ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีของสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจำวันของพวกเราเป็นอย่างมาก ที่มากไปกว่านั้น การเรียนการสอนในสมัยนี้ยังได้มีการผลักดันให้แท็บเล็ตกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการศึกษา
แต่คุณรู้ไหมว่า…
เด็ก 0-2 ขวบ ไม่สามารถแปลงเสียงและภาพที่เห็นและได้ยินจากหน้าจอให้กลายเป็นความรู้ที่นำมาพัฒนาได้ ทั้งที่เป็นช่วงเวลาที่สมอง ร่างกาย ภาษา ความฉลาด และอารมณ์ของเด็ก จะพัฒนาได้เร็วที่สุด เด็กในช่วงนี้จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านการลองผิดลองถูก โดยมีผู้ใหญ่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
เด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบมีอัตราการดูสื่อผ่านหน้าจอมากขึ้นเรื่อยๆ
จากผลการศึกษาของ Dr. Veerasak Cholajaya, หัวหน้าแผนกการพัฒนาและการเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า 99.7% ของเด็กตั้งแต่ 1.5–12 เดือน ใช้เวลาดูหน้าจอเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวัน และเพิ่มเป็น 5 ชั่วโมง เมื่อเด็กอายุ 18 เดือน
การดูสื่อผ่านหน้าจอจะมีผลกระทบต่อสมองและการพัฒนาของเด็ก
จากการวิจัยยังพบอีกว่าเด็กที่ดูสื่อผ่านหน้าจอเป็นเวลานาน จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่างๆ ช้าลง แถมยังมีผลกระทบกับระดับความสำเร็จในด้านการศึกษา อาชีพ ครอบครัว และ สังคมอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเด็กได้ดูสื่อที่มีความรุนแรง จะทำให้เด็กมีปัญหาด้านการนอน และมีพฤติกรรมรุนแรง ผลการศึกษาจากเนเธอร์แลนด์ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ยิ่งเด็กดูสื่อที่มีความรุนแรงนานมากเท่าไร เด็กจะมีโอกาสเป็นสมาธิสั้นได้มากเท่านั้น
สาเหตุของการที่เด็กบริโภคสื่อมากเกินไป
มีหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กบริโภคสื่อมากเกินไป แต่โดยหลักๆ แล้วจะมาจากตัวเด็ก ยิ่งเด็กบริโภคสื่อมากเท่าไรเด็กก็จะเกิดอาการติดเพราะว่ามันสนุก ส่วนอีกปัจจัยก็คือพ่อแม่ที่มักจะดูมือถือตลอดเวลา ทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง
เด็กควรจะดูหน้าจอได้เมื่อไร
- ตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป
- ช่วงอายุ 2-5 ขวบ ควรดูไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
- เลือกรายการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
- ไม่ให้ลูกดูหน้าจอเพียงลำพัง
- หลีกเลี่ยงการดูหน้าจอก่อนเวลานอน
COMMENTS ARE OFF THIS POST