READING

5 สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดื้อต่อต้าน...

5 สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดื้อต่อต้าน

stubborn

ความดื้อเป็นหนึ่งในพัฒนาการตามช่วงวัยของเด็ก โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อน 6 ปี ที่มักแสดงแสดงอาการต่อต้าน เพื่อทดสอบศักยภาพของตัวเอง และทดสอบกรอบหรือขอบเขตที่คุณพ่อคุณแม่กำหนดไว้ไปในคราวเดียวกัน

แต่เมื่อลูกโตพอที่จะเรียนรู้และเข้าใจคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น รู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ ในสถานการณ์ไหน อาการดื้อที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการก็ควรจะลดน้อยลงไปด้วย

ในทางกลับกัน หากยิ่งโต ลูกยิ่งมีอาการและพฤติกรรมดื้อและต่อต้านมากขึ้น นอกจากความดื้อตามธรรมชาติของช่วงวัยแล้ว การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ก็ส่งผลให้ลูกกลายเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้านมากขึ้นได้เช่นกัน

1. ลูกไม่ได้รับการชื่นชมหรือกำลังใจเมื่อทำในสิ่งที่เหมาะสม

stubborn

ธรรมชาติของเด็กคือต้องการยอมรับจากคุณพ่อคุณแม่มากกว่าใคร โดยเฉพาะในเวลาที่ลูกตั้งใจทำตัวดี เป็นเด็กที่น่ารัก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะต้องการได้รับคำชมและกำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่

แต่หากคุณพ่อคุณแม่เมินเฉย ไม่สนใจ หรือไม่ให้คุณค่ากับสิ่งที่ลูกทำ อาจทำให้ลูกพยายามเรียกร้องความสนใจไปในทางตรงข้าม เช่น ดื้อมากขึ้นและงอแงมากขึ้นได้

2. ลูกไม่ได้รับการสอนว่าพฤติกรรมที่ดีคืออะไร

stubbornchild_web_2

บางครั้งที่ลูกดื้อหรือเล่นซน จนสร้างความไม่สบายใจให้คุณพ่อคุณแม่ อาจเป็นเพราะลูกยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ และยังไม่รู้ถึงผลของการกระทำนั้นๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนลูกให้รู้จักแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิด เมื่อเห็นว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ควรเข้าไปพูดคุยและตักเตือนในทันที เพื่อให้ลูกเข้าใจและไม่ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก

3. ลูกอาจจะเลียนแบบจากพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่

stubbornchild_web_3

หากคุณพ่อคุณแม่ลองย้อนกลับมามองพฤติกรรมของตัวเอง อาจพบว่าเวลาที่ลูกอารมณ์เสียแล้วพูดจาเสียงดัง เถียง ต่อต้าน ขว้างปา และทำลายข้าวของ อาจเป็นพฤติกรรมเดียวกับที่คุณพ่อคุณแม่ลืมตัว และทำให้ลูกเห็น เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าพอใจเช่นกัน ดังนั้น หากอยากเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเชื่อฟัง ก็ต้องระวังพฤติกรรมของตัวเอง ไม่ให้เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีของลูกด้วย

4. ลูกอาจจะกำลังรู้สึกโกรธ เศร้า กังวล หรือไม่สบายใจ

stubbornchild_web_4

เมื่อลูหมีความรู้สึกที่ไม่ดีบางอย่างเกิดขึ้นในใจ แต่ด้วยช่วงวัยที่ยังเด็กเกินไป ทำให้ลูกไม่รู้ว่าจะรับมือและอธิบายความรู้สึกของตัวเองได้อย่างไร จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าว ทำร้ายคนอื่น และทำลายข้าวของ

หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี ก็ควรเข้าไปให้คำปรึกษาและพูดคุยกับลูก และเปิดโอกาสให้ลูกได้ระบายความรู้สึกของตัวเองออกมา ก็จะช่วยลดพฤติกรรมต่อต้านและก้าวร้าวของลูกลงได้ค่ะ

5. ลูกมีความรู้สึกกดดันทางอารมณ์ (Emotional Stress)

stubbornchild_web_5

บางครั้งพฤติกรรมดื้อต่อต้านของลูก อาจมาจากการที่คุณพ่อคุณแม่กดดันลูกมากเกินไป เช่น กดดันให้ลูกเรียนหนังสือจนไม่มีโอกาสทำในสิ่งที่ชอบ ทำให้ลูกเกิดความเครียด อึดอัด และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมดื้อต่อต้านได้

อ้างอิง
navavej
phyathai
dmh

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST