READING

9 คำพูด toxic ที่ไม่ควรพูดเมื่อลูกทำผิด...

9 คำพูด toxic ที่ไม่ควรพูดเมื่อลูกทำผิด

คำพูด

เมื่อลูกเติบโตถึงวัยที่สามารถเข้าใจความหมายของคำและรับรู้อารมณ์ที่ซับซ้อนของผู้พูดได้มากขึ้น ช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่รวมทั้งผู้ใหญ่ใกล้ตัวลูกจึงควรระมัดระวังการใช้คำพูดและท่าทางเชิงลบกับลูก เพราะ คำพูด ที่คุณพ่อคุณแม่สื่อสารออกไปด้วยอารมณ์ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจสร้างบาดแผลในใจลูกได้โดยไม่รู้ตัว

ลองมาดูตัวอย่าง คำพูด หรือประโยคร้ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ แม้ในเวลาที่ลูกทำผิดก็ตาม

1. “ลูกทำตัวเหมือนพ่อ (หรือ) แม่ เลย!”

ลูกทำตัวเหมือนพ่อ

การต่อว่าลูกด้วยการบอกว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ดีเหมือนใครสักคนในบ้าน นอกจากไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น หรือไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมลูกในระยะยาวได้แล้ว ยังทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีและขาดความเคารพคนที่ถูกกล่าวถึง รวมถึงนึกโทษตัวเองที่เป็นต้นเหตุให้คุณพ่อหรือคุณแม่โดนต่อว่าไปด้วย

2. “ลูกนี่มันตัวปัญหาจริงๆ”

ตัวปัญหา

เด็กที่ได้ยินคำพูดลักษณะนี้จะรู้สึกเหมือนตัวเองถูกแปะป้ายว่าตัวเองคือตัวปัญหาของคุณพ่อคุณแม่ ทำให้ลูกขาดความมั่นใจในตัวเอง สูญเสียความเคารพตัวเอง ไม่กล้าคิดกล้าทำอะไรด้วยตัวเอง เพราะกลัวว่าจะสร้างปัญหาให้คุณพ่อคุณแม่ได้

หยุดร้องไห้

เด็กควรได้เรียนรู้อารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง ไม่ว่าจะดีใจ มีความสุข โกรธ หรือเสียใจก็ตาม การห้ามลูกไม่ให้ร้องไห้ หรือสั่งให้หยุดร้องไห้ทันที ทำให้ลูกต้องเก็บและกดความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ นานไปลูกจะกลายเป็นเด็กที่ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการปลอบและพูดกับลูกด้วยความเข้าใจ บอกลูกว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจความรู้สึกของเขาและพร้อมที่จะให้เวลาลูกจัดการกับความรู้สึกตัวเองเสมอ

4. “ลูกจะเรียนรู้ได้หรือยัง”

เรียนรู้หรือยัง

การทำผิดถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่มีการตอบสนองเมื่อลูกทำผิดพลาดอย่างไร

การถามด้วยอารมณ์ว่าลูกจะเรียนรู้ได้หรือยัง เป็นเหมือนการตอกย้ำและซ้ำเติมความผิดพลาดที่ลูกทำลงไป อาจทำให้ลูกรู้สึกอับอาย และไม่กล้าที่จะยอมรับความผิด แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ประโยคคำถาม เช่น  ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้อีก ครั้งต่อไปลูกจะทำยังไงดีคะ

5. รอให้พ่อ (หรือ) แม่กลับมาก่อนเถอะ!

รอแม่กลับมาก่อน

การตำหนิ ต่อว่า หรือลงโทษ ควรทำเพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าตัวเองควรหรือไม่ควรทำอะไร โดยไม่ต้องรอเวลาหรือใช้การขู่ว่าจะให้ใครเป็นคนกลับมาทำโทษลูกซ้ำอีก เพราะการขู่ลูกว่ารอให้คุณพ่อหรือคุณแม่กลับลงโทษ จะทำให้ลูกรู้สึกหวาดกลัวว่าโทษที่ตัวเองจะได้รับอาจรุนแรงมากขึ้น และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่สามารถให้อภัยเขาได้

นอกจากนี้ยังทำให้มีลูกเข้าใจว่าคุณพ่อหรือคุณแม่เพียงคนเดียวไม่สามารถจัดการและรับมือกับปัญหาของลูกได้

6. ลูกก็ทำได้นี่ แล้วทำไมไม่ทำแบบนี้แต่แรก

ทำไมไม่ทำ

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ต้องการกล่าวชื่นชมลูก แต่ก็อดไม่ได้ที่จะแฝงคำพูดเชิงลบหรือวิพากษ์วิจารณ์ลูกผ่านคำชมนั้น แต่นั่นกลับไม่ใช่ทั้งคำชื่นชมหรือคำสอนที่ดีสำหรับลูกเลย เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกว่ากำลังถูกเหน็บแหนมมากกว่าการชื่นชมหรือให้กำลังใจจริงๆ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการชื่นชมลูก ก็ให้ชื่นชมลูกด้วยความจริงใจ ไม่จำเป็นต้องหยิบยกเรื่องเก่าหรือสิ่งที่ลูกเคยทำผิดพลาดมาเปรียบเทียบให้ลูกรู้สึกไม่ดีนะคะ

7. “จะต้องให้บอกอีกกี่ครั้ง!”

ต้องให้บอกอีกกี่ครั้ง

คุณพ่อคุณแม่อาจเหลืออดและคิดว่าตัวเองเคยพูดเคยบอกลูกด้วยประโยคซ้ำๆ หลายร้อยหลายพันครั้ง แต่การใช้อารมณ์ถามลูกว่า “จะต้องให้บอกอีกกี่ครั้ง!”  มันช่างทำให้ลูกรู้สึกแย่ คิดว่าตัวเองไม่เคยทำอะไรถูกใจคุณพ่อคุณแม่ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ ลองเปลี่ยนเป็นบอกลูกว่า แม่เคยบอกลูกว่าอย่างนี้ใช่ไหมคะ หรือเปลี่ยนเป็นใช้การขอความช่วยเหลือจากลูก เช่น ลูกพอจะช่วยแม่อีกครั้งได้ไหม การพูดลักษณะนี้จะทำให้ลูกรู้สึกอยากให้ความร่วมมือกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น

8. “ผิดหวังในตัวลูกมาก”

ผิดหวังในตัวลูก

เด็กๆ ย่อมต้องการการยอมรับจากคนรอบตัว โดยเฉพาะจากคุณพ่อคุณแม่ การที่คุณพ่อคุณแม่บอกเขาว่าผิดหวังในตัวเขา เท่ากับเป็นการทำลายเกราะแห่งความมั่นใจและการเคารพตัวเองในตัวลูกให้หมดไป

9. “เคยเตือนแล้วใช่ไหม!”

เคยเตือนแล้วใช่ไหม

เมื่อลูกทำผิดพลาด สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการปลอบใจ ให้กำลังใจ และสัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน เพื่อให้ลูกรู้สึกมีความหวังที่จะพยายามทำให้ดีขึ้น และยังทำให้ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกไม่สั่นคลอนอีกด้วย

อ้างอิง
verywellfamily
news24
fatherly

Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST