READING

4 เคล็ดลับเชิงบวก รับมือกับพฤติกรรมไม่น่ารักของลูก...

4 เคล็ดลับเชิงบวก รับมือกับพฤติกรรมไม่น่ารักของลูก

พฤติกรรมไม่น่ารักของลูก

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงจะเคยมีวันที่ลูกแสนน่ารักของเราเกิดอยากจะออกฤทธิ์ออกเดช เปลี่ยนจากเด็กว่านอนสอนง่ายกลายเป็นเด็กดื้อแสนซน ใครพูดอะไรก็ไม่เชื่อ ห้ามอะไรก็ไม่ฟังขึ้นมาเฉยๆ

เวลาที่ลูกทำตัวไม่น่ารัก คุณพ่อคุณแม่หรือใครก็เอาไม่อยู่ จะใช้วิธีเด็ดขาดรุนแรงก็กลัวว่าลูกจะเสียใจ แต่ถ้าใจอ่อนเกินไปก็กลัวว่าลูกจะยิ่งดื้อและเอาแต่ใจตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ

แล้วจะทำยังไงกันดี?!

เรามีเคล็ดลับเชิงบวก ให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมไว้รับมือ พฤติกรรมไม่น่ารักของลูก อาจจะไม่เห็นผลทันทีทันใด แต่ผลลัพธ์ที่ได้รับรองว่าดีกับลูกอย่างยั่งยืนแน่นอนค่ะ

1. อย่าเอาแต่แก้ ต้องชื่นชมลูกด้วย

ชมด้วย

ให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าพฤติกรรมที่ไม่น่ารักของลูก คือสิ่งที่ลูกต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยแก้ไข เพราะเด็กๆ ย่อมอยากเป็นลูกที่น่ารักของคุณพ่อคุณแม่และเป็นที่รักของทุกคน ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ไขสถานการณ์หรือพฤติกรรมของลูกให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว อย่าลืมชื่นชมลูกบ้าง เพื่อให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่ดีใจและภูมิใจในตัวเขา ลูกจะได้มีกำลังใจในการปรับปรุงตัวเองต่อไปค่ะ

2. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น

Misbehavior_web_2

ท่าทีของคุณพ่อคุณแม่เมื่อพบเจอปัญหา หงุดหงิด อารมณ์เสีย หรือไม่พอใจ คือพฤติกรรมที่ลูกจะซึมซับและเข้าใจว่าตัวเองก็สมารถแสดงออกเช่นนั้นได้

ดังนั้นถ้าต้องการแก้ไขพฤติกรรมของลูก คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องปรับเปลี่ยนและระวังการแสดงออกของตัวเองด้วยเช่นกันค่ะ

3. ใช้วิธี Time-out อย่างเหมาะสม

time-out

ถึงแม้วิธี time-out จะช่วยให้ลูกได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เพื่อตั้งสติ และทบทวนการกระทำของตัวเอง

แต่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้วิธี time-out ในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น เช่น ใช้เมื่อต้องการให้ลูกหยุดแสดงพฤติกรรมไม่น่ารักและไม่ฟังใคร แต่ไม่ใช้เพื่อการลงโทษหรือทำให้ลูกรู้สึกกลัวการถูก time-out และไม่ทำให้ลูกรู้สึกกว่าการ time-out คือการถูกขับไล่ให้ลูกไปอยู่คนเดียว แต่ควรมีคุณพ่อคุณแม่คอยสังเกตการณ์อยู่ใกล้ๆ เพื่อรอเวลาที่ลูกพร้อมจะกลับมาพูดคุยกันด้วยเหตุผล

4. มีแผนล่วงหน้าให้ลูกรับรู้เสมอ

มีแผนล่วงหน้า

แผนล่วงหน้าในที่นี้คือการบอกให้ลูกรู้ว่าวันนี้เขาจะต้องเจอกับอะไรบ้าง เช่น วันนี้จะต้องไปโรงเรียนนะ หนูจะได้เจอกับคุณครู ได้เจอเพื่อนๆ และเพื่อนๆ บางคนเขาอาจจะเขาอาจจะอยากมาเล่นกับหนู ชวนหนูเล่น หรือบางคนเขาก็อาจจะยังไม่พร้อมเล่นกับหนู การบอกสถานการณ์ให้ลูกรู้ล่วงหน้า จะช่วยให้ลูกมีสติมากพอที่จะรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้

นอกจากจะบอกให้ลูกรู้แผนการล่วงหน้าแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังควรบอกให้ลูกรู้ว่าผลลัพธ์ของการแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักกับคนอื่น เช่น เช่น ถ้าลูกแย่งของเล่นในมือเพื่อน เพื่อนก็จะเสียใจและอยากเล่นกับคนที่ไม่แย่งของกันมากกว่า

อ้างอิง
uvpediatrics
positiveparentingconnection

Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

COMMENTS ARE OFF THIS POST