การ ร้องไห้ ของลูกยังคงเป็นสิ่งเร้าและบีบหัวใจคนเป็นพ่อเป็นแม่ได้เสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ลูก ร้องไห้ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่รู้สาเหตุ ไม่เข้าใจว่าลูกต้องการอะไร ก็ยิ่งนำมาซึ่งความไม่สบายใจให้คุณพ่อคุณแม่ได้เสมอ
แต่สำหรับเด็กๆ แล้ว การร้องไห้ ก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารที่ทำได้ดีที่สุดในช่วงวัยนั้นๆ หากคุณพ่อคุณแม่หมั่นสังเกตพฤติกรรม และตั้งใจฟังเสียงร้องไห้ของลูกให้ดี ก็จะสามารถเข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกได้ ทำให้ลูกหยุดร้องได้อย่างรวดเร็วแต่ก่อนอื่น คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจคอนเซ็ปต์กว้างๆ ของการร้องไห้ของลูก ว่าส่วนใหญ่แล้วเด็กๆ มักร้องไห้ด้วยเหตุผลอะไรกันบ้าง เพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์และทำความเข้าใจลูกได้อย่างถูกต้องค่ะ
1. ลูกเริ่มหิว
ข้อสันนิษฐานแรกของคุณพ่อคุณแม่เมื่อลูกวัยทารกร้องไห้งอแงก็คือ ลูกหิวหรือเปล่า ซึ่งเป็นการสันนิษฐานที่มีความเป็นไปได้สูง เพราะการหิวและต้องการอาหารเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของทารก แต่เด็กตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยหัดเดิน ยังไม่มีวิธีการบอกว่าตัวเองเริ่มหิวให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ จึงส่งเป็นเสียงร้องไห้ออกมา
และเมื่อลูกเริ่มโต อาจจะมีบางวันที่ลูกใช้พลังงานหมดไปกับการเล่นสนุก ทำให้การร้องไห้เพราะหิวก็ยังคงเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรถาม
2. ลูกร้องไห้เพราะเหนื่อยเกินไป
บางครั้งลูกที่กำลังเล่นสนุกก็เริ่มขยี้ตา อ้าปากหาว และตามมาด้วยการร้องไห้งอแง อาจเป็นไปได้ว่าลูกร้องไห้เพราะเล่นจนเหนื่อยหรืออ่อนล้ามากเกินไป และต้องการที่จะพักผ่อน แต่สถานการณ์ช่างไม่เอื้ออำนวย เช่น ยังกลับไม่ถึงบ้าน ยังกินข้าวไม่เสร็จ หรือยังต้องรอคุณพ่อคุณแม่ทำอะไรให้เสร็จเสียก่อนวิธีที่จะช่วยจัดการความเหนื่อยล้าระหว่างวันของลูกได้ดี ก็คือการออกแบบกิจวัตรประจำวันของลูกให้เป็นเวลา และปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตของครอบครัว เช่น ให้ลูกเข้านอนและตื่นเป็นเวลา จัดสรรเวลานอนกลางวันให้เหมาะสม ไม่พาลูกออกจากบ้านหรือชวนทำกิจกรรมในช่วงเวลาพักผ่อนของลูกโดยไม่จำเป็น ก็จะช่วยลดอาการร้องไห้งอแงของลูกลงได้
3. มีสิ่งเร้ามากเกินไป
การเจอผู้คนมากมาย เจอสิ่งแวดล้อมแปลกใหม่ เจอคนที่ไม่รู้จัก ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กๆ ร้องไห้ได้เช่นกัน เพราะเด็กๆ อาจจะรู้สึกตกใจกับความวุ่นวายและอึกทึกมากเกินกว่าจะรับมือได้ จึงแสดงออกเป็นการร้องไห้ออกมานั่นเอง
วิธีที่ดีที่สุดคือหากต้องพาลูกไปพบสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรบอกให้ลูกรู้ตัวล่วงหน้าว่าวันนี้เขาจะต้องเจอกับอะไรหรือจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพื่อให้ลูกมีเวลาตั้งตัว และถ้ารู้สึกว่าลูกอึดอัดหรือไม่พร้อมกับสถานการณ์ตรงหน้า คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยให้ลูกผ่อนคลายได้ด้วยการพาออกมาหาที่เงียบสงบให้ลูกได้ตั้งสติสักครู่
4. ลูกเกิดความเครียด
ความเครียดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกร้องไห้ โดยเฉพาะในเด็กโตที่เริ่มเรียนรู้และเข้าใจอารมณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น การออกไปเจอโลกที่กว้างใหญ่กว่าครอบครัว การสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนและคุณครูในโรงเรียน การมีหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เด็กๆ จะรู้สึกเครียดและร้องไห้ออกมา
คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตว่าลูกมีเรื่องที่กังวลใจและทำให้รู้สึกเครียดมากน้อยแค่ไหน พร้อมทั้งคอยสอนให้ลูกรู้วิธีรับมือกับความเครียดนั้น เช่น การระบายให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยรับฟัง หรือทำกิจกรรมอื่นที่ช่วยลดความเครียด ก็จะช่วยลดการร้องไห้ที่เกิดจากความเครียดของลูกลงได้
COMMENTS ARE OFF THIS POST