READING

เฮอร์แปงไจนา (Herpangina) โรคติดต่อในโรงเรียนที่คุ...

เฮอร์แปงไจนา (Herpangina) โรคติดต่อในโรงเรียนที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้!

เฮอร์แปงไจนา

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกถึงวัยเข้าโรงเรียนส่วนมาก มักประสบปัญหาลูกไปโรงเรียนแล้วป่วยง่าย ไม่สบายบ่อย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส

นอกจากไข้หวัด ไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ที่พบในเด็กอนุบาลเป็นประจำแล้ว ยังมีโรค เฮอร์แปงไจนา (Herpangina) ที่เกิดจากการติดเชื้อเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคมือเท้า ปาก และพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งจากการไอ จาม หรือน้ำมูก

ดังนั้น โรงเรียนอนุบาล ที่เด็กๆ มักเล่นของเล่นรวมกัน และหยิบจับสิ่งของรวมกันเป็นประจำ ลูกจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค เฮอร์แปงไจนา ได้ง่าย

โรคมือเท้าปาก VS เฮอร์แปงไจนา แตกต่างกันอย่างไร?

Herpangina_1

แม้ว่าโรคมือเท้าปาก และเฮอร์แปงไจนา จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน แต่ลักษณะอาการของทั้งสองโรคแตกต่างกัน นั่นคือ โรคมือเท้าปาก จะทำให้ลูกเป็นผื่น ตุ่มน้ำใส เป็นไข้ และมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ฝ่ามือ นิ้วมือ และฝ่าเท้า บางรายอาจมีอาการถ่ายเหลวและอาเจียนร่วมด้วย

ส่วนโรคเฮอร์แปงไจน่า อาการเริ่มต้นมักไม่รุนแรง ไม่พบผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ทำให้สังเกตอาการได้ยาก แต่อาการร่วมคือ มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน อาจพบภาวะขาดน้ำ เช่น ริมฝีปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะน้อยและสีเข้ม ปัสสาวะน้อย พบแผลเล็กๆ สีขาวในปาก

อาการของโรค เฮอร์แปงไจน่า (Herpangina)

Herpangina_2

โรคเฮอร์แปงไจนา มักเริ่มแสดงอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 2 วัน และอาการแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน

• มีตุ่มแดง หรือแผลเปื่อยขอบสีแดงขึ้นที่บริเวณเพดานปากและลำคอ

• มีไข้สูงเฉียบพลัน

• เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก ทำให้ลูกไม่กินข้าว

• อาเจียน

• ปัสสาวะน้อย หรือปัสสาวะสีเข้ม

• ต่อมน้ำเหลืองในคอบวมโต

• ในเด็กทารกอาจมีน้ำลายไหลยืด

• เบื่ออาหาร

 

นอกจากอาการของโรคแล้ว ยังควรระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้จากโรคนี้อีกด้วย เช่น การอักเสบของก้านสมอง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีการรักษา

Herpangina_3

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่จะรักษาโรคเฮอร์แปงไจนาโดยเฉพาะ โดยอาการของโรคจะลดลงภายใน 7-10 วัน

คุณพ่อคุณแม่สามารถวิธีการดูแลลูกคือการรักษาตามอาการ ได้แก่

• การเช็ดตัว กินยาแก้ปวดลดไข้

• กินอาหารอ่อน รสจืด ย่อยง่าย

• ดื่มน้ำมากๆ อาจดื่มน้ำเย็น นมเย็น หรือกินไอศกรีมได้ เพราะอาหารที่เย็นจะช่วยลดอาการเจ็บเวลากลืน

 

แต่หากเด็กมีไข้สูง ได้ยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น ไม่ยอมดื่มน้ำ นม หรือกินอาหารไม่ได้ หายใจหอบ มีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือชัก คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกมาพบแพทย์โดยด่วน

การป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า

Herpangina_4

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือปลูกฝังให้ลูกรักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์บ่อยๆ และถ้าหากว่าลูกมีอาการเข้าข่าย ควรให้ลูกหยุดเรียนทันทีเพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

อ้างอิง
Paolo Hospital
sikarin
NAKORNTHON HOSPITAL
synphaet

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST