READING

เรื่องลับๆ ของสมองเบบี๋ที่คุณพ่อคุณแม่อาจยังไม่รู้...

เรื่องลับๆ ของสมองเบบี๋ที่คุณพ่อคุณแม่อาจยังไม่รู้!?

สมองของเด็กในช่วงสามปีแรก เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของลูกได้ดีที่สุด

ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ให้เวลาและเห็นความสำคัญของการปลูกฝังให้ลูกได้เรียนรู้ในช่วงวัยนี้ สมองของลูกก็จะสามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ลูกเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยของตัวเอง

M.O.M จะพาไปรู้จักกับสมองของลูกน้อย เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่หาวิธีให้ลูกรักเติบโตไปพร้อมกับสมองที่มีประสิทธิภาพ

1. สมองเด็ก เริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ในท้องแม่

brainsecret_web_1

สมองของเบบี๋เริ่มพัฒนาหรือมีการสร้างเซลล์สมอง ตั้งแต่สองเดือนแรกในท้องคุณแม่ช่วงอายุครรภ์เข้าเดือนที่ 2-3 ลูกก็สามารถรับรู้รสชาติของน้ำคร่ำได้ พอเดือนที่ 4-6 สมองของลูกก็เริ่มควบคุมการขยับของร่างกายได้เล็กน้อย ซึ่งออกมาในรูปแบบการดิ้นนั่นเอง และช่วงเดือนที่ 7-9 สมองของลูกก็จะเริ่มมีรอยหยัก และสามารถจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้อีกด้วย

2. การสัมผัสช่วยพัฒนาสมองของลูกได้

brainsecret_web_2

การสัมผัส การกอด การให้ลูกดูดนม การทำให้ลูกหัวเราะ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการกระตุ้นให้เซลล์สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการสัมผัสจะไปกระตุ้นให้สมองส่วนไซแนปส์ (Synapse) หรือจุดประสานประสาท ช่วยให้เซลล์ในช่องว่างที่มีอยู่ในสมอง ทำให้เส้นใยประสาทในสมองแตกแขนงเพิ่มมากขึ้น

การเชื่อมต่อของไซแนปส์ (Synapse) สามารถเกิดได้สูงถึง 1,000 ล้านล้านครั้งในระยะเวลา 1-5 ปีแรก เพราะฉะนั้นช่วงวัยนี้จึงเป็นระยะเวลาที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ และสมองสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

3. สมองลูกพัฒนาตามการให้นมแม่

brainsecret_web_3

จากการวิจัยของ Lucas A และคณะ (1992) พบว่าการให้นมแม่กับทารกมีผลต่อสมอง โดยเฉพาะในด้านของภาษา ยิ่งให้นมแม่มากเท่าใดสมองของลูกก็จะยิ่งมีพัฒนาการมากขึ้นเท่านั้น

ในน้ำนมแม่อุดมไปด้วยน้ำตาลแล็กโทส (lactose) สูงกว่า เมื่อเทียบกับนมทั่วไป ซึ่งน้ำตาลแล็กโทสจะไปย่อยไปเป็นน้ำตาลกาแล็กโทส ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองนั่นเอง

4. ความเครียดจะขัดขวางการใช้สมองในการเรียนรู้

brainsecret_web_4

เวลาที่เด็กเครียด หรือได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจจนรู้สึกหวาดกลัว อาจแสดงออกด้วยพฤติกรรมต่างๆ เช่น ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าว ไม่มีสมาธิ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความฉลาด อารมณ์ และความจำ

เมื่อลูกมีภาวะเครียด ร่างกายจะผลิตสารเคมีที่ชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด ซึ่งสารนี้จะทำลายสมองส่วนคอร์เท็กซ์ (cortex) หรือเปลือกสมอง ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ

ความเครียดเหล่านี้จะส่งผลให้สมองส่วนนี้เล็กลง และอาจส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกน้อยได้

อ้างอิง
motherandcare
wikipedia
thairath

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST