Toxic Positivity) ได้

Jaime Zuckerman นักจิตวิทยาคลินิกแห่งมหาวิทยาลัยเพนน์ซิลเวเนีย อธิบายว่า การฝืนคิดบวกในสถานการณ์ที่เลวร้าย โดยที่ภายในใจตัวเองรู้สึกเจ็บปวด คือการหลอกตัวเองเพื่อเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายใจ แต่การทำอย่างนั้นมักทำให้เกิดความวิตกกังวลซึมเศร้า และทำให้สุขภาพจิตโดยรวมแย่ลงในภายหลัง

เช่นเดียวกับ Svend Brinkmann นักจิตวิทยาชาวเดนมาร์ก ผู้เขียนหนังสือ Stand Firm: Resisting the Self-Improvement Craze ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เห็นว่า เมื่อเกิดเรื่องเลวร้าย คนเราสามารถปล่อยให้ตัวเองรู้สึกเสียใจได้ แต่ไม่ถึงกับว่าต้องอยู่กับความทุกข์ตลอดทั้งวัน และในขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องพยายามเปลี่ยนความทุกข์ให้เป็นความสุขในทันที เพราะจะกลายเป็นการบิดเบือนมุมมองที่ควรมีต่อความเป็นจริงได้

ดังนั้น เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า ภาวะคิดบวกเป็นพิษ (Toxic Positivity) หรือการสอนลูกให้มองโลกในแง่ดีมากเกินไป อาจไม่ใช่เรื่องดีอย่างที่คิด เรามาลองฝึกให้ลูกเป็นเด็กที่อยู่กับความเป็นจริง ไม่คิดลบมากเกินไป และไม่คิดบวกเกินพอดีด้วย 4 วิธี ต่อไปนี้

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่


Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST