READING

เล่นกลางแจ้ง : ให้ลูกเล่นกลางแจ้งอย่างไร จึงปลอดภั...

เล่นกลางแจ้ง : ให้ลูกเล่นกลางแจ้งอย่างไร จึงปลอดภัยจากอากาศร้อน

เล่นกลางแจ้ง

เป็นที่รู้กันดีว่าช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าอุณหภูมิในประเทศจะสูงขึ้น กินเวลานาน และร้อนจนเป็นอันตรายมากขึ้นได้อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ มีข่าวเศร้าเกี่ยวกับการ เล่นกลางแจ้ง เมื่อเด็กชายวัย3 ขวบ เล่นน้ำและออกไปปั่นจักรยานกลางแดดและอากาศที่ร้อนจัด จนเกิดอาการปวดหัว อาเจียน หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งต่อมามีการเผยสาเหตุการเสียชีวิตว่าอาจเกิดจากน้ำในหูดันให้เส้นเลือดสมองแตก และร่างกายอาจปรับอุณหภูมิจากการเล่นน้ำและออกไปเจออากาศร้อนจัดไม่ทันนั่นเอง (อ้างอิง: matichon.co)

แต่ถึงอย่างนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็รู้ดีว่า การ เล่นกลางแจ้ง เป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะและพัฒนาการให้กับลูก แต่ในสภาพที่ร้อนเช่นทุกวันนี้ คุณพ่อคุณแม่จะปล่อยให้ลูกออกไปเล่นสนุกกลางแจ้งอย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด ลองมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันนะคะ

อากาศร้อนเกี่ยวข้องกับเส้นเลือดในสมองแตกจริงหรือไม่?

outdoorplay_web_1

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงว่าอากาศร้อนไม่ได้มีผลโดยตรงต่อโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาจจะมีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือดเพื่อเร่งระบายความร้อนออกจากร่างกายเพียงเท่านั้น

เนื่องจากสภาพอากาศร้อนสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) และมีลักษณะอาการคล้ายคลึงอาการของกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และเมื่อไม่ได้รับการรักษา อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้

แล้วแบบนี้จะช่วยให้ลูกปลอดภัยจากการเล่นกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อนได้อย่างไร?

1. เลือกเวลาเล่น

outdoorplay_web_2

เรารู้กันดีว่าแสงแดดมีวิตามิน D ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ช่วยบำรุงกระดูก ลดความเสี่ยงเบาหวานในเด็ก และสามารถป้องกันโรคหัวใจได้ แต่หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกเล่นกลางแจ้งท่ามกลางแดดจัดเป็นเวลานาน แทนที่จะได้รับประโยชน์ กลับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอันตราย ดังนั้น ควรเลือกเวลาให้ลูกเล่นในช่วงแดดอ่อนๆ อย่างในตอนเช้าและเย็นในช่วงเวลาระหว่าง 6.00-8.00 น. และ 17.00-18.00 น. เพราะช่วงที่แสงแดดอ่อน ไม่ร้อนเกินไป จะช่วยเสริมสร้างการมีสุขภาพที่ดีให้กับลูกได้

2. ผ้าเย็นช่วยคลายร้อน

outdoorplay_web_3

นอกจากการดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนพาลูกออกไปเล่นแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมผ้าเย็น หรือผ้าขนหนูแช่เย็นเอาไว้ใกล้ๆ ที่เล่นของลูก เพื่อให้ลูกได้ใช้ซับหน้า คอ แขน ขา ข้อพับเข่า และใต้รักแร้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายขณะเล่นนั่นเอง

3. หมั่นสั่งเกตลูกอย่างใกล้ชิด

outdoorplay_web_4

เมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกออกไปเล่นกลางแจ้ง ควรจะต้องสังเกตลูกน้อยตลอดเวลาอย่างใกล้ชิด หากพบว่าลูกมีอาการบางอย่าง เช่น ปวดหัว อาเจียน หรืออาการที่คล้ายจะเป็นอาการฮีตสโตรก ให้รีบหยุดพัก เข้าที่ร่ม และรีบคลายความร้อนของอุณหภูมิในร่างกาย และในระหว่างนั้นให้รีบขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ให้นำลูกส่งโรงพยาบาลทันที

อ้างอิง
prgroup.hss.mop
Hfocus.org

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST