5 สาเหตุของอาการหวัดคัดจมูกในทารก

ทารกมักจะมีอาการเป็นหวัดคัดจมูกบ่อยๆ แต่บางทีคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่แน่ใจว่าต้องเป็นบ่อยแค่ไหน คุณถึงควรจะเริ่มกังวลกับอาการหวัดคัดจมูกของลูก

 

แต่อย่างไรก็ตาม การรู้ถึงสาเหตุของอาการหวัดคัดจมูกในเด็กทารกและรู้ว่าจะรับมือกับอาการของลูกอย่างไร ก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวลน้อยลงได้

และ 5 สาเหตุของอาการหวัดคัดจมูกในทารกที่พ่อแม่ควรรู้ มีดังนี้

1. กายวิภาค

nasalcongestion_web_1

อาการคัดจมูกในทารกสามารถเกิดขึ้นสองแบบ คือ คัดจมูกเพราะเกิดการบวมของทางเดินหายใจ ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านได้ และคัดจมูกเพราะทางเดินหายใจอุดตัน เพราะจมูกของทารกมีขนาดค่อนข้างเล็ก ดังนั้นแค่การบวมเล็กน้อยหรือมีน้ำมูกนิดหน่อยก็ทำให้เกิดอาการจมูกตันได้แล้ว

คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ว่าอาการคัดจมูกโดยทั่วไปของทารกนั้น เกิดจากกายวิภาคของทารกเอง ถ้าลูกยังเล่น ยิ้มแย้ม ดูดนมได้ตามปกติ ก็ไม่มีอะไรให้น่าเป็นกังวล และอาการคัดจมูกจะสามารถดีขึ้นได้ด้วยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

2. ทารกยังสั่งน้ำมูกเองไม่ได้

nasalcongestion_web_2

ผู้ใหญ่และเด็กโตจะสามารถสั่งน้ำมูกออกจากจมูกของตัวเองได้ แต่ทารกยังไม่สามารถสั่งน้ำมูกเองได้ จึงทำให้มีน้ำมูกสะสม เกิดอาการคัดจมูก และหายใจไม่ออก เพราะฉะนั้นการล้างจมูกก็จะช่วยกำจัดน้ำมูกให้ทารกได้

3. การแพ้ระคายเคือง

nasalcongestion_web_3

คุณภาพของอากาศมีความสำคัญและสามารถทำให้จมูกทารกอุดตันอย่างรุนแรงได้ การระคายเคืองเนื่องจาก ควันบุหรี่ ควันรถ หรือว่าควันจากการทำอาหาร สามารถทำให้ลูกคัดจมูกได้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือการกำจัดปัจจัยเหล่านี้ และอาจจะหาเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศมาติดไว้ในห้องนอนก็จะช่วยได้

4. ไวรัสหวัด

nasalcongestion_web_4

โดยส่วนใหญ่อาการคัดจมูกไม่ได้ทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด แต่มันสามารถรบกวนการนอนของทารกได้ ยิ่งถ้ามีอาการคัดจมูกที่เกิดจาการติดเชื้อไวรัส คุณควรจะให้ทารกกินยาตามที่หมอสั่งและล้างจมูกให้ หากทารกหายใจไม่สะดวกเวลานอน คุณแม่อาจจะหาหมอนมาหนุนรองหัวลูกให้สูงขึ้น หรือลองให้ลูกนอนหลับในคาร์ซีต เพื่อให้ลูกได้นอนในท่านั่ง จะทำให้น้ำมูกไหลออกมาและช่วยให้ลูกหายใจได้ดีขึ้น

5. RSV

nasalcongestion_web_5

RSV คือเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดและทางเดินหายใจ อาการโดยทั่วไปก็จะคล้ายหวัด คือ คัดจมูก ไอแห้ง ไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดหัวเล็กน้อย แต่ถ้าติดเชื้อรุนแรงแล้วก็จะมีอาการ ไข้สูง ไออย่างรุนแรง หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบากจนตัวเขียว ถ้าถึงขั้นนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ได้เลย

nasalcongestion_web_6

คุณพ่อคุณแม่สามารถล้างจมูกให้ทารกได้ด้วยการหยอดน้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% (หาซื้อได้ตามร้านขายยา) เข้าไปในรูจมูกลูกข้างละ 2-3 หยด และนำลูกยางแดงหรือที่ดูดน้ำมูกมาดูดออก ทำซ้ำหลายๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก

 

 

 

อ้างอิง
Honestdocs
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Happymom

 

 


Fon Chalisa

คุณแม่ของเด็กชายวัย 3 ขวบ ที่กำลังคิดว่าตัวเองมีพลังวิเศษ

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST