READING

เลี้ยงลูกแบบสวีเดน ประเทศต้นแบบแห่งการใช้ชีวิต...

เลี้ยงลูกแบบสวีเดน ประเทศต้นแบบแห่งการใช้ชีวิต

หากพูดถึงประเทศที่มีรัฐสวัสดิการที่ดี โดยเฉพาะสวัสดิการเกี่ยวกับครอบครัว และการศึกษาสำหรับเด็กๆ คงไม่พ้นที่จะนึกถึงหลายๆ ประเทศในแถบทวีปยุโรปเหนือ

และประเทศสวีเดน ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ทั้งระบบการศึกษา สาธารณะสุข เศรษฐกิจ ความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิมนุษยชน ฯลฯ และได้รับการพูดถึงในฐานะประเทศต้นแบบที่ประเทศอื่นควรปฏิบัติพัฒนาตามอยู่บ่อยครั้ง

แต่การจะพัฒนาประเทศให้เจริญและมีประชากรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น พื้นฐานก็เริ่มมาจากหน่วยเล็กที่สุดในสังคม ก็คือการพัฒนาคุณภาพของประชากรในประเทศ ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงดูภายในครอบครัว

เราตามมาดูกันดีกว่า แนวความคิดในการเลี้ยงลูกของสวีเดนนั้นโดดเด่นอย่างไร และคุณพ่อคุณแม่อย่างเราสามารถนำมาปรับใช้กับลูกๆ ได้อย่างไรกันบ้าง

1. ไม่ลงโทษเด็กด้วยการตี

SwedenParenting_web_1

ตั้งแต่ปี 1979 สวีเดนนับว่าเป็นประเทศแรกที่ทำให้การตีเด็กนั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย มีหลายงานวิจัยที่ต่างก็ระบุว่าการลงโทษเด็กด้วยการตีมีผลเชิงลบมากกว่าเชิงบวก เพราะนอกจากเป็นการทำร้ายร่างกายแล้ว ยังเป็นการทำร้ายจิตใจเด็กอย่างฝังรากลึกลงไปแม้ในวันที่พวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม

2. ไม่ตีกรอบเกี่ยวกับเพศของลูก

SwedenParenting_web_2

ที่ประเทศสวีเดน เด็กจะถูกปฏิบัติเหมือนกันโดยไม่มีการแบ่งแยกชายหญิง ไม่มีการใช้คำนำหน้าชื่อ เด็กชายหรือเด็กหญิง และในโรงเรียนบางแห่ง ยังไม่มีการแยกห้องน้ำระหว่างชายหญิงอีกด้วย

จึงไม่น่าแปลกใจที่โรงพยาบาลในประเทศสวีเดนมักจะไม่ค่อยบอกเพศของลูกให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่รู้ล่วงหน้า เพราะค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับเด็กอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรก็ตาม

3. สนับสนุนสถานรับเลี้ยงเด็ก (Day Care)

SwedenParenting_web_3

รัฐบาลประเทศสวีเดนให้เงินสนับสนุนสำหรับเด็กที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ที่ Day Care เพื่อช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ให้ยังสามารถออกไปทำงานของตัวเองได้อย่างไร้กังวล และมั่นใจว่าลูกจะได้รับการดูแลจากสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ และยังทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การปรับตัวและเข้าสังคมตั้งแต่ยังเล็กอีกด้วย

4. คุณพ่อมีสิทธิลาคลอดได้เท่ากันกับคุณแม่

SwedenParenting_web_4

กฎหมายแรงงานของประเทศสวีเดนอนุญาตให้คุณพ่อมีวันลาเพื่อมาดูแลลูกได้เป็นระยะเวลานานเท่ากับคุณแม่ได้นานถึง 480 วัน หรือ 16 เดือน โดยได้รับค่าจ้างเพื่อเลี้ยงดูลูก คุณพ่อและคุณแม่จะได้รับวันลาคนละ 3 เดือน ส่วนอีก 10 เดือนที่เหลือสามารถแบ่งกันได้ตามความพอใจ

 

 

อ้างอิง
weforum
brandthink
scholarship

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST