READING

6 คอนเทนต์ ‘สอนลูกให้เอาตัวรอดจากเหตุการณ์อ...

6 คอนเทนต์ ‘สอนลูกให้เอาตัวรอดจากเหตุการณ์อันตราย’ #MOMRecap2022

สอนลูกให้เอาตัวรอดจากเหตุการณ์อันตราย

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นอุบัติเหตุ ก็มักจะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าและคาดเดาไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือ นอกจากมีสติอยู่ตลอดเวลาแล้ว ทักษะวิธีรับมือการเกิดอุบัติเหตุก็สำคัญไม่แพ้กัน

ในช่วงเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ข่าวอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กมีจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เช่น เด็กจมน้ำ ลืมเด็กไว้ในรถ ทำให้ผู้คนในสังคมเริ่มหันมาสนใจกับการสอนให้เด็กๆ รู้จักวิธีรับมือเมื่อตกอยู่ในเหตุการณ์อันตรายมากขึ้น

วันนี้เราเลยรวบรวมคอนเทนต์ตลอดปี 2022 ที่เกี่ยวกับการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์อันตรายที่ไม่คาดฝัน มาฝากกันค่ะ

1. 5 เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูก เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้

Survive_1

ไม่ว่าจะพยายามป้องกันและระมัดระวังมากแค่ไหน แต่ภัยพิบัติไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ หรือความผิดพลาดของมนุษย์ เช่น เหตุการณ์ ไฟไหม้ ย่อมเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดได้เสมอ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเหตุการณ์ร้ายจะเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไหร่ การสอนให้ลูกมีสติและความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

วิธีเอาตัวรอดเบื้องต้นจากเหตุการณ์ ไฟไหม้ ก็เป็นหนึ่งในทักษะที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ควรเรียนรู้เอาไว้เพื่อพร้อมรับมือ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

2. สอนลูกเรื่องทางม้าลาย ปลูกฝังวินัย และทักษะการใช้ถนน

Survive_2

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่และคุณครู สอนเด็กๆ เกี่ยวกับ ‘ทางม้าลาย’ ก็คือ เพื่อความปลอดภัยในการข้ามถนน เราควรยืนรอสัญญาณไฟ และข้ามถนนตรงทางม้าลาย เพราะเป็นจุดที่รถยนต์จะลดความเร็วและจอดรอเพื่อให้คนเดินข้ามถนนได้

แต่ถึงอย่างนั้น อุบัติเหตุที่เกิดกับคนเดินข้ามถนนจำนวนไม่น้อยก็เกิดขึ้นบริเวณทางม้าลาย จนสังคมต้องตั้งคำถามว่าแล้วเราจะฝากชีวิตและความปลอดภัยในการเดินข้ามถนนไว้กับเส้นสีขาวที่ผู้ใหญ่อย่างเราเองก็คอยสอนเด็กๆ ว่าเป็นบริเวณที่จะสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัยจริงหรือ…

อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาเล่าความเป็นมาของทางม้าลาย กฎหมายทางม้าลาย รวมถึงวิธีทักษะการเดินถนนให้ปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้ลูกกันดีกว่าค่ะ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

3. สอนลูกเรื่องอุบัติเหตุทางน้ำ: จะลดความเสี่ยงและเอาตัวรอดได้อย่างไรบ้าง

Survive_3

ถึงแม้ว่าอุบัติเหตุ จะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่อุบัติเหตุก็มักจะมาพร้อมกับความสูญเสียที่หลายคนคาดไม่ถึง

ไม่มีใครรู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่ความไม่ประมาท การมีสติ และทักษะการเอาตัวรอดในสถานการณ์คับขัน ก็เป็นสิ่งที่พอจะช่วยลดความสูญเสียให้น้อยลงได้ ข่าวการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการพลัดตกเรือและจมน้ำถึงแก่ชีวิต อาจทำให้หลายคนเริ่มกังวลใจเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ยังไม่เคยสอนให้ลูกรู้วิธีป้องกันและช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด

เราจึงรวบรวมวิธีป้องกันและเอาตัวรอดจากการจมน้ำ หรือพลัดตกเรือขณะโดยสาร เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่นำไปสอนลูกน้อยเตรียมความพร้อมไว้รับมือสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนี้

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

4. สำลักอาหาร กลืนของเล่น เรื่องใหญ่ที่ (อาจ) อันตรายถึงชีวิต

Survive_4

อันตรายที่เกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมอุดกลั้นทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเกิดจากการ สำลักอาหาร หรือกลืนสิ่งของขนาดเล็กลงคอ จะทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออกเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและนำส่งโรงพยาบาลทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังซุกซน อยากรู้อยากเห็น จึงมักมีพฤติกรรมชอบหยิบของใส่ปาก และวิ่งเล่นระหว่างกินอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ สำลักอาหาร ได้

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

5. ลืมเด็กไว้ในรถยนต์ แม้เปิดหน้าต่างไว้ ก็อันตราย

Survive_5

เหตุการณ์น่าเศร้าและไม่ควรเกิดขึ้น เช่น การลืมเด็กไว้ในรถยนต์ จนเป็นเหตุให้เด็กเสียชีวิต กลับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ไม่เคยเลือนหายไปจากสังคมไทย และเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้ใหญ่ในสังคมก็ตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจกับการสอนทักษะเอาตัวรอดจากสถานการณ์คับขันให้กับเด็กๆ ของเรา แต่เมื่อเวลาผ่านไป เหตุการณ์น่าเศร้าก็กลับมาเกิดเป็นข่าวให้รู้สึกเศร้าใจกันได้อีก

ทางด้าน ผศ.นพ. สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่หลายคนเข้าใจว่าการติดอยู่ในรถและเสียชีวิตนั้นเกิดจากการขาดอากาศหายใจ ทำให้เข้าใจไปเองว่า หากต้องการให้ลูกรอในรถ เพียงแง้มกระจกให้อากาศถ่ายเทได้ก็เพียงพอ

แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ ให้คุณหมออธิบายอีกครั้งดีกว่าค่ะ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

6. ลูกกลืนเหรียญ: แชร์ประสบการณ์ตรง เกิดอะไรขึ้นเมื่อลูกชายวัยซน ‘กลืนเหรียญ’ เข้าไปแล้ว!!!

Survive_6

สำหรับคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยอนุบาล คงเข้าใจถึงธรรมชาติของช่วงวัยแห่งความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ และชอบทดลองสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองของลูกเป็นอย่างดี

แต่บางครั้งความอยากเป็นนักสำรวจโลกของลูกก็เสี่ยงอันตราย และไม่ว่าคุณแม่จะคิดว่าตัวเองเฝ้าระวังลูกได้ดีมากแค่ไหน แต่มือไวๆ บวกกับความอยากรู้อยากลองของลูก ก็ทำให้เหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่


Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST