READING

NEWS UPDATE: ทารกที่ได้รับยาลดกรดจะมีโอกาสเป็นโรคภ...

NEWS UPDATE: ทารกที่ได้รับยาลดกรดจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น

ทารกที่ได้รับยาลดกรด เช่น Zantac หรือ Pepcid มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก เพราะยาเหล่านี้อาจมีฤทธิ์เปลี่ยนแปลงแบคทีเรียในกระเพาะอาหารได้

 

จากการศึกษากับเด็กเกือบ 800,000 คน การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะแรกของชีวิตเพิ่มโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้

 

โดยนักวิจัยรวบรวมรายงานสุขภาพของเด็กที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2544-2556 จาก Tricare (โปรแกรมประกันสุขภาพสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ และบุคลากรทางทหารที่เกษียณและครอบครัวของพวกเขา) ซึ่งเด็ก 9% ที่เคยได้รับยาลดกรด หมายความว่าพวกเขาผ่านการรักษาภาวะกรดไหลย้อนในวัยเด็กมาก่อน

 

และกว่าสี่ปีที่ผ่านมา กว่าครึ่งของเด็กทุกคนมีอาการแพ้อาหาร ผื่นแดง หอบหืด หรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ผลวิจัยนี้แสดงว่าอาการแพ้เชื่อมโยงกับการใช้ยาลดกรดและยาปฏิชีวนะ

 

สำหรับทารกที่ได้รับยาลดกรดในช่วงหกเดือนแรก โอกาสในการพัฒนาเป็นภูมิแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และโอกาสในการเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง (ภาวะภูมิแพ้ หรือไข้ละอองฟาง) สูงกว่าเด็กทั่วไป 50%

 

และสำหรับทารกที่ได้รับยาปฏิชีวนะ มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นสองเท่า และเพิ่มโอกาสเป็นไข้ละอองฟางและภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) อย่างน้อยกว่า 50% จากเด็กทั่วไป

 

ผลการวิจัยถูกเผยแพร่เมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ โดย JAMA Pediatrics ซึ่งบอกว่ายาเหล่านี้โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าไม่อันตราย แต่ก็ไม่ควรใช้กับทารก ซึ่งดร. เอ็ดเวิร์ด มิตร์—ผู้นำวิจัยของมหาวิทยาลัย Uniformed Services ในเมืองเบเทสดา รัฐแมรีแลนด์กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์ควรระมัดระวังในการสั่งจ่ายยาเหล่านี้ให้มากขึ้น

 

ความสนใจของมิตร์เริ่มขึ้นตอนที่ลูกคนสุดท้องของเขาเป็นเด็กทารก กุมารแพทย์แนะนำยาลดกรดให้ เพราะลูกร้องไห้เมื่ออยู่บนหลังของเขา “แต่เราไม่ได้ให้มันกับเขา เพราะเขาไม่ได้เป็นโรคกรดไหลย้อน เขาแค่มึนตอนที่เราจับเขานอนลง”

 

ในการศึกษานี้ยังเป็นไปได้ว่า ทารกเหล่านั้นอาจเคยเป็นโรคภูมิแพ้ แล้วได้รับการวินิจฉัยผิดพลาด  จึงได้รับยาผิดก็เป็นได้ แต่ก็ไม่ควรมีการจ่ายยาผิดจำนวนมากขนาดนี้

 

ที่สำคัญคือแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งการรับประทานยาปฏิชีวนะและยาแก้ท้องเฟ้อ อาจเปลี่ยนรูปแบบจุลินทรีย์ทั้งหมดที่อาศัยในร่างกายของทารกได้ และอาจมากพอที่จะก่อให้เกิดภาวะบางอย่างในระบบภูมิคุ้มกันที่แสดงออกมาเป็นอาการแพ้ได้ ดังนั้นยาลดกรดจึงอาจมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงวิธีการย่อยโปรตีน และระบบภูมิคุ้มกันบางส่วนของร่างกาย

 

ดร. เคด ไนลุนด์—ผู้ร่วมวิจัยและกุมารแพทย์จากมหาวิทยาลัย Uniformed Services กล่าวว่า คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามแก้ไขปัญหาท้องอืดท้องเฟ้อของลูก ด้วยการทำอาหารขนาดเล็กลง หรือให้รับประทานน้อยๆ แต่บ่อยครั้งขึ้นก่อนก็ได้

 

อ้างอิง
time
cbsnews

Avatar

สาวยุค 90's ลูกครึ่งจีนฮ่องกง feat. เชียงใหม่ ที่พูดฮ่องกงไม่ได้ อู้กำเมืองบ่จ้าง ติดนิยาย รักการจดบันทึกและการกินเหนือทุกสิ่งอย่าง มีลูกสาวเป็นหมาอ้วนสีเหลืองอ่อน

RELATED POST