READING

NEWS UPDATE: คุณแม่ของทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกั...

NEWS UPDATE: คุณแม่ของทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจของตัวเอง

ผลวิจัยล่าสุดรายงานว่า เกือบหนึ่งในร้อยของทารกที่เกิดมาพร้อมโรคหัวใจ แม่ของพวกเขาจะมีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาหัวใจของตัวเอง

 

ผลการศึกษาจากคุณแม่กว่าหนึ่งล้านคนพบว่า แม่ที่เลี้ยงดูเด็กที่มีปัญหาหัวใจ มักจะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจมากกว่ามารดาคนอื่นๆ ในวัยเดียวกันถึงร้อยละ 25

 

ถ้าภาวะหัวใจบกพร่องของเด็กถูกจัดว่าเป็นวิกฤติ นั่นแปลว่ามันจะยิ่งแย่ลงสำหรับคุณแม่ เพราะอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจะสูงขึ้นถึง 43% โดยกลุ่มคุณแม่เหล่านี้จะมีอาการหัวใจวายมากกว่าคุณแม่ทั่วไปถึงสองเท่า นอกจากนี้มารดาในกลุ่ม ‘วิกฤติ’ ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องปลูกถ่ายหัวใจจากอาการโรคหัวใจที่รุนแรง

 

แม้นักวิจัยจะยังไม่มั่นใจในความเชื่อมโยงนี้ แต่เป็นไปได้ว่าปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างที่ยังไม่ถูกค้นพบ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาหัวใจของทารก มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจในแม่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ สารเคมีที่ปล่อยออกมาพร้อมกับความเครียดขณะตั้งครรภ์ ก็อาจก่อให้เกิดผลในระยะยาวต่อหัวใจของแม่เช่นกัน

 

ในขณะที่บางฝ่ายคิดว่าการเลี้ยงดูบุตรที่เจ็บป่วย อาจนำไปสู่ภาวะเครียดสะสมจนส่งผลต่อร่างกายของผู้ปกครองก็เป็นได้ เพราะมีงานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า การเลี้ยงดูทารกที่มีภาวะโรคหัวใจนั้นค่าใช้จ่ายสูง ทำให้วิตกกังวลและมีภาวะซึมเศร้าตามมา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

 

และการศึกษาจากสตรีที่เป็นโรคหัวใจ ไม่พบการเกิดโรคอื่นร่วมด้วยเลย อาทิ โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่ก็อาจมีบางพฤติกรรมที่ถูกรายงาน เช่น การสูบบุหรี่ ซึ่งพบได้บ่อยในคุณแม่กลุ่มนี้ และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเช่นกัน

 

เนื่องจากคุณแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับสุขภาพของลูกก่อนตัวเองเสมอ จึงมีแนวโน้มที่จะพลาดสัญญาณเตือนโรคหัวใจของตัวเอง

 

ดังนั้น หากคุณเป็นคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกที่เป็นโรคหัวใจ แม้จะยังไม่มีการตรวจคัดกรองหรือยาที่จำเป็นต้องกิน แต่ในเมื่อคุณมีความเสี่ยงแล้ว อาจต้องปรับวิถีชีวิตบางอย่างของตัวเอง เช่น อาหารการกิน การพักผ่อน ออกกำลังกาย และเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น

 

และหากคุณกำลังมองหาอาการเจ็บหน้าอกฉับพลัน หรือความเจ็บปวดผิดปกติบริเวณช่องอก มันก็อาจถึงขั้นสาหัสเกินไปแล้ว เพราะอาการที่สังเกตได้ชัดที่สุดของโรคหัวใจ คือการหายใจลำบาก คลื่นไส้อาเจียน หรือความปวดแปลบ ชาบริเวณคอ หลัง หรือไหล่ ซึ่งบางครั้งอาจไม่เจ็บหน้าอกเลย

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว (หัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี) สามารถสังเกตได้จากความเมื่อยล้า หรืออาการเหนื่อยง่ายจากการออกกำลังกาย พร้อมกับมีอาการบวมที่เท้าหรือขา

 

ดังนั้น ถ้าคุณเห็นว่ามีสัญญาณบางอย่างไม่ถูกต้อง แม้คุณจะไม่ได้มีลูกหรือประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจเลยก็ตาม รีบไปพบแพทย์ เพื่อที่คุณจะได้กลับมาเป็นแม่ที่แข็งแรงของลูกเถอะ ดร. เคลลี อาร์ปส์—แพทย์ประจำโรงพยาบาล Johns Hopkins บอกกับสำนักข่าว ABC News

อ้างอิง
abcnews

Avatar

สาวยุค 90's ลูกครึ่งจีนฮ่องกง feat. เชียงใหม่ ที่พูดฮ่องกงไม่ได้ อู้กำเมืองบ่จ้าง ติดนิยาย รักการจดบันทึกและการกินเหนือทุกสิ่งอย่าง มีลูกสาวเป็นหมาอ้วนสีเหลืองอ่อน

RELATED POST