READING

PM 2.5 ส่งผลต่อร่างกายเด็กอย่างไรบ้าง...

PM 2.5 ส่งผลต่อร่างกายเด็กอย่างไรบ้าง

เมื่อฝุ่น PM 2.5 ไม่เคยห่างหายไปจากอากาศที่พวกเราใช้หายใจได้นาน เครื่องกรองอากาศที่ซื้อติดบ้านไว้ตั้งแต่คราวก่อน เริ่มกลับมาแสดงค่าฝุ่นละอองในเกณฑ์น่าตกใจกันอีกครั้ง

ผู้ใหญ่อย่างเราอาจจะเริ่มมองเป็นเรื่องธรรมดา ฝุ่นละอองลอยมา เดี๋ยวถึงเวลาก็จางหายไปเหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่สำหรับเด็กๆ เรื่องฝุ่น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจ

วันนี้ M.O.M ขอนำเสนอ Infographic เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ และผู้ใหญ่อย่างเรามองเห็นภาพรวมของอันตรายจากฝุ่นละอองว่ามีผลต่อร่างกายของเด็กๆ อย่างไร จะได้ช่วยกันดูแลลูกหลานของเราให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 กันมากยิ่งขึ้น

จมูก

อวัยวะที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก เพราะเด็กๆ ต้องหายใจเอาอากาศที่เจือปนด้วยฝุ่นละอองและควันพิษเข้าสู่ร่างกาย อาการเบื้องต้นจะทำให้เด็กแสบจมูกเวลาหายใจ มีน้ำมูกไหล หายใจลำบาก ไอค่อกแค่ก และรู้สึกเจ็บคอ

ผิวหนัง

เด็กๆ ยังมีภูมิต้านทานน้อย หากฝุ่น PM 2.5 สัมผัสกับผิวหนังแล้ว ทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ อาจเกิดอาการผื่นคันได้

ตา

ถ้าฝุ่นละอองเข้าตา จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแดง แสบตา ตาไม่สามารถสู้แสงแดดได้ แล้วยังทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาแดง ต้อเนื้อ ต้อลม และตากุ้งยิงได้

สมอง

ฝุ่น PM 2.5 มีอนุภาคขนาดเล็กมากจนสามารถผ่านการกรองของร่างกายตามปกติ และเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง รวมถึงเข้าสู่สมองได้ เมื่อได้สมองมีการสะสมของฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณมาก จะทำเด็กมีผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการเด็กช้าลง มีปัญหาการได้ยิน การพูด และยังทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit) และภาวะออทิซึม (Autism) เพิ่มในเด็กสูงถึง 68%

ปอด

ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาพอมีแทรกตัวผ่านด้านต่างๆ มาจนถึงปอด หากสะสมอยู่ในภายในร่างกายไปนานเข้าจะเกิดเป็นโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคหอบหืด โรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ

หัวใจ 

เพราะมีขนาดเล็กมากจนทะลุผ่านกลไกร่างกายที่ธรรมชาติออกแบบมาได้อย่างง่ายดาย และแพร่กระจายเข้าสู่หลอดเลือดแดงที่ออกสู่หัวใจ

ในระยะสั้นๆ ที่ได้รับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย จะกระตุ้นให้ร่างกายเข้าใจว่าก้อนไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายจะแตก ทำให้รีบมีการส่งลิ่มเลือดมาอุดแผลไว้ แต่ปรากฎระบบกลไกลของร่างกายเข้าใจผิด ทำให้เส้นเลือดอุดตัน จนเกิดอาการแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หากได้สูดดมฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นระยะเวลายาวนาน เวลาหายใจเข้าไปแล้วฝุ่นเดินทางเข้าาสู่หลอดเลือด จะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือด และนำไปสู่อาการหลอดเลือดหัวใจตีบในที่สุด

หลอดเลือด

ฝุ่นละอองเล็กๆ ในหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอักเสบ และภาวะหลอดเลือดหดตัวได้

วิธีการดูแลและปกป้องร่างกายให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 

1. หลีกเลี่ยงไปในบริเวณที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินกว่ามาตรฐานหรือพยายามใช้เวลาอยู่ในพื้นที่นั้นให้น้อยที่สุด

2. สวมใส่หน้ากากอนามัย N95 อย่างถูกวิธี

3. เปิดเครื่องฟอกอากาศที่มี HEPA filter ก็ช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านหรืออาคารได้

4. ใส่แว่นตาป้องกันลมหรือฝุ่นละอองเข้าสัมผัสกับดวงตาโดยตรง

5. สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดผิวหนังได้มิดชิดมากขึ้น

 

 

 

 

อ้างอิง
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย เรื่อง ภัยในหน้าหนาวจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
โรงพยาบาลพญาไท 2
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
Rama Channel
JonesSalad
TQM
CMpublica
UNICEPThailand
Rakluke

Pitchaya T.

ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ที่ช่วยยืนยันว่ามนุษย์คนนี้คือเด็ก :)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST