“ไปขอโทษซะ”
“ตั้งใจขอโทษหน่อย”
“ถ้าลูกไม่ไปขอโทษเดี๋ยวนี้ แม่จะไม่ให้ขนม”
คุณคุ้นเคยกับประโยคเหล่านี้ไหม มันแน่อยู่แล้วที่เราอยากให้ลูกมีมารยาทที่ดี เวลาทำอะไรผิดก็รู้จักขอโทษ ขอโทษจากใจ และรู้สึกผิดจริงๆ กับสิ่งที่ทำ และการที่เราบังคับให้ลูกพูดคำว่าขอโทษ นั่นหมายถึงเรากำลังสื่อสารกับลูกว่า
• แม่อยากให้ลูกขอโทษ เพื่อแม่จะได้รู้สึกดีขี้น
• การขอโทษคือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
• แม่ต้องการให้ลูกทำตามที่แม่บอก
• ลูกต้องคอยให้แม่บอกว่าลูกรู้สึกอะไร และต้องประพฤติตัวอย่างไร
• ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การขอโทษเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
แต่ในความเป็นจริง สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ข้อความที่เราสื่อสารออกไป
ใช่ มารยาทเป็นสิ่งสำคัญ และการขอโทษก็เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่เราจะทำอย่างไรให้ลูกรู้สึกว่าการขอโทษต้องออกมาจากใจจริง นั่นคือสิ่งที่สำคัญกว่า
การที่คุณบังคับให้ลูกพูดคำว่าขอโทษ ไม่ได้ช่วยให้ลูกเข้าใจถึงอารมณ์ของตัวเอง ไม่ได้ช่วยให้ลูกหาวิธีแก้ปัญหา
แล้วเราควรจะชี้นำลูกอย่างไรกันดี…
1. เป็นตัวอย่างที่ดี

คุณต้องเป็นตัวอย่างที่ดี แสดงถึงความจริงใจให้ลูกเห็นเวลาพูดว่าขอโทษ ไม่ใช่พูดๆ ไปอย่างงั้นให้เรื่องมันจบๆ
2. ให้ทางเลือกหรือไอเดีย

คุณอาจพูดกับลูกว่า “ลูกจะทำอะไรบ้างเพื่อให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้น” หรือ “ลูกจะบอกเพื่อนหรือแสดงให้เพื่อนเห็นว่าลูกเสียใจมากแค่ไหนได้อย่างไรคะ”
3. สังเกตเวลาลูกแสดงความเสียใจด้วยตัวเอง ว่าลูกแสดงออกอย่างไร แล้วพูดออกมาให้ลูกฟัง

ตัวอย่าง เช่น เมื่อลูกไปขอโทษเพื่อนด้วยการเอาของเล่นไปแบ่งให้เล่น คุณอาจพูดกับลูกว่า “ขอบคุณนะครับที่เอาของเล่นไปแบ่งให้เพื่อนเล่น แม่รู้ว่าลูกอยากให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้น และมันก็ดีมากเลยที่จะทำให้เพื่อนรู้ว่าลูกเสียใจมากแค่ไหน”
สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงความจำเป็นของการขอโทษอย่างจริงใจ แต่อย่างไรก็ตาม มันต้องใช้เวลา ความอดทน และการค่อยๆ ชี้แนะจากคุณพ่อคุณแม่เป็นสำคัญ!
NO COMMENT