READING

ลูกนอนกรน : เกิดจากอะไร และอันตรายหรือเปล่า!?...

ลูกนอนกรน : เกิดจากอะไร และอันตรายหรือเปล่า!?

ลูกนอนกรน

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจคิดว่าการที่ ลูกนอนกรน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จึงไม่ได้คิดหาสาเหตุหรือหาทางรับมืออาการนอนกรนของลูก

แต่ความจริงแล้ว อาการนอน มีทั้งประเภทที่ไม่เป็นอันตราย เช่น นอนกรนเพราะเหนื่อย เป็นหวัด หรือมีอาการภูมิแพ้กำเริบ แต่เมื่อไรก็ตามที่ ลูกนอนกรน เป็นประจำและต่อเนื่อง นั่นอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกว่าลูกมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอจนเกิดอันตรายได้

นอกจากนี้ภาวะนอนกรนในเด็ก ยังส่งผลให้การนอนหลับตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ นอนหลับได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริบเติบโต พัฒนาการ และการเรียนรู้ของลูกได้

ลูกนอนกรน เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

ภาวะนอนกรนในเด็กมักเกิดจากต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของจมูกขยายตัวเวลานอนหลับ กล้ามเนื้อบริเวณช่องคอจะคลายตัวลง ทำให้ช่องทางเดินอากาศบริเวณช่องปากด้านหลังตีบแคบลงเกิดเป็นเสียงกรน หรือทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจของลูกน้อยได้

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ภูมิแพ้ โรคอ้วน โครงหน้าผิดปกติ ตลอดจนโรคทางพันธุกรรม หรือโรคทางสมองและกล้ามเนื้อที่มีผลต่อการหายใจได้อีกด้วย

อาการข้างเคียงการนอนกรนที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์

1. นอนกรนมากกว่า 3 คืน ต่อสัปดาห์

2. กรนแล้วหยุดหายใจเป็นพักๆ หรือหายใจเฮือก

3. มีเหงื่อออกง่าย และหายใจเหนื่อยหอบ

4. หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง

5. ปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน

6. หายใจทางปากตลอดเวลา

7. นอนหลับไม่สนิท นอนดิ้น

8. ตื่นนอนตอนเช้าไม่สดชื่น เหนื่อยล้า

อ้างอิง
bumrungrad
mahidol

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST