ตัวช่วยสำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่มาถึงแล้ว! ตั้งแต่เริ่มแรกว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ให้เจ้าตัวเล็กที่จะคัมมิ่งทูทาวน์ในอีกไม่ถึงปีข้างหน้านี้ ซึ่งช่วงเตรียมตัวก่อนตั้งท้องสักสองเดือนนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเลือกโรงพยาบาลและคุณหมอที่มั่นใจและเชื่อถือได้ไว้ก่อน เพื่อตรวจสุขภาพของทั้งคู่ก่อน หรือจะลองใช้แอปฯ (อ่านเพิ่มเติม คลิก) นับสเปิร์มของคุณพ่อดูก่อนก็ได้ เพราะทั้งคุณพ่อและคุณแม่ก็มีส่วนในการตั้งครรภ์เช่นกัน (อ่านเพิ่มเติม คลิก) และอย่าลืมปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสก่อนตั้งครรภ์ด้วยนะคะ
ทีนี้มาดูกันว่าหลังจากนั้นคุณแม่คุณพ่อจะต้องเตรียมทำอะไรบ้าง เพื่อรักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แฮปปี้กันไปยาวๆ จนถึงวันคลอด มาดูกันเลย
ก่อนท้อง 2 เดือน สำหรับคุณแม่ที่เตรียมจะมีลูก
ซึ่งช่วงเตรียมตัวก่อนตั้งท้องสักสองเดือนนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเลือกโรงพยาบาลและคุณหมอที่มั่นใจและเชื่อถือได้ไว้ก่อน เพื่อตรวจสุขภาพของทั้งคู่ก่อน หรือจะลองใช้แอปฯ (อ่านเพิ่มเติม คลิก) นับสเปิร์มของคุณพ่อดูก่อนก็ได้ เพราะทั้งคุณพ่อและคุณแม่ก็มีส่วนในการตั้งครรภ์เช่นกัน (อ่านเพิ่มเติม คลิก)
ก่อนท้อง 1 เดือน สำหรับคุณแม่ที่เตรียมจะมีลูก
อย่าลืมปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสก่อนตั้งครรภ์ด้วยนะคะ
ทีนี้มาดูกันว่าหลังจากนั้นคุณแม่คุณพ่อจะต้องเตรียมทำอะไรบ้าง เพื่อรักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แฮปปี้กันไปยาวๆ จนถึงวันคลอด มาดูกันเลย
Week 1
– ปรึกษาแพทย์เรื่องฉีดวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR), ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
– เช็กประกันสุขภาพของตัวเองและสามี
– ตรวจโรคทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมอื่นๆ
– เริ่มกินวิตามินบำรุงสำหรับคุณแม่ที่ต้องการจะตั้งครรภ์
– ทานอาหารที่ช่วยเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์
– เลิกบุหรี่ และหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งหมด
Week 2
– ลดปริมาณกาเฟอีนที่กินในแต่ละวัน
– ปรึกษาคุณหมอเรื่องการใช้ยา เลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ ที่ปลอดภัยสำหรับคนท้องเท่านั้น
– กินอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณพอเหมาะ
– อย่าออกกำลังกายหนักเกินไป
Week 3
– มองหาสัญญาณการตั้งครรภ์ เช่น เจ็บหน้าอก เป็นตะคริว เมื่อยล้า ท้องอืด ท้องผูก อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เหมือนช่วงประจำเดือนจะมา
– เตรียมเครื่องตรวจครรภ์
Week 4
– พอประจำเดือนขาดปุ๊บ ก็ใช้เครื่องตรวจครรภ์ได้เลย หากขึ้นสองขีด แม้จะจางๆ ก็แสดงว่าคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วแน่นอน
– บอกข่าวดีกับสามีได้!
– นัดคุณหมอเพื่อตรวจและฝากครรภ์
Week 5
– เริ่มอ่านหนังสือหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์
– จดบันทึกรายวันถึงอาการ หรือคำถามที่เกิดขึ้น
– เข้าร่วมกรุ๊ปไลน์ กรุ๊ปเฟซบุ๊ก ที่สมาชิกเป็นคนตั้งท้องวัยเดียวกัน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือขอความช่วยเหลือกับคนที่เข้าใจเราแน่นอน
– ดื่มน้ำให้เพียงพอ
– ปรึกษาประกันสุขภาพ และศึกษาสิทธิต่างๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะได้รับ หรือคิดเรื่องเปิดบัญชีออมทรัพย์ให้ลูกน้อย (ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก)
Week 6
– เริ่มบอกข่าวดีกับคนในครอบครัว
– ให้คุณสามีเป็นคนดูแลเรื่องความสะอาดของสัตว์เลี้ยง
– ทดลองบรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยวิธีการต่างๆ (อ่าน 10 วิธีเอาชนะอาการแพ้ท้อง)
– ตัดสินใจว่าพอใจกับคุณหมอคนปัจจุบันหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ได้เวลาสำหรับการมองหาคุณหมอคนใหม่แล้ว
Week 7
– เริ่มจัดตารางเวลาและเตรียมตัวเข้ารับการตรวจครรภ์
– รวบรวมคำถามที่อยากรู้ไปถามคุณหมอ
– โละผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีอันตรายเป็นส่วนประกอบ
– เตรียมซื้อเสื้อผ้าสำหรับคนท้อง เพื่อไม่ให้เสื้อผ้าประจำวันต้องยืดก่อนเวลาอันควร
Week 8
– ซื้อชุดชั้นในใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบราสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือบราที่ขนาดใหญ่ขึ้นและนุ่มกว่าเดิมก็ได้ทั้งนั้น
– ออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ เป็นประจำทุกวันเบาๆ วันละอย่างน้อย 30 นาที เช่น ท่าสควอต จะช่วยให้คลอดง่ายขึ้น
– ถ้าเริ่มมีอาการจุกเสียด ให้ปรึกษาคุณหมอเรื่องการใช้ยาลดกรด
Week 9
– ทำ to-do-list วางแผนสิ่งที่ต้องสะสางให้เรียบร้อยก่อนวันคลอด
– เช็กและเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ้าน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารอันตราย
– กินผักและผลไม้ให้เพียงพอ
Week 10
– ใช้วิธีธรรมชาติแก้ปัญหาอาหารไม่ย่อย เช่น ดื่มน้ำขิง หรือเดินไปเดินมาหลังมื้ออาหาร
– ชอปปิ้งชุดคลุมท้อง
– ศึกษานโยบายการลาคลอดของบริษัท
– หากคุณแม่เคยผ่าคลอดมาก่อน แต่ท้องนี้ต้องการคลอดธรรมชาติ ก็เริ่มปรึกษาคุณหมอไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
Week 11
– ทาครีมบำรุงหน้าท้อง สะโพก และต้นขาเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันอาการคันหรือผิวแห้งแตก (6 ไอเท็มความงามที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด)
– หลีกเลี่ยงการใช้อ่างอาบน้ำร้อน ห้องซาวน่า ห้องอบไอน้ำ การออกกำลังกายกลางแดดหรืออากาศร้อนๆ รวมถึงกิจกรรมที่จะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 39 องศาเซลเซียส
– หากคุณหมอไม่ขัดข้อง ให้คุณแม่ขอตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ด้วยวิธี NT Scan (การอัลตราซาวนด์เพื่อดูความใสของเนื้อเยื่อท้ายทอยของทารก) หรือ CVS (การนำเซลล์จากเนื้อเยื่อรกที่เกาะกับผนังมดลูกไปตรวจ)
– ฟังการเต้นของหัวใจของลูกน้อยด้วยวิธี Doppler Ultrasound ตามที่แพทย์นัด
Week 12
– เริ่มต้องมีหมอนมารองรอบตัวคุณแม่ตอนนอน
– อย่าลืมยืดเส้นยืดสายหรืออบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง เพราะตอนนี้เอ็นและข้อต่อของคุณแม่ไม่ได้กระชับเหมือนปกติ
– ถ้าท้องลูกแฝด คุณหมออาจตรวจพบลูกอีกคนในการอัลตราซาวนด์ครั้งหน้า
Week 13
– มาตั้งชื่อลูกกันเถอะ
– เริ่มนอนตะแคง
– กินอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ เพื่อป้องกันอาการจุกเสียด
Week 14
– บอกข่าวดีกับเพื่อนๆ และที่ทำงานได้แล้วว่าคุณกำลังจะมีลูก
– ถ้าอยากเก็บรูปถ่ายของตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ ก็น่าจะเริ่มที่ช่วงสัปดาห์นี้
Week 15-16
– ลองเข้าคลาสโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
– ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงด้วยการบริหารกระดูกเชิงกราน
https://www.youtube.com/watch?v=yss6RJlnUmA
– ถ้าคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี อาจต้องวางแผนการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสภาวะของทารกในครรภ์ (Amniocentesis)
– ปรึกษาคุณหมอเรื่องการตรวจหาสารเคมีในเลือด (Quad Test)
– ร่างกายคุณแม่ต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ
Week 17
– ต่อสู้กับ ‘ความขี้ลืมของคนตั้งครรภ์’ ด้วยการจดบันทึก
– ดูแลตัวเองด้วยการนวดก่อนคลอด
– เข้าคลาสเตรียมเป็นคุณแม่ การช่วยชีวิตทารกเบื้องต้น การให้นมลูกในกรณีคลอดก่อนกำหนด หรือการดูแลเด็กแรกเกิด (30 โรงพยาบาลใจดีที่มีคอร์สอบรมฟรีๆ สำหรับนิวมัมนิวแด๊ด)
– เตรียมสเปรย์เกลือแร่หรือเครื่องเพิ่มความสดชื่น เพื่อช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์
Week 18
– หาเบาะรองหลังเวลานั่งหรือเก้าอี้รองฝ่าเท้า เพื่อบรรเทาอาการปวดหลัง
– ช่วงนี้อาจได้รู้เพศของลูกในท้องจากการอัลตราซาวนด์
Week 19
– มองหาเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ต้อนรับลูกน้อย
Week 20-21
– เริ่มวางแผนชีวิตหลังมีลูกกับคุณสามีอย่างจริงจังได้แล้ว
– หารองเท้าพื้นเรียบหรือรองเท้าที่ใส่สบายมาใส่แทนรองเท้าส้นสูง
– รู้อาการและความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ เพื่อป้องกันและแก้ไขได้ถูกทาง
– จัดการพื้นที่ในบ้านให้เหมาะกับการมีทารกเป็นสมาชิกใหม่
Week 22-23
– เพื่อความรื่นเริง วางแผนจัดปาร์ตี้รับขวัญลูกน้อยกันดีกว่า
– หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง หรือนั่งและยืนนานๆ เพราะจะทำให้เลือดไปสะสมที่ต้นขาและกลายเป็นเส้นเลือดขอด
– ชอปปิ้งชุดคลุมท้องเพิ่มอีกหน่อย
– ตั้งชื่อจริงและชื่อเล่นให้ลูกแบบจริงจังได้แล้ว
Week 24
– ถ้าคุณแม่ยังตั้งใจว่าจะทำงานประจำเหมือนเดิม อาจต้องมองหาเนิร์สเซอรี่หรือพี่เลี้ยงเด็กเอาไว้บ้าง
– เข้ารับการทดสอบเบาหวานขณะตั้งครรภ์
Week 25
– อัปเดตหรือจัดการทำประกันชีวิตของคุณใหม่ หรือมองหาคนที่จะดูแลลูกแทนได้หากเกิดเหตุฉุกเฉิน
– วางแผนและเตรียมตัวหากเกิดเหตุจำเป็นที่ต้องคลอดก่อนกำหนด
Week 26
– ถ้าอยากไปเที่ยวก่อนคลอด ควรไปในช่วงสัปดาห์นี้ เพราะหลังจากนี้คุณแม่ไม่ควรเดินทางไกลแล้ว
Week 27
– จัดห้องให้ลูก
– ศึกษาเรื่องการเก็บสเต็มเซลล์ของลูกน้อย
Week 28
– เริ่มไปพบคุณหมอทุกสองสัปดาห์
– ตรวจสอบความปลอดภัยของบริเวณบ้าน เช่น พื้นห้องน้ำ ปลั๊กไฟ หรือประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย
– ลูกเริ่มดิ้นจนรู้สึกได้จากการสัมผัสภายนอก ไม่เชื่อลองเรียกคุณพ่อมาจับท้องเวลาลูกดิ้นดู
– ถอดเครื่องประดับประจำตัวที่มีปลายแหลมหรือคมออกจนกว่าจะคลอดลูก
Week 29
– เริ่มชอปปิ้งของรับขวัญเจ้าตัวน้อย
– กินอาหารที่มีไฟเบอร์ให้มาก เพื่อป้องกันอาการท้องผูกและริดสีดวงทวาร
Week 30
– สังเกตการดิ้นหรือเตะของลูกมากขึ้น
– แพ็กกระเป๋าไปโรงพยาบาลสำหรับคุณแม่และคุณพ่อคนละใบ
– ศึกษาอาการปากมดลูกเปิดของคนใกล้คลอดเอาไว้เพื่อสังเกตตัวเอง
– บริหารร่างกายในท่าที่จะช่วยให้คลอดลูกได้สะดวก (ท่าที่บริหารอุ้งเชิงกราน)
Week 31
– กินอาหารที่มีธาตุเหล็กเยอะๆ (เช่น ผักโขม ถั่ว ปลา เป็นต้น)
– วางแผนลาคลอด
– เตรียมเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นและกรณีฉุกเฉิน
Week 32
– หาคนดูแลบ้านหรือสัตว์เลี้ยง ในวันที่คุณแม่ต้องไปคลอด
– ตัดผมไว้เลยก็ดี เพราะถ้าลูกคลอดออกมาแล้ว คุณแม่อาจจะไม่มีเวลาออกไปเสริมสวยได้ง่ายๆ
– เตรียมพื้นที่เลี้ยงเด็กทารกให้เรียบร้อย
– หลังจากนี้ คุณแม่ต้องไปพบคุณหมอทุกสัปดาห์แล้ว
Week 33
– ทำความสะอาดบ้านและรถเตรียมรับลูกน้อย
– ติดตั้งคาร์ซีตให้พร้อมใช้งาน และวางแผนเส้นทางไปโรงพยาบาลให้ดี
Week 34
– เตรียมหาประกันสุขภาพเพื่อลูกน้อย
Week 35
– เช็กว่าซื้อของใช้ที่จำเป็นสำหรับลูกครบหรือยัง (ของฝาก (คุณแม่) นักชอป ต้องมีไหมไอเท็มนี้?)
Week 36
– กำหนดแผนวันคลอดให้เรียบร้อย
– พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
Week 37
– เตรียมแพมเพิร์สหรือนมผง (กรณีคุณแม่ไม่ได้ให้นมแม่) ไว้ให้เพียงพอ
– ทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องนอนของลูกเตรียมไว้
Week 38
– เตรียมเงินสดหรือจัดการเรื่องการเงินที่ต้องใช้จ่ายที่โรงพยาบาล
– ลิสต์รายชื่อและเบอร์โทร.คนที่คุณแม่ต้องการติดต่อหลังคลอดเอาไว้ที่คุณพ่อ
Week 39
– เตรียมทุกอย่างให้พร้อม เผื่อว่าถ้าคุณแม่ต้องคลอดก่อนกำหนด
Week 40
– ตั้งสติให้พร้อมหากเกิดภาวะน้ำเดินหรือมีเลือดออก
– สังเกตอาการการบีบและหดตัวของมดลูก
– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
– ทำกิจกรรมที่ช่วยเร่งคลอด เช่น เดินเล่นบ่อยๆ หรือนวดเต้านม
Week 41
– ไปโรงพยาบาลเพื่อเตรียมคลอดกันได้แล้ว
NO COMMENT