ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดู กล่าวว่า โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD) นำไปสู่ความเครียดในวัยทารก
ตามที่นักจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดู และสตีฟ บิดดอล์ฟ—นักเขียนหนังสือขายดีอย่าง Raising Boys กล่าวว่างานวิจัยชิ้นใหม่พบปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น ความเครียดที่บ้านและความเครียดที่พ่อแม่ไม่ตอบสนองความต้องการของเด็ก ซึ่งอาจมีบทบาททำให้เกิดโรคสมาธิสั้น
ก่อนหน้านี้คิดว่าโรคสมาธิสั้นเป็นแค่ความบกพร่องทางพฤติกรรม โดยมีลักษณะนิสัยที่ไม่สนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว อยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข และนิสัยหุนหันพลันแล่น แต่แท้จริงเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและสารเคมีในสมองไม่สมดุล
แต่ในหนังสือ Raising Boys สตีฟได้เน้นความสำคัญของการวิจัย ว่าความเครียดในเด็กทารกมีบทบาทต่อการพัฒนาการของโรคสมาธิสั้น
เด็กผู้ชาย 1 ใน 20 ที่สหราชอาณาจักรถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น เมื่อพวกเขาอายุได้ 6-12 ปี
ตามที่แพทริเซีย ควินน์—นักเขียนร่วมของหนังสือ Understanding Girls with ADHD กล่าวว่า เด็กผู้หญิงมักทรมานจากโรคสมาธิสั้น แต่อาการมักยากที่จะพบ ในความเป็นจริงแล้ว เด็กผู้หญิงที่เป็นโรคนี้จะชอบเหม่อลอย ไม่สนใจสิ่งรอบตัว มากกว่าสร้างปัญหาให้กับผู้อื่น
อาการของโรคมีแนวโน้วที่จะดีขึ้นตามอายุของเด็ก แต่ในบางคน เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังเผชิญอาการของโรคนี้อยู่
สตีฟยังกล่าวอีกว่า จริงๆ แล้ว บางกรณีของโรคสมาธิสั้นอาจถูกเรียกได้ว่า DDD หรือ Dad Deficit Disorder โดยจากประสบการณ์ของผู้เขียน พ่อมีส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูเด็กผู้ชาย ซึ่งจะช่วยสอนให้เขาใช้ชีวิตและสอนให้รู้จักควบคุมตัวเองได้
NO COMMENT