การศึกษาในยุคก่อน การเรียนรู้มักถูกยึดติดอยู่กับการนั่งฟังคำบรรยายในห้องเรียน ท่องจำเนื้อหา และทำข้อสอบเพื่อวัดผล
จึงเป็นที่มาของการเรียนรู้แบบ Project-Based Learning (PBL) หรือการเรียนรู้ผ่านโครงงาน ซึ่งเป็นแนวทางที่เน้นให้เด็กได้คิด ลงมือทำ และแก้ปัญหาจริง
Project-Based Learning ไม่เพียงช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจเนื้อหาอย่างลึกซึ้งได้จากประสบการณ์จริงเท่านั้น แต่ยังพัฒนาทักษะสำคัญอย่างการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม และการแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์ได้อีกด้วย
หากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่าทำไมวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการคิดและลงมือทำนี้ถึงได้รับความนิยม และจะช่วยให้เด็กเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรนั้น ลองมาทำความเข้าใจให้มากขึ้นไปพร้อมกันนะคะ
การเรียนรู้ผ่านโครงงานช่วยพัฒนาทักษะอะไรบ้าง ?

1. พัฒนา Critical thinking
เมื่อลูกเผชิญปัญหาระหว่างทำโครงการ ลูกจะพยายามคิดหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเองอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จึงช่วยเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล
2. กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
การทำโครงการที่ให้ลูกออกแบบ หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ จะฝึกให้ลูกใช้จินตนาการและฝึกคิดนอกกรอบ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญในอนาคตที่โลกจะเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
3. เสริมทักษะทำงานเป็นทีม
แม้จะเริ่มจากทีมเล็กๆ ในครอบครัว แต่การทำโครงการร่วมกันลูกจะได้เรียนรู้การฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และการทำงานเป็นทีม
4. พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี
ลูกจะได้ฝึกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีมาช่วยในการค้นคว้าหาข้อมูลทไโครงการ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะปัจจุบันทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีได้ ยิ่งใช้ได้หลากหลายและคล่องแคล่วก็จะยิ่งได้เปรียบ
5 สเต็ปที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มเองได้

1. เลือกโครงการที่น่าสนใจและเหมาะสมกับลูก
คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกโครงการที่เหมาะกับวัยและความสามารถของลูก หากเลือกโครงการที่ยากเกินไป อาจกดดันให้ลูกเกิดความเครียดได้ หรือหากเลือกโครงการที่ง่ายเกินไป ลูกก็จะไม่ได้พัฒนาทักษะเท่าที่ควร
2. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน
การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนช่วยให้ลูกรู้ทิศทางในการทำสิ่งต่างๆ เด็กๆ จะได้เรียนรู้การแบ่งงานเป็นขั้นตอนและติดตามความก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น เมื่อเห็นความสำเร็จเล็กๆ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกอยากทำต่อไปอีกด้วย
3. ให้ลูกลงมือทำด้วยตัวเอง
การให้ลูกลงมือทำโครงการด้วยตัวเองจะช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ลูกจะได้ฝึกการวางแผน การรับผิดชอบ การตัดสินใจด้วยตัวเอง ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจ เมื่อลูกต้องเผชิญกับอุปสรรคในอนาคต
4. สนับสนุนและแนะนำอย่างมีวิจารณญาณ
แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะสนับสนุนลูกให้ลงมือทำด้วยตัวเอง แต่ก็ยังคงต้องมีบทบาทในการให้คำแนะนำ เมื่อลูกต้องการคำปรึกษาหรือมีคำถาม การช่วยเหลือลูกอยู่ห่างๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของลูกอีกระดับ
5. สรุปผลโครงการ
หลังจากทำโครงการเสร็จแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกพูดสรุปความรู้ที่ได้เรียนรู้จากโครงการนั้นๆ โดยอาจจะถามคำถาม เช่น ลูกชอบอะไรที่สุดในโครงการนี้ มีอุปสรรคอะไรไหม หรือลูกคิดว่ามีอะไรใหม่ๆ ที่ลูกไม่เคยรู้มาก่อนบ้าง ซึ่งการสรุปผลการเรียนรู้จะช่วยให้เด็กๆ ได้คิดทบทวนสิ่งที่ทำไป และเข้าใจว่าการเรียนรู้ไม่ได้จบแค่การทำโครงการเสร็จสิ้น
ตัวอย่างโปรเจ็กต์ที่เหมาะกับลูกวัยก่อนเรียน

โปรเจ็กต์แต่งนิทานภาษาอังกฤษ
เป็นโปรเจ็กต์ที่เหมาะสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนที่กำลังเริ่มเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยให้เด็กๆ สร้างการ์ตูนสั้นที่มีการใช้ประโยคภาษาอังกฤษง่ายๆ ในการบอกเล่าเรื่องราว เด็กๆ จะได้ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารผ่านการคิดและการสร้างสรรค์ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกคิดเนื้อเรื่องหรือให้คำแนะนำเพิ่มเติม
ขั้นตอน:
1. คิดเรื่องราวตามจินตนาการ – เช่น ต้องการเล่าเรื่องการผจญภัยของสัตว์
2. คิดเหตุการณ์และบทสนทนาที่จะเกิดขึ้น – เด็กๆ จะต้องคิดคำพูดที่ใช้สื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษ
3. วาดภาพหรือใช้แอปพลิเคชัน – ให้เด็กๆ วาดภาพลงกระดาษหรือใช้แอปพลิชั่นวาดรูปง่ายๆ ในการสร้างภาพประกอบ
4. เล่าเรื่อง – เด็กๆ จะต้องเอานิทานที่แต่งเองมาเล่าเป็นภาษาอังกฤษให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง
โปรเจ็กต์นี้จะช่วยให้เด็กๆ ฝึกภาษาอังกฤษได้ในรูปแบบที่สนุกและสร้างสรรค์ โดยไม่รู้สึกเบื่อกับการท่องจำคำศัพท์ หรือการฝึกท่องประโยคแบบเดิมๆ ถือเป็นการเรียนรู้การเรียนรู้ผ่านโครงงานอย่างแท้จริง
COMMENTS ARE OFF THIS POST