READING

6 พฤติกรรมของพ่อแม่ที่อาจทำลายความสัมพันธ์กับลูกได...

6 พฤติกรรมของพ่อแม่ที่อาจทำลายความสัมพันธ์กับลูกได้

นอกจากการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนเพื่อให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพแล้ว การรักษาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรจะมองข้ามอย่างยิ่ง เพราะลูกคงจะเติบโตเป็นเด็กที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจได้ยาก ถ้าความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างพ่อแม่ลูกมีความกระท่อนกระแท่น  ทะเลาะกันเป็นประจำ พูดคุยหรือปรึกษาหารืออะไรไม่ได้

ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้พัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ พัฒนาไปได้ด้วยดี ยิ่งถ้าหากความสัมพันธ์ในครอบครัวแน่นแฟ้น ลูกก็จะมีจิตใจเข้มแข็ง ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เมื่อมีปัญหาก็จะนึกถึงและเลือกวิธีเข้าหาพ่อแม่ก่อนเป็นอันดับแรก

ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวนั้น เริ่มต้นจากพฤติกรรมที่พ่อแม่ลูกนั้นมีต่อกัน ในทางกลับกันก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่คุณพ่อคุณแม่อาจนึกไม่ถึงว่าจะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ในระยะยาวได้ เราลองมาดูกันดีกว่า ว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่มีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อยต้องสั่นคลอน

1. ทำให้ลูกอายต่อหน้าคนอื่น

destroyrelationship_web_1

เมื่อลูกทำผิด คุณพ่อคุณแม่ย่อมต้องตำหนิ ต่อว่า หรือมีวิธีลงโทษ เพื่อไม่ให้ลูกต้องทำความผิดซ้ำอีก แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็เผลอที่จะดุหรือลงโทษลูกต่อหน้าคนอื่น ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกอับอาย ไม่พอใจ และรู้สึกไม่ปลอดภัย จนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกพังลงได้

2. หาเรื่องตำหนิลูกทุกครั้งที่ลูกเล่าอะไรให้ฟังทุกครั้ง

destroyrelationship_web_2

เด็กๆ เมื่อถึงวัยที่ได้ออกไปเจออะไรด้วยตัวเองแล้ว ก็มักจะมีเรื่องราวมาเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟังอยู่เสมอ แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำเลยก็คือหาเรื่องตำหนิและสั่งสอนลูกตลอดเวลาว่าควรทำหรือไม่ควรทำอะไร ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตำหนิลูกทุกครั้ง จะทำให้ลูกไม่อยากเล่าเรื่องที่เจอหรือสิ่งที่ตัวเองกำลังรู้สึกออกมาได้อย่างแท้จริงสุดท้ายลูกก็จะค่อยๆ ห่างเหินจากครอบครัวมากขึ้นเรื่อยๆ

3. บ่นและหงุดหงิดใส่ลูกตลอดเวลา

destroyrelationship_web_3

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเอาอารมณ์ที่ไม่ดีหรือจิตใจที่ขุ่นมัวมาแสดงออกกับลูกตลอดเวลา แต่ควรทำตัวเป็นคนที่ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยที่จะเข้าหาได้ตลอดเวลา

4. ไม่ยอมขอโทษลูก เมื่อตัวเองทำผิด

destroyrelationship_web_4

คุณพ่อคุณแม่สามารถทำผิดพลาดได้เป็นปกติเช่นเดียวกับทุกคน แต่สิ่งสำคัญไม่ใช่อยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ทำอะไรผิด แต่อยู่ที่เมื่อทำผิดพลาดไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่มีวิธีการขอโทษอย่างไร การยอมเป็นฝ่ายที่จะขอโทษลูกบ้างจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ช่วยให้ลูกไม่รู้สึกค้างคาในใจ และเป็นตัวอย่างที่ดีทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะขอโทษเมื่อตัวเองทำผิดอีกด้วย

5. ไม่มีเวลาให้ลูก

destroyrelationship_web_5

การไม่มีเวลาให้กัน หรือมีเวลาให้อย่างไม่มีคุณภาพ เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวแย่ลงได้ ดังนั้นแม้คุณพ่อคุณแม่จะยุ่งมากแค่ไหน ก็ควรแบ่งเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่

6. ไม่ค่อยได้กินอาหารร่วมโต๊ะกัน

destroyrelationship_web_6

การร่วมโต๊ะกินข้าวและได้พูดคุยพร้อมหน้าพร้อมตา เป็นกิจวัตรประจำวันที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่ลูกได้ ดังนั้นแม้จะไม่ค่อยมีเวลาอย่างน้อยในหนึ่งวันควรจะได้มีกินข้าวร่วมโต๊ะกับลูกสักมื้อก็ถือว่าใช้ได้แล้วค่ะ

อ้างอิง
thriveglobal
bestlifeonline
thecharactercorner
itscheating

Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST