เด็กวัยรุ่น รวมถึงผู้ใหญ่ในวัยทำงานหลายคนอาจเป็นคนที่ชอบใช้เวลาในช่วงกลางคืนทำกิจกรรมต่างๆ มากกว่าตอนกลางวัน ทำให้เวลาของการนอนเปลี่ยนแปลงกลายเป็นตื่นกลางคืนและนอนกลางวันแทน
ซึ่งงานวิจัยจาก the Allergy and Asthma Research Centre in Kolkata ที่ประเทศอินเดีย เริ่มชี้ให้เห็นว่าการนอนที่สลับกันนี้อาจมีส่วนที่ทำให้เด็กวัยรุ่นนั้นป่วยเป็นโรคหอบหืด และภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าคนที่นอนตามเวลาปกติ เนื่องจากเมื่อร่างกายที่ไม่ได้รับการพักผ่อนในช่วงเวลาปกติทำให้สารในร่างกายอย่างเมลาโทนิน ส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันร่างกายได้
การนอนหลับของคนในปัจจุบันเกิดการถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงสีฟ้าของหน้าจอ และเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา จึงทำให้คนมักไม่เกิดการพักผ่อนที่ดีพอ
โดยงานชิ้นนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีก ไม่ว่าจะการกินอาหาร สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ อุปนิสัยการนอน เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้ และในอนาคตอาจมีส่วนสำคัญในการรักษาโรคทั้งสองได้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
COMMENTS ARE OFF THIS POST