Dr. David Strachan พบว่าแบคทีเรียที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า และปกป้องเด็กจากโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้นควรปล่อยให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับสิ่งสกปรกบ้าง ได้เล่นเลอะเทอะกับดินโคลน หรือไปเที่ยวสวนสัตว์ แต่ควรอยู่ให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่
Dr. Thom McDade นักวิจัยจาก Northwestern University ศึกษาเด็กๆ ในประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทั้งข้อมูลครอบครัว และประวัติการเจ็บป่วยของคุณแม่ในช่วงที่เด็กมีอายุไม่ถึง 2 ขวบ พบว่าเด็กที่ได้สัมผัสกับอุจจาระของสัตว์หรือเคยป่วยเป็นโรคท้องร่วงระหว่างที่มีอายุไม่ถึง 2 ขวบ มีแนวโน้มที่จะมีระดับของโปรตีน ซี-รีแอคทีฟ (C-reactive protein) ต่ำ
และเด็กที่มีระดับของโปรตีน ซี-รีแอคทีฟ (C-reactive protein) ต่ำ เมื่อมีอายุ 20 ปี โปรตีนดังกล่าวเป็นตัวสำคัญ ทำให้เด็กมีโอกาสเกิดอาการอักเสบเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโรคไขข้ออักเสบหรือโรคหัวใจน้อยกว่าเด็กคนอื่นๆ และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า
COMMENTS ARE OFF THIS POST