READING

พ่อแม่จู้จี้จุกจิก: ลูกไม่ชอบ พ่อแม่ก็ไม่สบายใจ เล...

พ่อแม่จู้จี้จุกจิก: ลูกไม่ชอบ พ่อแม่ก็ไม่สบายใจ เลิกอย่างไรดี?!

พ่อแม่จู้จี้จุกจิก

ความใส่ใจเป็นเรื่องน่ารัก ความสนใจในรายละเอียดเป็นเรื่องที่ดี แต่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ได้นึกถึงว่าการใส่ใจรายละเอียดที่หยุมหยิมมากจนเกินไป อาจทำให้เรากำลังกลายเป็น พ่อแม่จู้จี้จุกจิก เกินไปในสายตาลูก

คงไม่มีใครอยากทำตัวเป็น พ่อแม่จู้จี้จุกจิก แต่บางครั้งความรักความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ มักกลายเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่ารักสำหรับลูก และการจู้จี้จุกจิกนอกจากจะทำให้ลูกเบื่อหน่ายและไม่อยากเชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่แล้ว ยังเป็นการทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัว เพราะลูกจะรู้สึกอึดอัด กังวล และไม่เป็นตัวของตัวเอง ไปจนถึงการพยายามเลี่ยงที่จะพูดคุยหรือบอกเรื่องสำคัญให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้

การเป็น พ่อแม่จู้จี้จุกจิก ส่งผลต่อตัวเองและลูกอย่างไรบ้าง

Nitpicking_web_1

นิสัยจู้จี้จุกจิก ไม่ว่าจะเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ล้วนส่งผลกระทบทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง

สร้างความสัมพันธ์เป็นพิษ (toxic relationship) 

คนจู้จี้มักเป็นคนน่ารำคาญในสายตาคนอื่น และไม่ว่าจะอยู่ในสังคมแบบไหน ความจู้จี้จุกจิกก็จะทำให้คนรอบข้างรู้สึกว่ากำลังถูกควบคุมและปิดกั้น ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ ในฐานะพ่อแม่ ความจู้จี้ก็ทำให้ลูกรู้สึกรำคาญ กระตุ้นการเกิดพฤติกรรมต่อต้าน และส่งผลให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นพิษ

ทำให้เกิดปัญหาที่ไม่จำเป็น

การเป็นคนที่จู้จี้มากเกินไป มักจะใส่ใจกับเรื่องเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าเรื่องใดคุณพ่อคุณแม่ก็หยิบยกขึ้นมาเป็นปัญหา กลายเป็นเกิดปัญหาที่ไม่จำเป็น และอาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว

 

เมื่อรู้ว่าการเป็นพ่อแม่ที่จู้จี้จุกจิก จะส่งผลกระทบกับตัวเองและคนรอบข้างอย่างไรแล้ว เรามาตั้งใจเปลี่ยนตัวเองจากพ่อแม่ที่จู้จี้เป็นพ่อแม่ที่ใส่ใจแต่ไม่จุกจิกเกินไปในสายตาลูก ด้วยวิธีต่อไปนี้

1. เปลี่ยนวิธีในการสื่อสาร

Nitpicking_web_2

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็มีเหตุผลมากมายเป็นร้อยพันข้อที่จะอธิบายให้ลูกฟัง แต่พอพูดมากเกินไป จากเหตุผลก็กลายเป็นการพร่ำบ่นและเจ้ากี้เจ้าการในสายตาลูก

ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกทำหรือไม่ทำอะไร ควรเลือกใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ และจับใจความได้ง่าย พยายามโน้มน้าวใจลูกด้วยการเสนอทางเลือก มากกว่ากดดันหรือบังคับให้ทำตามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

2. จัดการอารมณ์ของตัวเอง

Nitpicking_web_3

หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่แสดงพฤติกรรมจู้จี้จุกจิกใส่ลูก เพราะมีเรื่องหงุดหงิดกวนใจมาก่อน เมื่อมาเจอลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ แม้เพียงเล็กน้อย ก็เอาอารมณ์ที่คุกรุ่นก่อนหน้ามาลงที่ลูก

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองก่อนที่จะลงมือจัดการพฤติกรรมของลูกเสมอ เพราะยิ่งคุณพ่อคุณแม่หงุดหงิดหรือเครียดมากเท่าไร ก็มีโอกาสที่จะจู้จี้จุกจิก เพราะอยากให้ลูกทำตัวดีและได้ดั่งใจมากขึ้นเท่านั้น

3. ทำใจว่ามีบางอย่างที่อยู่เหนือการควบคุมของเราเสมอ

Nitpicking_web_4

คุณพ่อคุณแม่อาจจะมั่นใจและมีเหตุผลให้ความจู้จี้ของตัวเอง และคิดว่าที่จำเป็นต้องจุกจิก ต้องคอยบอกให้ลูกทำหรือไม่ทำอะไรตลอดเวลา ก็เพราะความรักและหวังดีที่มีให้ลูกเสมอ แต่ความจริงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม หรือบางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องเข้มงวดตลอดเวลาก็ได้ เช่น ปล่อยให้กินอาหารหกเลอะเทอะบ้าง เพื่อเรียนรู้วิธีการกินที่ถูกต้อง ปล่อยให้ลูกหกล้มบ้าง เพื่อเรียนรู้ที่จะวิ่งอย่างระมัดระวังมากขึ้น

อ้างอิง
supportiv

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST