READING

Google จัดเวิร์กช็อปสำหรับพ่อแม่ยุคดิจิทัล พร้อมแน...

Google จัดเวิร์กช็อปสำหรับพ่อแม่ยุคดิจิทัล พร้อมแนะวิธีการใช้ชีวิตออนไลน์ให้ปลอดภัย

เมื่อวันอังคารที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา Google ประเทศไทย จัดเวิร์กช็อปให้สื่อมวลชนและเฟซบุ๊กแฟนเพจต่างๆ ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับแม่และเด็ก รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่อีกหลายครอบครัวให้ได้รู้จักวิธีการใช้งาน และเข้าถึงแอปพลิเคชั่นต่างๆ ของ Google เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัยจากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

 

ซึ่งเวิร์กช็อปจัดเป็นสองช่วงคือ

1.แนะนำฟังก์ชันบนสมาร์ตโฟนที่อยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ จากแอปพลิเคชั่นต่างๆ ของ Google โดย คุณแพน—พรรณริณี ทิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่น Google ประเทศไทย

คุณแพน—พรรณริณี ทิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่น Google ประเทศไทย
คุณแพน—พรรณริณี ทิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่น Google ประเทศไทย

1.1 Calendar

ปฏิทิน ตารางเวลานัดหมายต่างๆ ที่จะช่วยเตือนความจำพ่อแม่ และสามารถแชร์กับใครก็ได้

 

1.2 Maps

แอปพลิเคชั่นนำทางที่หลายๆ คนใช้งานอยู่ในชีวิตประจำวัน และปัจจุบันกูเกิลยังเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทที่ให้บริการด้านการโดยสารอย่าง Uber และ Grab แล้วเรียบร้อย และด้วยความแม่นยำทางโลเคชั่นที่มากกว่า หากคราวหน้าคุณพ่อคุณแม่อยากจะใช้บริการ Uber หรือ Grab ก็สามารถเรียกใช้จาก Google Map ได้โดยตรง

อีกฟังก์ชันคือ ‘Location Sharing’ ที่สามารถส่งพิกัดของตัวเองให้คนอื่นรู้ได้ โดยไม่ต้องโทร.ถามหรืออธิบายตำแหน่งกันให้วุ่นวาย

1.3 Google Photo

เมื่อถ่ายรูปแล้วใส่ภาพลงใน Google Photo แอปพลิเคชั่นจะสามารถจดจำและจับความเปลี่ยนแปลงของลูกได้ตั้งแต่เกิดจนโต และจัดเก็บเป็นอัลบั้มให้ได้ด้วยตัวเอง

และสามารถ ‘ค้นหา’ ภาพด้วยคีย์เวิร์ด แล้ว Google Photo จะจับภาพในอัลบั้มของเราที่มีความเกี่ยวข้องขึ้นมาแสดง

สามารถ ‘ปรับแต่ง’ รูปภาพได้ตามต้องการ

สามารถสร้างอัลบั้มภาพและเชิญให้ผู้อื่นเข้าร่วม หรือเพิ่มรูปในอัลบั้มได้

ทำแอนิเมชั่นได้ เช่น คุณพ่อคุณแม่ที่ชอบถ่ายรูปลูกรัวๆ (ได้มากที่สุด 15 ภาพ) ให้กดที่เครื่องหมายบวกด้านบนขวามือ เลือก animation แล้วแอปฯ จะบันทึกเป็น ภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF file ให้ทันที

ทำคลิปวิดีโอพร้อมใส่ชื่อหรือแคปชั่นจากแอปฯ ได้โดยตรง และยังสามารถเพิ่มเพลง/ตัดต่อ/ยืด/เลื่อน/สลับภาพได้ (โดยกูเกิลมีเพลงแบบที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ให้เลือกใช้แล้วด้วย)

ซึ่งภาพหรือวิดีโอทั้งหมดนี้ สามารถอัปโหลดขึ้นโซเชียลมีเดียได้ทันที

 

1.4 Google Photo Scan

เป็นการถ่ายภาพด้วยความละเอียดของกล้องสมาร์ตโฟน แต่ Google Photo Scan จะบอกว่าต้องถ่ายมุมไหนซ้ำกี่ครั้งยังไงบ้าง แล้วแอปฯ จะนำไปประมวลผลที่ชัดเจนกว่าการกดถ่ายภาพธรรมดาๆ ให้ จากนั้นก็สั่งพิมพ์ได้เลยทันที

1.5 Google Search

สามารถเปิดฟังก์ชันเพื่อป้องกันข้อมูลที่ไม่เหมาะสมต่อลูกน้อยที่ใช้สมาร์ตโฟนได้ที่ Safe Search Filter

มีตัวช่วยในการแปลงหน่วยต่างๆ ที่สะดวกรวดเร็ว เช่น ออนซ์เป็นมิลลิลิตร

อัปเดตเวลาเดินทางไปสนามบิน หรือค้นหาเที่ยวบิน และเวลาเครื่องขึ้น/ลงได้แบบเรียลไทม์

มีฟังก์ชัน Voice Search ช่วยสอนการบ้าน หรือช่วยสอนภาษาให้ลูกน้อย

 

1.6 Youtube

สามารถเปิดฟังก์ชันเพื่อป้องกันข้อมูลที่ไม่เหมาะสมต่อลูกน้อยที่ใช้สมาร์ตโฟนได้ที่ Settings > General > Restricted Mode

แต่บางครั้งโฆษณาที่เด้งขึ้นมาแล้วมีข้อมูลไม่เหมาะสม ซึ่งทางกูเกิลอาจจะตรวจสอบไม่ทัน คุณพ่อคุณแม่ทุกคนก็สามารถช่วยกันกดรีพอร์ตเป็นหูเป็นตาให้กูเกิลอีกทาง

2. ใช้เทคโนโลยีบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย โดย คุณลูเซียน เตียว User Education and Outreach Manager คุณพ่อลูกสามผู้ส่งเสริมการใช้งานโลกออนไลน์อย่างปลอดภัยและเป็นประโยชน์ ให้เคล็ดลับกับทุกครอบครัว ดังนี้

 

– คุยกับครอบครัวเรื่องความปลอดภัยบนโลกออนไลน์

– ใช้เทคโนโลยีด้วยกัน มี common room ห้องที่ทุกคนจะใช้เวลาด้วยกันในโซเชียลฯ เดียวกันพร้อมๆ กัน

– วางอุปกรณ์ไว้ในพื้นที่ส่วนกลาง

– สอนลูกให้เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายก่อนที่จะแชร์รูปของใครๆ

– รู้จักใช้การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว และระมัดระวังที่จะแชร์ข้อมูลกับผู้อื่น

คุณลูเซียน เตียว User Education and Outreach Manager

2.1 ปกป้องข้อมูลของคุณ

พาสเวิร์ดต้องแข็งแกร่งและปลอดภัย และไม่ควรใช้วิธีการเซฟไว้ในโน้ตต่างๆ หรือแม้แต่การจดลงสมุด และยิ่งไม่ควรใช้รหัสเดียวกันในทุกที่ แต่ก็ควรเป็นพาสเวิร์ดที่จดจำได้ง่าย โดยแนะนำวิธีตั้งพาสเวิร์ดที่ดีไว้ดังนี้ เช่น พาสเวิร์ดปกติ คือ table2camerasshoescoffee ให้ปรับเป็น

ถ้าเป็นของ Google ให้ใช้ : tableg2camerasoshoesocoffee

ถ้าเป็นของ Youtube ให้ใช้ : tabley2camerasoshoesucoffee

เป็นต้น

 

2.2 คิดก่อนแชร์

บางครั้งก็ต้องบอกผู้ใหญ่ในบ้าน ว่าอย่าแชร์รูปลูกหลานกันบ่อยๆ เพราะสิ่งที่แชร์ไปอาจถูกส่งต่อและคัดลอกได้

ดังนั้น แค่การแชร์ภาพก็อาจทำให้ใครๆ รู้จักเด็กๆ หรืออาจรู้ถึงประวัติของครอบครัวจากการเขียนบล็อกของพ่อแม่ รวมถึงต้องสอนเด็กๆ ด้วยว่า เรื่องภายในครอบครัวอะไรที่เขาควรหรือไม่ควรแชร์

 

2.3 รู้จักการตั้งค่าความปลอดภัยของเว็บไซต์

เพื่อไม่ให้ลูกเข้าถึงเว็บที่ไม่เหมาะสม

 

2.4 หลีกเลี่ยงการต้มตุ๋น

ช่วยกันรีพอร์ตหากพบเว็บไซต์ที่มีการหลอกลวง หรือมีไวรัส

 

2.5 คิดบวก

โพสต์เรื่องดีๆ เพราะลูกมีพ่อแม่เป็นแบบอย่าง พวกเขาจะเห็นและทำตามในสิ่งที่ดี

 

#googleparents


Avatar

สาวยุค 90's ลูกครึ่งจีนฮ่องกง feat. เชียงใหม่ ที่พูดฮ่องกงไม่ได้ อู้กำเมืองบ่จ้าง ติดนิยาย รักการจดบันทึกและการกินเหนือทุกสิ่งอย่าง มีลูกสาวเป็นหมาอ้วนสีเหลืองอ่อน

RELATED POST