READING

5 วิธีปกป้องเบบี๋จากการเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือ ‘โ...

5 วิธีปกป้องเบบี๋จากการเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือ ‘โรคไหลตายในเด็ก (SIDS)’

โรคไหลตายในเด็ก

ทารกเป็นวัยที่ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะความบอบบางจึงสามารถมีอันตรายเกิดขึ้นกับทารกได้ตลอดเวลา แม้กระทั่งนอนหลับอยู่ก็ตาม

โรคไหลตายในเด็ก หรือการเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก (SIDS) คือการที่ทารกเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากการนอนหลับธรรมดา ซึ่งความน่าตกใจก็คือโรค SIDS เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆ ที่ทำให้เด็กทารกเสียชีวิต

โดยสาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะการให้ทารกนอนคว่ำ ทารกสูดดมควันบุหรี่จากคุณพ่อคุณแม่มากเกินไป ภาวะขาดอากาศหายใจ คลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่พันธุกรรมก็มีส่วนทำให้ทารกมีอาการของโรค SIDS ได้เช่นกัน

แต่แม้ โรคไหลตายในเด็กหรือ SIDS จะเป็นโรคที่มาจากหลายสาเหตุ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถปกป้องลูกน้อยให้พ้นหรือได้รับอันตรายจากโรคนี้ให้น้อยลงได้ด้วยการดูแลทารก ดังนี้

1. อย่าปล่อยให้ทารกนอนคว่ำ

SIDS_web_1

การให้เด็กทารกนอนคว่ำเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน เพราะการโดนกดทับบริเวณปอด และทารกก็อ่อนแอเกิดกว่าจะพลิกตัวหรือขยับร่างกายเพื่อให้ตัวเองหายใจได้สะดวก จนเกิดการเสียชีวิตได้

วิธีการที่ถูกต้องคือการให้ทารกนอนหงาย เพราะทำให้หายใจสะดวก สามารถนำเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เต็มที่ ช่วยให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่ายกายและจิตใจ

2. อย่าวางหมอน ตุ๊กตา หรือสิ่งของใดๆ บริเวณที่นอนลูก

SIDS_web_2

แม้ว่าหมอน ตุ๊กตา หรือผ้าห่มจะดูนุ่มนิ่มไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าสิ่งของพวกนี้เป็นต้นเหตุการเสียชีวิตของทารกมาแล้วหลายราย เพราะหมอนหรือตุ๊กตาอาจไปอุดและขัดขวางทางเดินหายใจของทารกได้

ดังนั้นนอกจากควรให้ลูกนอนในที่ที่ไม่มีสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายแล้ว แม้แต่เวลานอนคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยดูแลลูกน้อยให้อยู่ในสายตาเสมอ เพราะของใกล้ตัวลูกก็อาจทำร้ายลูกในเวลานอนได้อย่างคาดไม่ถึง

3. อากาศร้อนเกินไป

SIDS_web_3

อากาศที่ร้อนเกินไปก็อาจทำให้เด็กเกิดอาการ SIDS ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรตรวจสอบอุณหภูมิภายในห้องที่ลูกอยู่ รวมไปถึงการสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีเสมอ

4. นอนข้างๆ ลูกก็เสี่ยงอันตราย

SIDS_web_4

ไม่ใช่แค่สิ่งของ แม้แต่การมีคุณพ่อคุณแม่นอนอยู่ข้างๆ ก็อาจทำให้ทารกได้รับอันตรายได้ เช่น เผลอพลิกตัวเองมาทับตัวลูก ทำให้ลูกขาดอากาศหายใจได้

5. ให้ลูกดูดจุกนมหลอก

SIDS_web_5

ฟังดูเป็นเรื่องน่าประหลาดใจไม่น้อย แต่งานวิจัยพบว่าเด็กที่ดูดจุกนมหลอกมีแนวโน้มที่เขาจะเสี่ยงการเกิด SIDS น้อยลง โดยคาดว่าขณะดูดจุกนมอยู่นั้นสรีระของลิ้นเด็กจะชี้ไปข้างหน้าทำให้เปิดช่องการหายใจได้ และรับออกซิเจนได้ดีกว่าปกตินั่นเอง ที่สำคัญคือควรใช้ตอนที่ลูกกำลังหลับ และไม่ควรบังคับถ้าหากว่าลูกไม่ต้องการดูดนะคะ

อ้างอิง
parents
phyathai
fhs

Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

COMMENTS ARE OFF THIS POST