READING

INTERVIEW: ‘เมื่อการรักษ์โลกไม่ใช่เรื่องพิเศษ’ คุย...

INTERVIEW: ‘เมื่อการรักษ์โลกไม่ใช่เรื่องพิเศษ’ คุยกับน้องลิลลี่—ระริน สถิตธนาสาร และครอบครัว

ใครจะคาดคิดว่าสิ่งที่เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ในวัย 12 ปีคนหนึ่งกำลังให้ความสำคัญจะเป็นการพยายามรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงผลกระทบของการใช้ single use plastic หรือพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว และ สร้างความตื่นตัวให้คนในประเทศหันกลับมามองเห็นปัญหากันมากขึ้น

เธอเดินหน้าเข้าหาองค์กรต่างๆ เพื่อนำเสนอโปรเจ็กต์เกี่ยวกับการลดปัญหาขยะพลาสติก ด้วยความหวังว่าเมื่อผู้ใหญ่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา พวกเขาจะหันมาช่วยกันยับยั้งและแก้ไขให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น

น้องลิลลี่ หรือ เด็กหญิงระริน สถิตธนาสาร คือเด็กผู้หญิงที่มีใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มตลอดเวลา ถ้าไม่รู้มาก่อนเราอาจนึกไม่ถึงว่า เด็กผู้หญิงวัย 12 ปีคนนี้คือคนที่กำลังปลุกปั้นโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโลกที่เธอจะต้องอยู่ต่อไปในอนาคต

และแน่นอนว่าการสร้างเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เราย่อมมองย้อนไปถึงการปลูกฝังและเลี้ยงดูของครอบครัว เรามีโอกาสพูดคุยกับคุณแม่ และคุณยายนิรมล สมิตติพัฒน์ที่เต็มไปด้วยความเข้าใจ คอยสนับสนุนและให้กำลังใจน้องลิลลี่อยู่เสมอ

01
จุดเริ่มต้นมาจากครอบครัว

“เราก็ไม่ได้รู้สึกว่าครอบครัวเรามีอะไรพิเศษ เพราะสิ่งที่ทำมันไม่ใช่งาน ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด แต่เราทำเหมือนมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว”
—คุณแม่น้องลิลลี่

“จริงๆ แล้วครอบครัวเราชอบอะไรที่มีระเบียบ รักความสะอาด และทำทุกอย่างให้ถูกสุขลักษณะ ลิลลี่ก็จะได้เห็นมาตลอด”’ คุณยายตอบด้วยท่าทีสบายๆ เมื่อเราถามถึงวิถีชีวิตภายในบ้าน

การเป็นครอบครัวที่ทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมเป็นประจำ ทำให้น้องลิลลี่ได้ซึบซับและมองเห็นปัญหาที่เธอสามารถยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้

“บ้านเราชอบช่วยเหลือสังคมอยู่แล้ว ซึ่งคิดว่าเราได้ตรงนี้จากคุณยายและคุณตา อย่างคุณยายก็จะมีถักไหมพรมไปบริจาคให้โรงพยาบาลทุกสิ้นปี ตอนน้ำท่วมปี 54 ก็เคยอุ้มลิลลี่ไปช่วยอยู่เลย คือเราทำงานให้กับโบสถ์ ไปช่วยคนที่ไร้ที่อยู่ ไปบำบัดพูดจาเยี่ยมเยียนเขา บางคนก็มีโรคประจำตัว บางคนก็มีลูกที่เขาไม่สามารถดูแลได้ คิดว่าลิลลี่ได้เรียนรู้ประสบการณ์พวกนี้มาตลอด เขาก็จะรู้ว่าอะไรที่เขาทำได้ แต่เราก็ไม่คิดว่าเขาจะมายึดกับเรื่องสิ่งแวดล้อมขนาดนี้ คิดว่าคงประเดี๋ยวประด๋าว”

คุณแม่เชื่อว่าการส่งต่อจิตสำนึกที่มีต่อสังคมและเพื่อนมนุษย์เริ่มต้นมาตั้งแต่คุณยายที่ถ่ายทอดสิ่งดีๆ มาสู่คุณแม่ และคุณแม่ก็ส่งต่อมาถึงน้องลิลลี่อีกที ราวกับเป็นแผงวงจรที่ใช้ส่งต่อพลังงานดีๆ สืบทอดกันมา

“แต่เราก็ไม่ได้รู้สึกว่าครอบครัวเรามีอะไรพิเศษ เพราะสิ่งที่ทำมันไม่ใช่งาน ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด แต่เราทำเหมือนมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว” คุณแม่พูดถึงสิ่งที่ครอบครัวทำร่วมกันอย่างเรียบง่าย

02
ทุกอย่างล้วนเป็นวัฏจักร

“เพราะทุกอย่างล้วนเป็นวัฏจักร ทุกสิ่งล้วนมีวงจรเป็นของตัวเองรับส่งพลังงานกันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด” คุณแม่น้องลิลลี่

จุดเริ่มต้นที่ทำให้ลิลลี่ตัดสินใจเดินหน้าเรียกร้องเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเมื่อเธอกับครอบครัวไปเที่ยวทะเลพัทยาด้วยกันเมื่อหลายปีก่อน และวันนั้นเธอก็ได้เห็นขยะพลาสติกเกลื่อนกลาดเต็มชายหาดไปหมด

“หนูไปเที่ยวพัทยาแล้วเจอขยะพลาสติกเต็มชายหาดเลย หนูกับแม่เลยช่วยกันเก็บ แต่ก็เก็บไม่หมดเพราะมันเยอะมาก วันต่อมาก็เลยจะไปเก็บซ้ำ แต่สิ่งที่น่าตกใจคือเรากลับเจอขยะพลาสติกเหมือนเดิมอีก หนูรู้สึกเสียใจมากเลยค่ะ”

ลิลลี่เล่าด้วยภาษาไทยสลับกับประโยคภาษาอังกฤษที่ดูเหมือนเธอจะใช้ภาษาอังกฤษอธิบายความรู้สึกของตัวเองได้ดีกว่า

“หนูตัดสินใจติดต่อไปที่ห้างฯ เซนทรัล เดอะมอลล์ และเทสโก้ เพราะหนูอยากให้ทุกคนลดการใช้ถุงพลาสติกมากจริงๆ ค่ะ และคนเราไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ถุงพลาสติก เราสามารถใช้อย่างอื่นแทนได้”

แน่นอนว่าเราย่อมอยากรู้ว่าทำไมเธอถึงเลือกที่จะเดินหน้าเข้าหาองค์กรอย่างห้างสรรพสินค้า แทนที่จะเลือกเดินหน้าเก็บขยะหรือลดการใช้พลาสติกด้วยตัวเองต่อไป

“ถ้าลองดูขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลดีๆ จะเห็นว่ามันเป็นห่วงโซ่ค่ะ คือมันถูกผลิต ถูกใช้ แล้วก็ถูกทิ้ง ในเวลาต่อมาขยะพวกนั้นก็ลงสู่ทะเล เพราะฉะนั้นการหยุดใช้พลาสติกก็คือการหยุดที่ต้นทางของขยะที่จะถูกทิ้งลงไปในทะเลค่ะ”

“เพราะทุกอย่างล้วนเป็นวัฏจักร ทุกสิ่งล้วนมีวงจรเป็นของตัวเองรับส่งพลังงานกันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด” คุณแม่ช่วยเสริมสิ่งที่น้องลิลลี่กำลังอธิบาย เพื่อให้เราเข้าใจว่าการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ หากเราเอาแต่ใช้แล้วทิ้ง ของที่ทิ้งไปใช่ว่าจะสูญสลายไปไหน แต่มันจะกลับมาเป็นวงจรไปเรื่อยๆ หากเราจัดสรรกระบวนการเหล่านั้นไม่ดีพอ ผลลัพธ์ที่ไม่ดีก็จะวนกลับมาสู่มนุษย์เอง

“คนส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูล เราไม่รู้ว่าน้ำมาจากไหน ข้าวมาจากไหน สบู่ของเรามาจากไหน วัฏจักรของโลกนี้เป็นอย่างไร ตอนนี้ถ้าคุณซื้อสบู่หรือแชมพู คุณก็กำลังสร้างขยะแล้วนะ แต่เป็นเพราะบางทีเราไม่รู้เลยว่าส่วนผสมเหล่านั้นมาจากไหน มันมีอะไรที่ทำร้ายโลกบ้างหรือเปล่า เวลาเราซื้อของ packaging ก็เป็นขยะที่เรามองเห็นแล้ว แต่ขยะที่เรามองไม่เห็นก็คือสิ่งที่อยู่ในเนื้อผลิตภัณฑ์ด้วย”

“มันเป็นเส้นตรงเลยค่ะ คือคนผลิต คนใช้ แล้วทิ้ง ไม่ได้มีการรีเทิร์น ไม่มีการเอามันกลับมาใช้ เราเพียงแค่ทิ้งมันไป” น้องลิลลี่พูดเสริมคุณแม่อีกครั้ง

03
ทำแล้วได้อะไรกลับมา

จุดเริ่มต้นที่ทำให้ลิลลี่ตัดสินใจเดินหน้าเรียกร้องเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเมื่อเธอกับครอบครัวไปเที่ยวทะเลพัทยาด้วยกันเมื่อหลายปีก่อน และวันนั้นเธอก็ได้เห็นขยะพลาสติกเกลื่อนกลาดเต็มชายหาดไปหมด

“หนูไปเที่ยวพัทยาแล้วเจอขยะพลาสติกเต็มชายหาดเลย หนูกับแม่เลยช่วยกันเก็บ แต่ก็เก็บไม่หมดเพราะมันเยอะมาก วันต่อมาก็เลยจะไปเก็บซ้ำ แต่สิ่งที่น่าตกใจคือเรากลับเจอขยะพลาสติกเหมือนเดิมอีก หนูรู้สึกเสียใจมากเลยค่ะ”

ลิลลี่เล่าด้วยภาษาไทยสลับกับประโยคภาษาอังกฤษที่ดูเหมือนเธอจะใช้ภาษาอังกฤษอธิบายความรู้สึกของตัวเองได้ดีกว่า

“หนูตัดสินใจติดต่อไปที่ห้างฯ เซนทรัล เดอะมอลล์ และเทสโก้ เพราะหนูอยากให้ทุกคนลดการใช้ถุงพลาสติกมากจริงๆ ค่ะ และคนเราไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ถุงพลาสติก เราสามารถใช้อย่างอื่นแทนได้”

แน่นอนว่าเราย่อมอยากรู้ว่าทำไมเธอถึงเลือกที่จะเดินหน้าเข้าหาองค์กรอย่างห้างสรรพสินค้า แทนที่จะเลือกเดินหน้าเก็บขยะหรือลดการใช้พลาสติกด้วยตัวเองต่อไป

“ถ้าลองดูขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลดีๆ จะเห็นว่ามันเป็นห่วงโซ่ค่ะ คือมันถูกผลิต ถูกใช้ แล้วก็ถูกทิ้ง ในเวลาต่อมาขยะพวกนั้นก็ลงสู่ทะเล เพราะฉะนั้นการหยุดใช้พลาสติกก็คือการหยุดที่ต้นทางของขยะที่จะถูกทิ้งลงไปในทะเลค่ะ”

“เพราะทุกอย่างล้วนเป็นวัฏจักร ทุกสิ่งล้วนมีวงจรเป็นของตัวเองรับส่งพลังงานกันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด” คุณแม่ช่วยเสริมสิ่งที่น้องลิลลี่กำลังอธิบาย เพื่อให้เราเข้าใจว่าการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ หากเราเอาแต่ใช้แล้วทิ้ง ของที่ทิ้งไปใช่ว่าจะสูญสลายไปไหน แต่มันจะกลับมาเป็นวงจรไปเรื่อยๆ หากเราจัดสรรกระบวนการเหล่านั้นไม่ดีพอ ผลลัพธ์ที่ไม่ดีก็จะวนกลับมาสู่มนุษย์เอง

“คนส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูล เราไม่รู้ว่าน้ำมาจากไหน ข้าวมาจากไหน สบู่ของเรามาจากไหน วัฏจักรของโลกนี้เป็นอย่างไร ตอนนี้ถ้าคุณซื้อสบู่หรือแชมพู คุณก็กำลังสร้างขยะแล้วนะ แต่เป็นเพราะบางทีเราไม่รู้เลยว่าส่วนผสมเหล่านั้นมาจากไหน มันมีอะไรที่ทำร้ายโลกบ้างหรือเปล่า เวลาเราซื้อของ packaging ก็เป็นขยะที่เรามองเห็นแล้ว แต่ขยะที่เรามองไม่เห็นก็คือสิ่งที่อยู่ในเนื้อผลิตภัณฑ์ด้วย”

“มันเป็นเส้นตรงเลยค่ะ คือคนผลิต คนใช้ แล้วทิ้ง ไม่ได้มีการรีเทิร์น ไม่มีการเอามันกลับมาใช้ เราเพียงแค่ทิ้งมันไป” น้องลิลลี่พูดเสริมคุณแม่อีกครั้ง

04
เมื่อโลกไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง

“โลกเรามีปัญหามากมาย และเด็กอย่างพวกหนูคือคนที่จะต้องเผชิญปัญหาพวกนี้ในอนาคต ที่หนูสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพราะหนูเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมมันเป็นพื้นฐานเริ่มต้นของมนุษย์ หนูอยากทำให้สิ่งแวดล้อมแข็งแกร่งก่อนที่หนูจะไปทำด้านอื่น อย่างเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือความเท่าเทียม”
—น้องลิลลี่ ระริน สถิตธนาสาร

ตอนนี้ลิลลี่มีโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 6 โปรเจกต์ คือ

  1. Ban single use plastic คือรณรงค์ให้ลดการใช้พลาสติกประเภทครั้งเดียวทิ้ง เช่น หลอด ถุงพลาสติก กล่องพลาสติก และแก้วน้ำพลาสติก
  1. Eco education นำเสนอและผลักดันวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้บรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนภายในโรงเรียน เพื่อสอนเด็กๆ รู้และเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกเราในอนาคต
  2. Green guildline สร้างแนวคิดให้ร้านอาหารต่างๆ มีโครงการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่นมีเมนูอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภค ไม่ใช้หลอดพลาสติก และโฟมในการบรรจุอาหาร
  3. Green brand คือการรณรงค์ให้องค์กรต่างๆ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการสร้างหรือผลิตสินค้าด้วยกระบวนการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  4. ปลูกต้นไม้ทดแทนให้ป่า เพราะการตัดไม้ทำลายป่า ในประเทศไทยถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากๆ จึงควรที่จะมีการกำหนดที่จะปลูกต้นไม้ทดแทน
  5. โครงการเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก จากแนวคิดว่าคนเราใช้ทุกสิ่งทุกอย่างจากโลกใบนี้มากเกินไป และไม่เคยส่งอะไรคืนให้กับโลกเลย จึงควรพยายามหาทางเลือกในการใช้ทรัพยากรทดแทนมากขึ้น

“โลกเรามีปัญหามากมาย และเด็กอย่างพวกหนูคือคนที่จะต้องเผชิญปัญหาพวกนี้ในอนาคต ที่หนูสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพราะหนูเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมมันเป็นพื้นฐานเริ่มต้นของมนุษย์ หนูอยากทำให้สิ่งแวดล้อมแข็งแกร่งก่อนที่หนูจะไปทำด้านอื่น อย่างเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือความเท่าเทียม”

ลิลลี่พูดถึงสิ่งที่เธอยากจะทำต่อไปในอนาคตหลังจากทำโปรเจกต์ทั้งหมดที่ตัวเองตั้งใจเสร็จสิ้น แต่ทุกวันนี้เธอก็ยังไม่พอใจผลลัพธ์ที่ได้เท่าไรนัก แต่ก็ตั้งใจว่าจะเดินหน้าทำสิ่งเหล่านี้ต่อไปอีกเรื่อยๆ

05
เด็กหญิงวัย 12 ปี

“เมื่อใดก็ตามที่หนูล้มเหลวหรือไม่ได้คำตอบที่ต้องการ หนูจะรู้สึกแย่มากๆ และก็มานั่งคิดกับตัวเองว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป แต่ถ้ามันดีสำหรับโลกใบนี้หนูก็จะทำต่อ หนูจะไม่หยุดแม้ว่าโลกใบนี้จะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพราะทุกอย่างยังคงต้องฟื้นฟูอยู่เสมอ”
—น้องลิลลี่ ระริน สถิตธนาสาร

แม้ด้านหนึ่งลิลลี่จะมีภาพนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเต็มตัว แต่ในอีกด้าน เธอก็ยังคงเป็นเด็กผู้หญิงวัย 12 ปีคนหนึ่งที่ชื่นชอบการเต้นบัลเลต์ มีความสุขกับการพาสุนัขไปวิ่งเล่นที่สนามหญ้า ไปดูคอนเสิร์ต และช้อปปิ้งกับเพื่อนวัยเดียวกัน

ส่วนความฝันของเธอคือการเดินทางไปรอบโลกพร้อมทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และเมื่อถามถึงสิ่งที่เธออยากเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ลิลลี่ก็เลือกจิตวิทยา เป็นสาขาวิชาที่เธออยากเรียนรู้เพื่อประกอบเป็นอาชีพต่อไปในอนาคต

ตลอดการพูดคุย ต้องยอมรับว่าในสายตาเรา ลิลลี่เป็นเด็กที่มีบางอย่างที่พิเศษและแตกต่างจากเด็กอายุ 12 คนอื่น แต่เมื่อเราลองถามว่าเจ้าตัวเขาคิดเหมือนเราหรือไม่ ลิลลี่ก็ตอบพร้อมเสียงหัวเราะว่า ไม่เลย เธอไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองแปลกหรือแตกต่างจากใคร เพราะเธอก็สามารถพูดคุยเรื่องสิ่งแวดล้อมและเรื่องโปรเจกต์ของตัวเอง ให้เพื่อนๆ ฟัง และเพื่อนก็ให้ความสนใจกับสิ่งที่เธอกำลังพยายามเช่นกัน

เราแกล้งถามลิลลี่เล่นๆ ว่าหากมีเพื่อนไม่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมเลย เราจะทำอย่างไร เธอตอบสั้นๆ ด้วยรอยยิ้มจริงใจว่า “หนูก็จะทำให้เพื่อนสนใจให้ได้ค่ะ”

“แม่จำได้ว่าตอนเขาเด็กกว่านี้ เคยมีโจทย์เลขถามว่าอดัมมีคุกกี้ 2 ชิ้น มาร์คมี 3 ชิ้น ทั้งสองคนมีคุกกี้รวมกันทั้งหมดกี่ชิ้น แต่ลิลลี่ไม่สามารถมองให้มันออกมาเป็นโจทย์เลขได้ เพราะเขามัวแต่คิดว่าทำไมสองคนนั้นจึงได้คุกกี้ไม่เท่ากัน”  คุณแม่เล่าถึงสิ่งที่พอจะนึกออกว่าลิลลี่เคยต่างจากเด็กคนอื่นอย่างไร

“หนูคิดมากเกินไป” ลิลลี่พูดแซวตัวเองพร้อมใบหน้าที่ยิ้มกว้าง และเสียงหัวเราะของคุณยาย

ก่อนจะบอกลาน้องลิลลี่กับคุณแม่และคุณยาย เราตัดสินใจถามคำถามสุดท้ายกับน้องลิลลี่ว่าจะมีสิ่งใดหรือไม่ที่ทำให้เธอหยุดทำสิ่งเหล่านี้ลง เธอนิ่งคิดไปชั่วครู่ก่อนตอบเราว่า “เมื่อใดก็ตามที่หนูล้มเหลวหรือไม่ได้คำตอบที่ต้องการ หนูจะรู้สึกแย่มากๆ และก็มานั่งคิดกับตัวเองว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป แต่ถ้ามันดีสำหรับโลกใบนี้หนูก็จะทำต่อ หนูจะไม่หยุดแม้ว่าโลกใบนี้จะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพราะทุกอย่างยังคงต้องฟื้นฟูอยู่เสมอ”


Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

COMMENTS ARE OFF THIS POST