READING

สอนลูกให้เข้าใจอารมณ์ด้านลบ : เพราะความกลัว ความโก...

สอนลูกให้เข้าใจอารมณ์ด้านลบ : เพราะความกลัว ความโกรธ ความเศร้าเป็นเรื่องธรรมดา

สอนลูกให้เข้าใจอารมณ์ด้านลบ

เมื่อลูกเติบโต การพบเจอประสบการณ์และเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ จนทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่ไม่คุ้นชิน อารมณ์โกรธ กลัว เศร้า เสียใจ และผิดหวัง การ สอนลูกให้เข้าใจอารมณ์ด้านลบ จะช่วยให้ลูกสามารถรับมือกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้ดีขึ้น

ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ด้านลบ จะช่วยเพิ่มทักษะการจัดการอารมณ์ และช่วยให้ลูกเข้าใจตัวเองมากขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควร สอนลูกให้เข้าใจอารมณ์ด้านลบ เพราะความรู้สึกเหล่านั้น สามารถเกิดขึ้นกับลูกได้ตลอดเวลา

1. ไม่เป็นไร ถ้าจะรู้สึกไม่โอเค

negativefeelings_web_1

หากลูกรู้สึกเศร้าหรือเสียใจ ไม่ว่าจะเกิดจากเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าความเศร้าเสียใจเป็นเรื่องธรรมดา หากลูกต้องการร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ก็อนุญาตให้ลูกร้องไห้ออกมา แล้วค่อยๆ ปลอบโยนให้ลูกเข้าใจว่า ความเศร้าเสียใจจะหายไป เหมือนความรู้สึกอื่นๆ ดังนั้นจึงไม่เป็นไรเลยที่ลูกจะรู้สึกไม่ดี หรือเศร้าเสียใจเพราะอะไรบางอย่าง

นอกจากนั้นคุณพ่อคุณแม่ยังควรให้พื้นที่และรอเวลาที่ลูกพร้อมจะเล่าหรือระบายความรู้สึกของตัวเองออกมาภายหลัง

2. อารมณ์ด้านลบก็เหมือนไฟจราจร

negativefeelings_web_2

อารมณ์โกรธ เศร้าและกลัวเปรียบเสมือนไฟจราจร ที่มีไฟสีเหลืองส่งสัญญาณเตือนให้เราหยุดรถ และเมื่อถึงไฟแดงแล้ว ลูกต้องหยุดรถเพื่อทบทวนอารมณ์ของตัวเองว่ากำลังรู้สึกอะไรและคิดว่าจะทำอย่างไรต่อแต่สุดท้ายแล้วอารมณ์ด้านลบเหล่านั้นจะค่อยๆ หายไป เหมือนกับที่ไฟจราจรที่ย่อมมีสัญญาณไฟเขียวเพื่อให้ลูกผ่านพ้นจากความรู้สึกไม่ดีไปได้อย่างแน่นอน

3. อารมณ์ด้านลบล้วนมีชื่อเรียก

negativefeelings_web_3

คุณพ่อคุณแม่สอนลูกให้เข้าใจอารมณ์แต่ละแบบได้ด้วยการตั้งคำถาม เช่น “หากลูกเจอสัตว์ประหลาด ลูกจะรีบวิ่งหนีไปใช่ไหม นั่นเป็นเพราะลูกรู้สึกกลัว ลูกจึงวิ่งหนี” หรือ “ถ้ามีคนมาพังของเล่นหนู แล้วหนูไม่ชอบ นั่นคือความโกรธ” หรือ “เมื่อลูกเห็นคนอื่นถูกแกล้ง แล้วลูกรู้สึกอยากร้องไห้ นั่นแปลว่าลูกรู้สึกสงสาร เห็นใจ และเสียใจ”  เมื่อลูกเริ่มเข้าใจว่าตัวเองกำลังรู้สึกอะไร ก็จะสามารถเข้าสู่การจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้นเช่นกัน

4. พ่อแม่ก็มีอารมณ์ด้านลบเหมือนกัน

negativefeelings_web_4

ใช้เวลาพูดคุยกับลูก เล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกฟังบ้าง เพื่อให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่เองก็เคยรู้สึกเศร้าจากความผิดหวัง เคยรู้สึกกลัว และโกรธ เหมือนคนอื่น เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่มีวิธีรับมือและผ่านเรื่องราวเหล่านั้นมาได้อย่างไร

 

— อ่านบทความ: Resilience Skill หรือความเข้มแข็งในจิตใจลูก สร้างได้อย่างไร?
อ้างอิง
PSYCHALIVE
Storyberries
Simply Mommynote

PITTAYARAT CH.

พิทยารัตน์ ชูพล: เด็กผู้หญิงผู้รับบทบาทลูกสาวคนเล็ก ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักเเละความใส่ใจจากคุณแม่ จนมีความใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งจะมอบความรักอันยิ่งใหญ่แบบนี้ให้ใครสักคนบ้าง

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST