READING

ลูกไม่สบาย: วิธีรับมือเมื่อลูกต้องแอดมิตที่โรงพยาบ...

ลูกไม่สบาย: วิธีรับมือเมื่อลูกต้องแอดมิตที่โรงพยาบาล

ลูกไม่สบาย

พอส่งลูกเข้าโรงเรียนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเริ่มทำใจว่าลูกในวัยอนุบาล มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วย ไม่สบายมากขึ้นตามไปด้วยและเมื่อ ลูกไม่สบาย บางครั้งก็สามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ แต่ก็มีความเจ็บป่วยในเด็กเล็กหลายอย่างที่จำเป็นต้องแอดมิตรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

และเมื่อลูกป่วยจนต้องแอดมิตทีไร ไม่ใช่แค่ลูกที่จะรู้สึกวิตกกังวล ไม่สบายใจ และหวาดกลัวคุณหมอหรือวิธีการรักษา แต่คุณพ่อคุณแม่เองก็พลอยรู้สึกเป็นห่วง กังวล จัดการอะไรไม่ถูก และไม่สบายใจตามลูกไปด้วย

แล้วคุณพ่อคุณแม่จะจัดการหรือรับมือได้อย่างไร เมื่อลูกต้องแอดมิตที่โรงพยาบาล เรามีวิธีรับมือง่ายๆ เอาไว้ใช้เป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ดังนี้ค่ะ

1. จัดการความเครียดของตัวเองก่อน

HospitalStay_web_1

#ให้เวลาตัวเอง Frank Sileo นักจิตวิทยาในริดจ์วูด รัฐนิวเจอร์ซีย์ และผู้เขียนหนังสือ When Your Child Has a Chronic Medical Illness: A Guide for the Parenting Journey (APA LifeTools Series) 

แนะนำว่า พ่อแม่ควรปล่อยให้ความรู้สึกกลัว กังวล หรือความรู้สึกต่างๆ ได้ทำงานอย่างเต็มที่ แต่ควรกำหนดเวลาในแต่ละวัน เช่น 10 นาที หรือ 15 นาที แล้วใช้เวลานั้นพูดหรือเขียนความกังวลของตัวเองออกมา ไม่ว่าจะมีคนรับฟังหรือไม่ แต่เมื่อครบเวลาแล้วก็ควรหยุดทันที

วิธีนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่แยกความเครียดที่รุนแรงออกจากความวิตกกังวลที่วนเวียนอยู่ได้ เมื่อหลุดออกจากความเครียด คุณพ่อคุณแม่ก็จะสามารถจัดการความรู้สึก และเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น

#เตรียมคำถามจดคำตอบ หากเกิดความกังวลเรื่องการรักษาหรืออาการของลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากหมอเจ้าของไข้ หรือขอคำแนะนำจากพยาบาลที่แวะเวียนมาวัดไข้ลูกได้เสมอ โดยอาจใช้วิธีจนบันทึกคำตอบไว้ เพื่อความสบายใจและไม่ต้องคอยถามซ้ำ ก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีข้อมูลสำหรับการดูแลลูกมากขึ้น

2. อยู่เคียงข้างกันเสมอ

HospitalStay_web_2

#บอกสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกอย่างตรงไปตรงมา คุณพ่อคุณแม่สามารถอธิบายเกี่ยวกัยการเจ็บไข้ได้ป่วยให้ลูกฟังอย่างตรงไปตรงมาได้

#คอยอยู่เคียงข้างกันเสมอ เมื่อ ลูกไม่สบาย ลูกอาจมีพฤติกรรมอ้อน ร้องไห้ หงุดหงิด งอแง และเอาแต่ใจมากขึ้น เพราะลูกกำลังรู้สึกไม่สบายตัวและกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากหวาดกลัว อยู่ในที่ที่ไม่คุ้นเคย  ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ จึงควรอยู่ใกล้ๆ ลูกเสมอ

#คุณแม่ต้องขอกำลังเสริมจากครอบครัว Taylor-Grace Freiberg ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวิตเด็กที่ผ่านการรับรองจาก Lucile Packard Children’s Hospital Stanford ให้คำแนะนำว่า คนที่ดูแลลูกเป็นหลัก หรือ คุณแม่ ก็ต้องมีกำลังเสริมให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณย่า คุณยาย หรือเพื่อนสนิท มาแตะมือให้คุณแม่ได้พักผ่อนบ้างเป็นครั้งคราว เพราะการปล่อยให้คุณแม่อยู่ดูแลลูกไม่สบายตามลำพังจะยิ่งสร้างความเครียดให้คุณแม่ได้

3. ปรับบรรยากาศห้องในโรงพยาบาลสักหน่อย

HospitalStay_web_3

#สร้างบรรยากาศใหม่ให้เหมือนบ้านหลังเล็ก ที่มีของเล่นชิ้นโปรด ข้าวของประจำตัว เช่น หมอนและผ้าห่มจากที่บ้าน โคมไฟหัวเตียง หรือหนังสือนิทานที่ลูกชอบอ่านก่อนนอน

4. บรรเทาความกลัวของลูกด้วยการเล่น

HospitalStay_web_4

#ชวนเล่นบทบาทสมมติ Wanjiku Njoroge ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ Young Child Clinic และผู้อำนวยการโครงการ Adolescent Psychiatry Fellowship ที่โรงพยาบาลเด็กแห่งฟิลาเดลเฟีย ระบุว่า ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีเผชิญหน้ากับความกลัว หรือสิ่งที่เด็กคิดว่าน่ากลัว ด้วยการชวนลูกเล่น โดยเฉพาะการเล่นบทบาทสมมติหรือจำลองสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า เช่น คุณแม่ลองเล่นเป็นพยาบาลที่เข้ามาเช็ดตัวลูก เพื่อทำให้ลูกดูว่าการเช็ดตัวต้องทำอย่างไร และไม่มีอะไรน่ากลัวสำหรับลูก

#เล่านิทานให้ลูกฟัง นิทานที่คุณแม่เล่าอาจเป็นเรื่องเดิมๆ ที่ลูกชอบ หรือแต่งขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตรงหน้า การอ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้ลูกฟัง จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของลูกความไม่สบาย ช่วยคลายความกลัวให้ลดน้อยลงได้

#กอดและปลอบโยนได้ผลดีเสมอ โดยเฉพาะเมื่อลูกกำลังหงุดหงิดงอแงเพราะรู้สึกไม่สบายตัว กังวล หรือหวาดกลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้น การโอบกอดและปลอบใจลูกจะช่วยให้ลูกมีกำลังใจและคลายความวิตกกังวลลงได้

อ้างอิง
verywellfamily
verywellfamily
UF Health, University of Florida Health

Saranya A.

ศรัญญา อ่าวสมบัติกุล: คุณแม่มือใหม่ ที่มีความตั้งใจเลี้ยงลูกชายตัวน้อยด้วยการยึดโยงธรรมชาติ และความคิดสร้างสรรค์เข้าด้วยกัน คุณแม่คนนี้หลงรักและทำงานด้านการเขียนมากว่า 12 ปี ตอนนี้มีความฝันอยากเป็นนักวาดนิทานเด็ก

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST