งานวิจัยนี้ศึกษาโดย Kristine Engemann, Carsten Bøcker Pedersen, Lars Arge, Constantinos Tsirogiannis, Preben Bo Mortensen, and Jens-Christian Svenning จากมหาวิทยาลัย Aarhus ประเทศเดนมาร์ก ทีมวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลประชาชน 900,000 คน เปรียบเทียบภูมิประเทศในปัจจุบันและภูมิเทศย้อนหลังไป 20 เพื่อหาว่าพื้นที่สีเขียวในช่วงเวลานั้นมีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพจิตอย่างไร
และพบว่าพื้นที่สีเขียวช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ถึง 55 % เมื่อเด็กที่เติบโตมากับพื้นที่สีเขียว แล้วโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่
ในบทคัดย่อของงานวิจัยได้ให้ข้อมูลว่าคนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมืองมีความเสี่ยงเป็นโรคจิตเวชมากกว่าคนในชนบทเกือบ 50% และเด็กที่โตในสังคมเมืองมีความเสี่ยงเป็นโรคจิตเภทสูงถึง 200 %
และงานวิจัยยังบอกไว้อีกว่าเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 10 ปีที่อาศัยอยู่พื้นที่สีเขียวเป็นระยะเวลานาน เมื่อโตเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่พบว่ามีอาการป่วยทางจิตน้อยมาก
ผลการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้พยายามแสดงให้เห็นว่าพื้นที่สีเขียวมีผลต่อสุขภาพจิตที่ดีของเด็ก และหวังว่ารัฐบาลจะนำผลงานวิจัยไปปรับปรุงวางแผนผังเมืองให้เต็มไปด้วยสีเขียวมากขึ้น
COMMENTS ARE OFF THIS POST